directions_run

หลักสูตรการประยุกต์ใช้ระบบสมองกลฝังตัว และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Analytics) สำหรับอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และผลิตชิ้นส่วนยานยนต์

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

หลักสูตร “การประยุกต์ใช้ระบบสมองกลฝังตัว และการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง (Advanced Analytics) สำหรับอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และผลิตชิ้นส่วนยานยนต์” โดย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ภายใต้โครงการ โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) กลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ เป็นการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพทรัพยากรมนุษย์ ซึ่งเป็นฟันเฟืองสำคัญในการปรับเปลี่ยนระบบเศรษฐกิจแบบเดิมไปสู่การขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรม เปลี่ยนจากแรงงานทักษะต่ำไปสู่แรงงานที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ และทักษะสูง เพื่อให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ของ Thailand 4.0 โดยที่หัวใจสำคัญของหลักสูตรนี้คือ มุ่งเน้นการพัฒนาทรัพยากรบุคคลในกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายเพื่อยกระดับ/ปรับปรุงความรู้และทักษะ(Up-Skill/Re-Skill) ให้มีความรู้เชิงวิชาการ และมีทักษะในการปฏิบัติการเชิงลึกเพิ่มมากยิ่งขึ้น โดยในโครงการรุ่นที่ 1 นี้ ได้รับความร่วมมือจากสถานประกอบการเป้าหมายเข้าร่วมโครงการ 4 บริษัท ประกอบด้วย บริษัท เสถีนรพลาสติก แอนด์ไฟเบอร์ จำกัด บริษัท เสถียร เอ็นวีเอช จำกัด บริษัท เสถียรโมบิลิตี้ดีไซน์ จำกัด และบริษัท พอร์ทอลพอร์ลิส จำกัด มีผู้ที่สนใจเข้าร่วมอบรมในโครงการทั้งสิ้น 40 คน โครงการได้ดำเนินการจัดการเรียนการสอนรวมตลอดทั้งหลักสูตรเป็นเวลา 285 ชม. แบ่งเป็น ทฤษฎี 60 ชม. ปฏิบัติ 60 ชม. และปฏิบัติในสถานประกอบการ 165 ชม.) โดยเริ่มดำเนินการระหว่างเดือน พฤษภาคม 2565 ถึง กันยายน 2565 เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2565 ถึง กันยายน 2565 เมื่อเสร็จสิ้นการดำเนินโครงการมีผู้ที่มีโดยผลการเรียนดีผ่านเกณฑ์ตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ครบถ้วน และจบหลักสูตรทั้งสิ้น 40 คน บรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการ ทั้งนี้โครงการได้มุ่งเน้นการจัดรูปแบบการเรียนการสอนและการฝึกอบรมเชิงบูรณาการด้วยเทคนิค STEM + L(Leadership) บนฐานสมรรถนะในรูปแบบ Project-Based Learning ซึ่งเป็นการจัดการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการเชื่อมโยงองค์ความรู้และประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ และประสบการณ์ ตลอดจนคุณลักษณะและความสามารถอื่น ๆ ที่แฝงอยู่ในตัวบุคคล รวมถึงกระบวนการวิจัยเชิงพัฒนา (Research and Development) บนฐานการปฏิบัติงานในสภาพจริง (Experience Integrated Learning) ร่วมกับการพัฒนาสมรรถนะของผู้เข้าอบรมประยุกต์ใช้ความรู้ความสามารถ / ประสบการณ์และทรัพยากรที่มีในการแก้โจทย์ปัญหาเชิงบูรณาการ และสอดรับการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคปัจจุบันและอนาคต เช่น การคิดวิเคราะห์ ทักษะการแก้ปัญหา ความคิดสร้างสรรค์ และการทำงานเป็นทีม ซึ่งใช้รูปแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการแบบ Work on the place โดยมีพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการร่วมกับทีมวิทยากรดำเนินการตรวจสอบและติดตามประเมินผลร่วมกัน ทั้งนี้หลักสูตรมีการจัดการเรียนการสอนโดยการแบ่งเป็นโมดูลจำนวน 5 โมดูล ประกอบด้วย 1. โมดูลที่ 1 ระบบซอฟต์แวร์ และการจัดการฐานข้อมูล ดำเนินการจัดการเรียนการสอนระหว่างวันที่ 27 พฤษภาคม 2565 – 4 กรกฎาคม 2565 2. โมดูลที่ 2 ระบบสมองกลฝังตัว และระบบอินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง ดำเนินการจัดการเรียนการสอนระหว่างวันที่ 8 กรกฎาคม 2565 ถึง 1 สิงหาคม 2565 3. โมดูลที่ 3 เหมืองข้อมูล และ Big Data ดำเนินการจัดการเรียนการสอนระหว่างวันที่ 5 สิงหาคม 2565 ถึง 29 สิงหาคม 2565 4. โมดูลที่ 4 Advanced Analytics และปัญญาประดิษฐ์ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนระหว่างวันที่ 27 สิงหาคม 2565 ถึง 5 กันยายน 2565 5. โมดูลที่ 5 โครงงานและปัญหาพิเศษ ดำเนินการจัดการเรียนการสอนระหว่างวันที่ 9 กันยายน 2565 ถึง 26 กันยายน 2565 ผลจากการจัดการเรียนการสอนการวัดผลประเมินผลทั้งในห้องเรียน การฝึกปฏิบัติ และการประมวลความรู้โดยการอภิปรายเพื่อให้ผู้เรียนได้นำเสนอโครงงานและปัญหาพิเศษ(Project based) แก่คณะกรรมการซึ่งประกอบด้วยคณาจารย์ วิทยากร ผู้บริหารของบริษัทที่เข้าร่วมโครงการพบว่า ผู้เรียนสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ที่ได้มาทำการแยกแยะและวิเคระห์ปัญหาของธุรกิจ สามารถนำเสนอแนวคิดรวมถึงสร้างต้นแบบชิ้นงาน/นวัตกรรมในการนำมาใช้เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆได้ในระดับดีถึงดีมาก ซึ่งสามารถนำไปขยายผลปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจได้ จำนวน 4 ชิ้นงานรวมถึงการนำแนวคิดและหลักการวิเคระห์ข้อมูลขั้นสูงไปใช้ในการปรับปรุงการทำงานปัจจุบันในหลากหลายมิติ ทั้งนี้หากได้รับการสนับสนุนแนวคิดและพัฒนาการจัดการศึกษาอย่างต่อเนื่องคาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อกลุ่มอุตสาหกรรมผลิตยานยนต์ไฟฟ้า และชิ้นส่วนยานยนต์เป็นอย่างมาก ในแง่ของการพัฒนาระบบเทคโนโลยีสมองกลเพื่อการควบคุม และสั่งการการทำงานของยานยนต์ไฟฟ้า หุ่นยนต์อัตโนมัติสำหรับอุตสาหกรรม อุปกรณ์และเทคโนโลยีอัตโนมัติในการตรวจติดตามและแจ้งเตือน ระบบรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงสำหรับอุตสาหกรรม เป็นต้น รวมถึงหากได้รับการขยายผลไปยังกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นโดยส่งเสริมจะสามารถทำให้เกิดการสร้างสรรนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆที่สอดคล้องกับความต้องการของประเทศต่อไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh