directions_run

ยกระดับสมรรถนะและศักยภาพของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็ก กรุงเทพมหานคร

assignment
บันทึกกิจกรรม
ยกระดับสมรรถนะผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็ก กรุงเทพมหานคร รุ่น 230 เมษายน 2565
30
เมษายน 2565รายงานจากพื้นที่ โดย ภานุวัฒน์ นิ่มนวล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กระบวนการวัดความก้าวหน้าของผลลัพธ์การเรียนรู้ ดำเนินการตามกระบวนการ PDCA เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของหลักสูตร ดังนี้ Plan ประชุมวางแผนการสอนในรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร โดยกำหนดระยะเวลาการสอน ปรับรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 การประเมินผลความรู้ ทักษะจากการปฏิบัติ และเจตคติในการเรียนตลอดหลักสูตร Do ประธานรายวิชาประชุมวางแผนการสอนกับอาจารย์ร่วมสอนในแต่ละหัวข้อโดยให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร โดย 1. ด้านความรู้
          หลักสูตรกำหนดให้ทุกหัวข้อของรายวิชาที่เรียนมีการประเมินก่อน–หลังการเรียนรู้ด้วยข้อสอบpre-post test มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (multiple choice) จำนวน 20 ข้อทุกหัวข้อที่เรียน ในกรณีของผู้เรียนบางคนที่ป่วยเนื่องจากการติดเชื้อโควิด 19 และขาดเรียนในบางหัวข้อ หลักสูตรได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองและทบทวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาของแต่ละหัวข้อด้วยการให้ผู้เรียนเข้าไปเปิดดูวิดิโอการสอน สื่อพาวเวอร์พอยต์และไฟล์เนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องโดยใช้ระบบ Google Classroom หลักสูตรจึงสามารถติดตามและประเมินความก้าวหน้าของผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อที่เรียนได้อย่างต่อเนื่อง 2. ด้านทักษะการปฏิบัติ           หลักสูตรกำหนดให้ทุกรายวิชาของการเรียนมีงานที่มอบหมายให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม มีการนิเทศการปฏิบัติงานโดยอาจารย์นิเทศก์ประจำศูนย์และอาจารย์ในหลักสูตร และกำหนดให้มีการติดตามผลการฝึกปฏิบัติงานในชั้นเรียน โดยให้ผู้เรียนรายงานกระบวนการฝึกปฏิบัติและผลงานที่ได้จากการปฏิบัติตามหัวข้อที่เรียนด้วยวาจาและวิดิโอคลิปในรูปแบบออนไลน์ Check ประธานหลักสูตร อาจารย์หลักสูตรและอาจารย์นิเทศก์ประจำศูนย์พัฒนาเด็กประชุมร่วมกันเพื่อติดตามและพิจารณาผลการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาและผลการฝึกปฏิบัติในการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัย Act นำผลการประชุมการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และผลงานจากการฝึกปฏิบัติ เสนอต่อคณะกรรมการพร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะต่างๆไปใช้ในการปรับปรุงดำเนินการครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดการศึกษาครั้งนี้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) เป็นไปตามหลักสูตรการฝึกอบรม โดยผู้รับการอบรมสามารถ “ทำ” “คิด” และมี “คุณลักษณะ” ครอบคลุมในด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติและด้านทัศนคติและคุณธรรม ดังนี้ ด้านความรู้ 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและจรรยาบรรณเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย 2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักพัฒนาการ การเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางกายที่พบบ่อย
4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการเพื่อเฝ้าระวังและคัดกรอง
5. มีความรู้ความเข้าใจการส่งเสริมสุขภาวะทางกายด้านการจัดโภชนาการ
6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาวะและสมรรถนะทางร่างกายของเด็กปฐมวัย 7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะและสมรรถนะทาง   ร่างกายของเด็กปฐมวัย 8. มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมและแก้ปัญหาต่างๆของเด็กปฐมวัยให   สอดคล้องกันได้อย่างเหมาะสม 9. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสื่อสารออนไลน์ ด้านทัศนคติและจริยธรรม 1. มีทัศนะคติที่ดีต่อการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
2. มีทัศนะคติที่ดีต่อการดูแล การวางแผน การส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัย
3. มีทัศนคติที่ดีต่อการการดูแลเด็กปฐมวัยที่มีความเจ็บป่วย คัดกรองปัญหาสุขภาวะทางกาย   และความเจ็บป่วยของเด็กปฐมวัย
4. มีทัศนคติที่ดีต่อการประเมินเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
5. มีทัศนะคติที่ดีต่อการส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัย
6. มีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพ และต่อการปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็ก 7. มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง เพิ่มความมั่นใจในการให้นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติงานให้ตรงตาม   เป้าหมายที่ศูนย์พัฒนาเด็กวางแผน 8. มีทัศนคติที่ดีต่อการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสื่อสารออนไลน์ในการแสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง ด้านทักษะการปฏิบัติงาน 1. มีทักษะการดูแลพฤติกรรมด้านสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัย 2. มีทักษะในด้านการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยการใช้เครื่องมือ DSPM
3. มีทักษะในการออกแบบกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านการเคลื่อนไหว การร้องเพลง การเล่นดนตรี 4. มีทักษะการช่วยชีวิตเด็กเบื้องต้น 5. มีทักษะในการออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะและสมรรถนะสำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม 6. มีทักษะในการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็ก 7. มีทักษะการทำงานเป็นทีมแบ่งงานให้ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
8. มีทักษะในการบริหารเวลาจัดการในการทำงาน 9. มีทักษะในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสื่อสารออนไลน์

ยกระดับสมรรถนะผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็ก กรุงเทพมหานคร18 กันยายน 2564
18
กันยายน 2564รายงานจากพื้นที่ โดย ภานุวัฒน์ นิ่มนวล
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กระบวนการวัดความก้าวหน้าของผลลัพธ์การเรียนรู้ ดำเนินการตามกระบวนการ PDCA เพื่อให้บรรลุผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของหลักสูตร ดังนี้ Plan ประชุมวางแผนการสอนในรายวิชาตามโครงสร้างหลักสูตร โดยกำหนดระยะเวลาการสอน ปรับรูปแบบกระบวนการเรียนการสอนเป็นแบบออนไลน์เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด 19 การประเมินผลความรู้ ทักษะจากการปฏิบัติ และเจตคติในการเรียนตลอดหลักสูตร Do ประธานรายวิชาประชุมวางแผนการสอนกับอาจารย์ร่วมสอนในแต่ละหัวข้อโดยให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร โดย 1. ด้านความรู้
          หลักสูตรกำหนดให้ทุกหัวข้อของรายวิชาที่เรียนมีการประเมินก่อน–หลังการเรียนรู้ด้วยข้อสอบpre-post test มีลักษณะเป็นแบบเลือกตอบ (multiple choice) จำนวน 20 ข้อทุกหัวข้อที่เรียน ในกรณีของผู้เรียนบางคนที่ป่วยเนื่องจากการติดเชื้อโควิด 19 และขาดเรียนในบางหัวข้อ หลักสูตรได้เปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองและทบทวนการเรียนรู้ที่ผ่านมาของแต่ละหัวข้อด้วยการให้ผู้เรียนเข้าไปเปิดดูวิดิโอการสอน สื่อพาวเวอร์พอยต์และไฟล์เนื้อหาความรู้ที่เกี่ยวข้องโดยใช้ระบบ Google Classroom หลักสูตรจึงสามารถติดตามและประเมินความก้าวหน้าของผลลัพธ์การเรียนรู้ในแต่ละหัวข้อที่เรียนได้อย่างต่อเนื่อง 2. ด้านทักษะการปฏิบัติ           หลักสูตรกำหนดให้ทุกรายวิชาของการเรียนมีงานที่มอบหมายให้ผู้เรียนได้ฝึกปฏิบัติเป็นรายบุคคลหรือเป็นกลุ่ม มีการนิเทศการปฏิบัติงานโดยอาจารย์นิเทศก์ประจำศูนย์และอาจารย์ในหลักสูตร และกำหนดให้มีการติดตามผลการฝึกปฏิบัติงานในชั้นเรียน โดยให้ผู้เรียนรายงานกระบวนการฝึกปฏิบัติและผลงานที่ได้จากการปฏิบัติตามหัวข้อที่เรียนด้วยวาจาและวิดิโอคลิปในรูปแบบออนไลน์ Check ประธานหลักสูตร อาจารย์หลักสูตรและอาจารย์นิเทศก์ประจำศูนย์พัฒนาเด็กประชุมร่วมกันเพื่อติดตามและพิจารณาผลการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาและผลการฝึกปฏิบัติในการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัย Act นำผลการประชุมการประเมินผลการจัดการเรียนการสอน และผลงานจากการฝึกปฏิบัติ เสนอต่อคณะกรรมการพร้อมทั้งนำข้อเสนอแนะต่างๆไปใช้ในการปรับปรุงดำเนินการครั้งต่อไป

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดการศึกษาครั้งนี้ ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) เป็นไปตามหลักสูตรการฝึกอบรม โดยผู้รับการอบรมสามารถ “ทำ” “คิด” และมี “คุณลักษณะ” ครอบคลุมในด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติและด้านทัศนคติและคุณธรรม ดังนี้ ด้านความรู้ 1. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและจรรยาบรรณเกี่ยวกับเด็กปฐมวัย 2. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักพัฒนาการ การเจริญเติบโตและการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย
3. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความเจ็บป่วยทางกายที่พบบ่อย
4. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินพัฒนาการเพื่อเฝ้าระวังและคัดกรอง
5. มีความรู้ความเข้าใจการส่งเสริมสุขภาวะทางกายด้านการจัดโภชนาการ
6. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขภาวะและสมรรถนะทางร่างกายของเด็กปฐมวัย 7. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะและสมรรถนะทาง   ร่างกายของเด็กปฐมวัย 8. มีความรู้ความเข้าใจในการจัดทำโครงการเพื่อส่งเสริมและแก้ปัญหาต่างๆของเด็กปฐมวัยให   สอดคล้องกันได้อย่างเหมาะสม 9. มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสื่อสารออนไลน์ ด้านทัศนคติและจริยธรรม 1. มีทัศนะคติที่ดีต่อการดูแลและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย
2. มีทัศนะคติที่ดีต่อการดูแล การวางแผน การส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัย
3. มีทัศนคติที่ดีต่อการการดูแลเด็กปฐมวัยที่มีความเจ็บป่วย คัดกรองปัญหาสุขภาวะทางกาย   และความเจ็บป่วยของเด็กปฐมวัย
4. มีทัศนคติที่ดีต่อการประเมินเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย
5. มีทัศนะคติที่ดีต่อการส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัย
6. มีทัศนคติที่ดีต่อการปฏิบัติงานในวิชาชีพ และต่อการปฏิบัติงานในศูนย์พัฒนาเด็ก 7. มีทัศนคติที่ดีต่อตนเอง เพิ่มความมั่นใจในการให้นำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติงานให้ตรงตาม   เป้าหมายที่ศูนย์พัฒนาเด็กวางแผน 8. มีทัศนคติที่ดีต่อการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสื่อสารออนไลน์ในการแสวงหาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเอง ด้านทักษะการปฏิบัติงาน 1. มีทักษะการดูแลพฤติกรรมด้านสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัย 2. มีทักษะในด้านการประเมินพัฒนาการของเด็กปฐมวัยการใช้เครื่องมือ DSPM
3. มีทักษะในการออกแบบกิจกรรมต่างๆ ทั้งด้านการเคลื่อนไหว การร้องเพลง การเล่นดนตรี 4. มีทักษะการช่วยชีวิตเด็กเบื้องต้น 5. มีทักษะในการออกแบบกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาวะและสมรรถนะสำหรับเด็กปฐมวัยได้อย่างเหมาะสม 6. มีทักษะในการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็ก 7. มีทักษะการทำงานเป็นทีมแบ่งงานให้ทุกคนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย
8. มีทักษะในการบริหารเวลาจัดการในการทำงาน 9. มีทักษะในการใช้เครื่องมือเทคโนโลยีสื่อสารออนไลน์