directions_run

เสริมสร้างทักษะครูกับการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการในโรงเรียน (หลักสูตร Non-Degree)

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

เริ่มเรียนวันที่11 พฤศจิกายน 2566 -30 มีนาคม 2567 รับประกาศนียบัตรวันศุกร์ที่ 5 เมษายน 2567 จำนวน 40คน สำเร็จหลักสูตรจำนวน 39 คน ผู้อบรมได้มีแผนงานนำโครงการไปปฏิบัติต่อที่โรงเรียน โดยผู้เรียนได้ทำกิจกรรมโครงการในการพัฒนานักเรียนทั้งด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และชุมชนโดยมีโครงการที่ดีเกิดขึ้น จำนวน ุ6 โครงการ  ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้จากการไปศึกษาดูงาน ที่คลินิกก้าวใหม่พลัส คลินิกรักปลอดภัยจากศูนย์บริการสาธารณสุข 21 วัดธาตุทอง สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ตระหนักถึงภัยใกล้ตัวของเด็กนักเรียนมาขึ้น ในเรื่องของสารเสพติดต่าง ๆ เช่น บุหรี่ บุหรี่ไฟฟ้า ยาบ้า กัญชา ฯลฯ และการมีเพศสัมพันธ์ ในวัยอันควรได้   - ผู้เข้ารับการอบรมกกลับไปอบรมดูแลเด็กนักเรียนให้ตระหนักถึงการรักตัวเอง ดูแลตัวเอง ให้ห่างไกลยาเสพติดและอบายมุขต่างๆ
- ได้เรียนรู้วิธีการสังเกตเด็กๆ ในเบื้องต้น ป้องกัน บำบัด รักษา และติดตามอย่างต่อเนื่อง - การเปิดอบรมหลักสูตรนี้ ผู้เข้ารับการอบรมส่วนใหญ่ชื่นชม ว่าเหมาะสมกับครูมาก เช่นครูที่อยู่ต่างจังหวัด ที่ไม่สะดวกในการเดินทางเข้ามาอบรม ได้นำความรู้ไปเผยแพร่ในหน่วยงานของตนและหน่วยงานอื่นๆที่ตนเองรับผิดชอบ

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) พัฒนาสมรรถนะครูหรือบุคคลากรทางการศึกษาในการประเมิน ส่งเสริม ป้องกัน สุขภาพของนักเรียนทั้งด้านปัญหาสุขภาพจิตและสุขภาพกาย แบบเน้นการปฏิบัติจริงป้องกันการเกิดปัญหาความรุนแรงในโรงเรียน
2) จัดการเรียนรู้แบบสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ในการดูแลสุขภาพนักเรียน 3) จัดการเรียนรู้ในรูปแบบ work integrated learning เพื่อพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการปฏิบัติงานในการดูแลสุขภาพนักเรียน
4) เป็นต้นแบบของหลักสูตรระยะสั้น (module) ที่มีการบูรณาการศาสตร์ในหลากหลายด้านในการบริหารจัดการสุขภาพนักเรียนทั้งร่างกายและปัญหาสุขภาพจิต ผู้เรียนสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปปฏิบัติในการดูแลสุขภาพนักเรียนได้


ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) เสริมสร้างทักษะครูกับการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการในโรงเรียน. (2) เสริมสร้างทักษะครูกับการดูแลสุขภาพแบบบูรณาการในโรงเรียน.

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ...

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh