directions_run

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อโคและแพะคุณภาพสูงเพื่อการประกอบการ (หลักสูตร Non-Degree)

การคัดเลือกลักษณะและพันุกรรมของโคและแพะที่สามารถผลิตเนื้อคุณภาพดี3 กุมภาพันธ์ 2567
3
กุมภาพันธ์ 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Sareena
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การคัดเลือกลักษณะและพันุกรรมของโคและแพะที่สามารถผลิตเนื้อคุณภาพดี เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการด้านพันธุศาสตร์และลักษณะทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเนื้อคุณภาพดีในโคและแพะ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการผลิตเนื้อในบริบทของสภาพภูมิศาสตร์และตลาด นอกจากนั้นเพื่อพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติในการประเมินและคัดเลือกลักษณะพันธุกรรมและกายภาพของสัตว์ โดยมีเนื้อหาเนื้อหาหลักในส่วนทฤษฎี
1. พื้นฐานพันธุศาสตร์และพันธุกรรมสัตว์ เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับยีนและลักษณะเด่น-ลักษณะด้อยในสายพันธุ์โคและแพะ  ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับคุณภาพเนื้อ เช่น  การเติบโตเร็ว (Growth Rate)  การสะสมไขมันระหว่างกล้ามเนื้อ (Marbling)  ความนุ่มของเนื้อ (Tenderness)
2. ลักษณะสำคัญสำหรับการผลิตเนื้อคุณภาพดี เช่น ลักษณะกายภาพที่พึงประสงค์ เช่น โครงสร้างร่างกาย (Body Conformation)  ความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อ (Muscle Mass)  ความหนาแน่นและปริมาณไขมันในเนื้อ (Fat Density)  พฤติกรรมและสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพเนื้อ เช่น อัตราการกินอาหาร (Feed Conversion Ratio) และความต้านทานโรค
3. การปรับปรุงพันธุกรรม (Genetic Improvement) เช่น การคัดเลือกสายพันธุ์โคและแพะในพื้นที่ การใช้เทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์ เช่น การตรวจสอบดีเอ็นเอ (DNA Testing) และการผสมเทียม (Artificial Insemination)
4. ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเนื้อจากพันธุกรรมสู่การเลี้ยงดู เช่น การเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับสายพันธุ์  และ ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและอาหารต่อการแสดงออกของลักษณะพันธุกรรม
กิจกรรมในส่วนปฏิบัติการ เป็นการประเมินลักษณะโคและแพะในฟาร์มจริง โดยการตรวจสอบโครงสร้างร่างกายและกล้ามเนื้อ และการประเมินคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย (Body Condition Score - BCS)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

.