assignment
บันทึกกิจกรรม
การซ่อมบํารุงยานยนต์ไฟฟ้า11 มิถุนายน 2565
11
มิถุนายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย Panuschai Sribumrung
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) ปีงบประมาณ 2564 เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรระยะสั้น (Non-Degree) ที่มีรูปแบบการจัดการศึกษาลักษณะให้ใบรับรอง (Certificate) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มีความร่วมมือทางวิชาการกับ บริษัท สามล้อไทย จำกัด และ บริษัท เรียล บีพีเอ็ม จำกัด ซึ่งร่วมกันออกแบบหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัย และร่วมกันพัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในยุค 4.0 โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ภายใต้ภารกิจสำคัญคือ “สร้างผู้นำแห่งการถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมวิชาชีพเชิงสร้างสรรค์”
ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐทางหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรภายในประเทศ ที่จะออกไปสู่ตลาดแรงงานด้วยบทบาทและหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา โดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ประกอบกับมีความพร้อมทางด้านบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ ในการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ จึงเสนอหลักสูตรประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เพิ่มการเรียนรู้ที่เติมเต็มความรู้และทักษะ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการและการพัฒนาประเทศ ทั้งยังเป็นการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะทางการการซ่อมบํารุงยานยนต์ไฟฟ้า ได้อย่างมีคุณภาพตรงตามหลักทางวิชาการ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม วันเวลาอบรม
1) ภาคทฤษฎี รูปแบบออนไลน์ เวลา 18.00 น. – 21.00 น. 2) ภาคปฏิบัติ อบรมวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 8.00 น. – 18.00 น. สถานที่ฝึกอบรม
1) ภาคทฤษฎี ใช้การอบรมออนไลน์ 2) ภาคปฏิบัติ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และสถานประกอบการ
เนื้อหาหลักสูตร การฝึกอบรม 42 วัน (330 ชม.) 1) ภาคทฤษฎี รูปแบบออนไลน์ 2) ภาคปฏิบัติ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
และสถานประกอบการ
3) การศึกษาดูงาน สถาบันยานยนต์ จำนวน 1 วัน โดยเนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย 4 โมดูล จำนวนชั่วโมงการเรียนทั้งหมด 330 ชั่วโมง
(60 ชั่วโมงทฤษฎี : 270 ชั่วโมงปฏิบัติ) โดยมีรายละเอียดด้านล่างนี้ 1 พื้นฐานวิศวกรรมยานยนต์
1.1 พื้นฐานยานยนต์ 1.2 หลักการเทคโนโลยีเครื่องมือวัดและทดสอบยานยนต์ 1.3 ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดทางยานยนต์ 1.4 ฝึกปฏิบัติทดสอบวัดสมรรถนะเครื่องยนต์ 1.5 ฝึกปฏิบัติทดสอบระบบเบรก 1.6 ฝึกปฏิบัติระบบระบายความร้อน 2 วิศวกรรมความปลอดภัยและการบำรุงรักษายานยนต์
2.1 หลักการการบำรุงรักษายานยนต์ 2.2 ฝึกปฏิบัติการบำรุงรักษายานยนต์และแก้ปัญหาในกรณีฉุกเฉิน 2.3 ฝึกปฏิบัติระบบส่งกำลัง 2.4 ฝึกปฏิบัติระบบเครื่องล่าง 2.5 ฝึกปฏิบัติระบบบังคับเลี้ยว 2.6 ฝึกปฏิบัติระบบเครื่องปรับอากาศ 3 พื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ ยานยนต์สมัยใหม่
3.1 หลักการวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 3.2 หลักการระบบดิจิตอลและไมโครคอนโทรเลอร์ 3.3 หลักการเครื่องมือวัดและการทดสอบทางไฟฟ้า 3.4 หลักการความปลอดภัยและอุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า 3.5 ฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 3.6 ฝึกปฏิบัติการวงจรดิจิตอลและไมโครคอนโทรเลอร์ 3.7 ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า 4 เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ 4.1 หลักการเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้นและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า 4.2 หลักการขับเคลื่อนมอเตอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 4.3 หลักการกักเก็บพลังงานและการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 4.4 หลักการบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 4.5 ฝึกปฏิบัติการทางยานยนต์ไฟฟ้า 4.6 ฝึกปฏิบัติการขับเคลื่อนมอเตอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 4.7 ฝึกปฏิบัติการกักเก็บพลังงานและการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 4.8 ฝึกปฏิบัติการบำรุงรักษายานยนต์ไฟฟ้า

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

1 ด้านความรู้ 1) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านพื้นฐานยานยนต์และวิศวกรรมความปลอดภัย 2) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านวิศวกรรมความปลอดภัยและการบำรุงรักษายานยนต์ 3) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านพื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์สมัยใหม่ 4) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านหลักการเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้น 5) ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ร่วมกับการฝึกทักษะการปฏิบัติงานด้านพื้นฐานยานยนต์ การบำรุงรักษายานยนต์ พื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม 6) ผู้เข้าอบรมสามารถการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาในการบำรุงรักษายานยนต์ไฟฟ้า 2 ด้านปัญญา 1) ผู้เข้าอบรมสามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษายานยนต์ไฟฟ้าได้ 2) ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้