directions_run

นวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตและแปรรูปผลิตภัณฑ์เนื้อโคและแพะคุณภาพสูงเพื่อการประกอบการ (หลักสูตร Non-Degree)

การคัดเลือกลักษณะและพันธุกรรมของโคและแพะที่สามารถผลิตเนื้อคุณภาพดี10 กุมภาพันธ์ 2567
10
กุมภาพันธ์ 2567รายงานจากพื้นที่ โดย Sareena
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

กิจกรรมในส่วนปฏิบัติการ เป็นการประเมินลักษณะโคและแพะในฟาร์มจริง โดยการตรวจสอบโครงสร้างร่างกายและกล้ามเนื้อ และการประเมินคะแนนความสมบูรณ์ของร่างกาย (Body Condition Score - BCS)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

การคัดเลือกลักษณะและพันุกรรมของโคและแพะที่สามารถผลิตเนื้อคุณภาพดี เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการด้านพันธุศาสตร์และลักษณะทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการผลิตเนื้อคุณภาพดีในโคและแพะ และเพื่อให้ผู้เรียนสามารถคัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสมกับการผลิตเนื้อในบริบทของสภาพภูมิศาสตร์และตลาด นอกจากนั้นเพื่อพัฒนาทักษะเชิงปฏิบัติในการประเมินและคัดเลือกลักษณะพันธุกรรมและกายภาพของสัตว์ โดยมีเนื้อหาเนื้อหาหลักในส่วนทฤษฎี
1 พื้นฐานพันธุศาสตร์และพันธุกรรมสัตว์ เช่น ความเข้าใจเกี่ยวกับยีนและลักษณะเด่น-ลักษณะด้อยในสายพันธุ์โคและแพะ ความสัมพันธ์ระหว่างพันธุกรรมกับคุณภาพเนื้อ เช่น การเติบโตเร็ว (Growth Rate) การสะสมไขมันระหว่างกล้ามเนื้อ (Marbling) ความนุ่มของเนื้อ (Tenderness)
2 ลักษณะสำคัญสำหรับการผลิตเนื้อคุณภาพดี เช่น ลักษณะกายภาพที่พึงประสงค์ เช่น โครงสร้างร่างกาย (Body Conformation) ความสมบูรณ์ของกล้ามเนื้อ (Muscle Mass) ความหนาแน่นและปริมาณไขมันในเนื้อ (Fat Density) พฤติกรรมและสุขภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพเนื้อ เช่น อัตราการกินอาหาร (Feed Conversion Ratio) และความต้านทานโรค
3 การปรับปรุงพันธุกรรม (Genetic Improvement) เช่น การคัดเลือกสายพันธุ์โคและแพะในพื้นที่ การใช้เทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์ เช่น การตรวจสอบดีเอ็นเอ (DNA Testing) และการผสมเทียม (Artificial Insemination)
4 ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพเนื้อจากพันธุกรรมสู่การเลี้ยงดู เช่น การเลี้ยงดูที่เหมาะสมกับสายพันธุ์ และ ผลกระทบของสิ่งแวดล้อมและอาหารต่อการแสดงออกของลักษณะพันธุกรรม
ผลลัพธ์ที่คาดหวังจากการคัดเลือกลักษณะและพันุกรรมของโคและแพะ 1. ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะทางพันธุกรรมที่มีผลต่อคุณภาพของเนื้อ เช่น ลักษณะของมวลกล้ามเนื้อ, การสะสมไขมัน, ความสามารถในการเจริญเติบโต, และความสามารถในการใช้พลังงานจากอาหาร 2. ผู้เรียนสามารถนำความรู้ดังกล่าวไปใช้ในการคัดเลือกโคและแพะที่มีลักษณะทางพันธุกรรมที่ดี เช่น โคที่มีเนื้อแดงมากและมีมวลกล้ามเนื้อหนา หรือแพะที่มีไขมันแทรกในเนื้อที่ทำให้รสชาติเนื้อดี 3. ผู้เรียนเข้าใจเทคนิคการเพาะพันธุ์ที่สามารถใช้ในการปรับปรุงพันธุ์ให้มีลักษณะตามต้องการ
4. ผู้เรียนเข้าใจการจัดการอาหารที่มีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มคุณภาพเนื้อสัตว์ โดยจะได้เรียนรู้ถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตและคุณภาพของเนื้อ 5. ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพของโคและแพะจะช่วยให้นักเรียนสามารถทำให้สัตว์เติบโตได้ดีและมีสุขภาพที่ดี