directions_run

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อโคและแพะคุณภาพสูงเพื่อการประกอบการ (หลักสูตร Non-Degree)

การจัดการสุขภาพสัตว์27 มกราคม 2567
27
มกราคม 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Sareena
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดการสุขภาพสัตว์ในการผลิตสัตว์เนื้อคุณภาพสูง เป็นจัดการเรียนสอนที่มีทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการจัดการสุขภาพสัตว์ในระบบการผลิตสัตว์เนื้อ และเพื่อพัฒนาทักษะปฏิบัติการในการจัดการสุขภาพสัตว์จริงในฟาร์ม นอกจากนั้นเพื่อเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียนสามารถนำความรู้ไปใช้ในการผลิตสัตว์เนื้อคุณภาพสูงที่ตอบสนองต่อความต้องการของตลาด ซึ่งประกอบด้วยเนื้อหาในส่วนทฤษฎีคือ
1. พื้นฐานด้านสุขภาพสัตว์
2. การจัดการป้องกันโรค เช่นการป้องกันและควบคุมโรคที่พบบ่อยในสัตว์เนื้อ การให้วัคซีนและการบริหารจัดการยาสัตว์ และ ระบบการจัดการฟาร์มเพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของโรค 3. หลักการจัดการฟาร์มที่สอดคล้องกับมาตรฐานสวัสดิภาพสัตว์ การจัดการพื้นที่เลี้ยงสัตว์และความสะอาดในโรงเรือน และการส่งเสริมสุขภาพสัตว์เพื่อลดความเครียดและเพิ่มผลผลิต กิจกรรมการเรียนการสอนในส่วนปฏิบัติ 1. ฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง เช่นการการวิเคราะห์สุขภาพสัตว์ และการตรวจร่างกายเบื้องต้น ตลอดจน การฝึกใช้อุปกรณ์และเครื่องมือที่เกี่ยวข้อง เช่น การฉีดยา และการใช้ยาในสัตว์
2. การนำผู้เรียนไปศึกษาในฟาร์มจริงด้านการจัดการฟาร์มเพื่อลดโรคในสัตว์ เช่น การฆ่าเชื้อโรงเรือน การจัดการอาหารและน้ำสะอาด และการตรวจประเมินสุขภาพสัตว์ประจำวัน

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การจัดการสุขภาพสัตว์เป็นกระบวนการที่สำคัญในการดูแลและป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นในสัตว์ ซึ่งมีผลโดยตรงต่อการผลิตและคุณภาพของเนื้อสัตว์ โดยมีหลักการและขั้นตอนที่สำคัญ 1. การป้องกันโรค
การฉีดวัคซีน การให้วัคซีนป้องกันโรคที่สำคัญ เช่น โรคไข้หวัดใหญ่ในสัตว์, โรคคอบิด เพื่อช่วยป้องกันไม่ให้สัตว์ติดเชื้อหรือโรคที่สามารถแพร่ระบาดในฝูงได้ การป้องกันการติดเชื้อจากสัตว์ที่เข้ามาใหม่โดยการกักสัตว์ใหม่ไว้แยกจากฝูงหลักระยะหนึ่งเพื่อตรวจสุขภาพ 2. การตรวจสุขภาพ
การตรวจสภาพร่างกายประจำ ตรวจสุขภาพสัตว์อย่างสม่ำเสมอ โดยการตรวจดูพฤติกรรมและสภาพร่างกาย เช่น น้ำหนัก, สภาพขน, สภาพปาก และตา อีกทั้งยังมีการตรวจเลือดเพื่อหาสาเหตุของการติดเชื้อหรือปัญหาทางสุขภาพสัตว์ และจะต้องมีการตรวจสอบโรคที่อาจเกิดขึ้น เช่น การตรวจหาภาวะติดเชื้อในทางเดินหายใจหรือทางเดินอาหาร 3. การดูแลโภชนาการ
การให้สารอาหารที่เหมาะสม: อาหารที่เหมาะสมและสมดุลเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพสัตว์ โดยต้องให้สารอาหารที่ครบถ้วน เช่น โปรตีน, คาร์โบไฮเดรต, ไขมัน, วิตามิน, และแร่ธาตุต่าง ๆ น้ำสะอาดตลอดเวลา เป็นการสนับสนุนให้สัตว์เจริญเติบโตและสุขภาพดี
4. การควบคุมสภาพแวดล้อม (Environmental Control) การจัดการที่อยู่อาศัย: โรงเรือนต้องมีการระบายอากาศที่ดี มีความสะอาด ปราศจากเชื้อโรคและพยาธิ ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความเสี่ยงจากโรคที่มาจากสิ่งแวดล้อม และจะต้องมีการจัดการสัตว์ไม่ให้เกิดความเครียดเกินไป เช่น การจัดการพื้นที่ให้สัตว์มีความสะดวกสบาย อีกทั้งการใช้ยาและเวชภัณฑ์ที่ปลอดภัยในสัตว์ต้องปฏิบัติตามหลักการที่เข้มงวดเพื่อป้องกันการสะสมสารตกค้างในเนื้อสัตว์ที่อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค การเลือกยาอย่างเหมาะสม การใช้ยาในขนาดและระยะเวลาที่ถูกต้อง การเก็บรักษายาอย่างถูกวิธี รวมถึงการปฏิบัติตามระยะเวลาหยุดยาจะช่วยให้การใช้ยาในสัตว์เป็นไปอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ