หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะครูในการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการทักษะศตวรรษที่ 21 (หลักสูตร Non-Degree)
- การจัดการเรียนการสอนในวิชาฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์พัฒนาเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ฝึกปฏิบัติในแหล่งฝึกของผู้เข้าอบรมศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ฝึกปฏิบัติตามหน่วยการเรียนรู้ ดังนี้
- หน่วยการเรียนรู้ช่วงอายุต่ำกว่า 3 ปี
- หน่วยการเรียนรู้ช่วงอายุต่ำกว่า 3-5 ปี
- การออกแบบหลักสูตรการบูรณาการทักษะศตวรรษที่ 21
- การฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามหลักสูตรการบูรณาการทักษะศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัย
- การนำเสนอผลงาน การอภิปรายกลุ่ม ฝึกการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านกระบวนการ PLC ของแต่ละศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ร่วมโดยคณาจารย์ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผู้บริหารทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ครูได้รับการพัฒนาทักษะเดิม (up-skill) โดยการพัฒนาสมรรถนะในด้านสมรรถนะหลัก (core competency) คือ
1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน (working achievement motivation)
2) การบริการที่ดี (service mind)
3) การพัฒนาตนเอง (self-development)
4) การทำงานเป็นทีม (teamwork) และ
5) จริยธรรมและจรรยาบรรณครู (teacher’s ethics and integrity)ครูได้รับการสร้างทักษะใหม่ (re-skill) โดยการพัฒนาสมรรถนะตามสายปฏิบัติงาน (functional competency) คือ
1) การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ (curriculum and learning management)
2) การพัฒนาผู้เรียน (student development)
3) การบริหารจัดการชั้นเรียน (classroom management)
4) การวิเคราะห์สังเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน (analysis synthesis and classroom research)
5) ภาวะผู้นำครู (teacher leadership)
6) การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน (relationship and collaborative-building for learning management)
- การประชุมชี้แจงรายละเอียดกระบวนวิชาการฝึกปฏิบัติการจัดประสบการณ์พัฒนาเด็กปฐมวัยในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วยลักษณะกระบวนวิชา วัตถุประสงค์ เนื้อหากระบวนวิชา ทักษะการเรียนรู้ กิจกรรมการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และการประเมินผลทักษะการเรียนรู้และการประเมินผลกระบวนวิชา แก่ครูผู้สอนและผู้บริหารทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
- การบรรยายวิชาภาคทฤษฎีเป็นการเรียนแบบ Online ผ่านระบบ e-learning ของคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งมีสื่อการเรียนการสอนและกิจกรรมในห้องเรียนแต่ละวิชา เช่น วิดิโอการสอน, การรับ-ส่งงาน, การอภิปรายกลุ่ม, การทำแบบทดสอบ การนิเทศติดตามผล
ได้ผลัพธ์การเรียนรู้ที่าอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ได้ระบุไว้ ดังนี้
1. เพื่อให้ครูปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะเดิม (up-skill) ในด้านสมรรถนะหลัก (core competency) ที่เป็นคุณลักษณะของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
1.1 ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาสมรรถนะหลัก ดังนี้
1) การมุ่งผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงาน
2) การบริการที่ดี
3) การพัฒนาตนเอง
4) การทำงานเป็นทีม และ
5) จริยธรรมและจรรยาบรรณครู
- เพื่อให้ครูปฐมวัยได้รับการปรับปรุงทักษะ (re-skill) ในด้านสมรรถนะตามสายปฏิบัติงาน (functional competency) ที่สามารถออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
2.1 ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาสมรรถนะตามสายปฏิบัติงาน ดังนี้
1) การบริหารหลักสูตรและ
การจัดการเรียนรู้
2) การพัฒนาผู้เรียน
3) การบริหารจัดการชั้นเรียน
4) การวิเคราะห์สังเคราะห์และวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน
5) ภาวะผู้นำครู และ
6) การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือกับชุมชน
2.2 เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 จากการฝึกปฏิบัติของครูปฐมวัย ประกอบด้วย ทักษะด้านความรู้ (Hard Skills) ได้แก่
1) Reading สามารถอ่านออก อ่านจับใจความได้
2) (W) Riting สามารถเขียนได้ สื่อสารให้คนอื่นเข้าใจ
3) (A) Rithemetics มีทักษะการคำนวณ คิดแบบนามธรรม และทักษะทางอารมณ์ (Soft Skills) ได้แก่
1) Critical thinking and problem solving มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้ 2) Creativity and innovation มีความคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม
3) Cross-cultural understanding มีความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม
4) Collaboration teamwork and leadership เกิดความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ
5) Communication information and media literacy มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ
6) Computing and IT literacy มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี
7) Career and learning skills มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้
Compassion มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย
3.เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายชุมชนวิชาชีพในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการบวนการ PLC (Professional Learning Community)
3.1 ผู้เข้าอบรมได้พัฒนาบทบาทของครูในศตวรรษที่ 21 ได้ทำหน้าที่เป็นผู้ช่วยเหลือ สนับสนุนให้ผู้เรียนพัฒนาตนเองได้เต็มตามศักยภาพ และได้เรียนรู้ทักษะในการทำหน้าที่โดยรวมกันเป็นกลุ่มเพื่อเรียนรู้ร่วมกันอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง เรียนรู้ การทำงานเป็นทีมของเพื่อนครู เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กระบวนการและเทคนิคและวิธีการสอน