ปัญญาประดิษฐ์สำหรับธุรกิจดิจิทัล (AI for Digital Business)

AI Project6 เมษายน 2567
6
เมษายน 2567รายงานจากพื้นที่ โดย เรวดี ศักดิ์ดุลยธรรม
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

แบ่งกลุ่มจัดทำ Project จำนวน 5 กลุ่ม มีการประชุม จัดทำผลงาน และอภิปรายร่วมกันผ่านระบบออนไลน์ โดยมีอาจารย์ทำหน้าที่ Coaching กลุ่มละ 2 คน และมีการนำเสนอผลงาน ณ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  • ผู้เข้าอบรมสามารถเก็บรวบรวมข้อมูลการดำเนินงานทางธุรกิจในปัจจุบัน (ด้านการขาย การตลาด การบัญชี การบริการลูกค้า การดำเนินงาน และการบริหารงานบุคคล) และวิเคราะห์ปัญหาหรือความต้องการทางธุรกิจ โดยการอภิปรายร่วมกันในทีมงาน
  • ผู้เข้าอบรมสามารถเลือกเครื่องมือด้าน AI ที่เหมาะสมกับปัญหาหรือความต้องการทางธุรกิจ และใช้เครื่องมือด้าน AI กับการดำเนินงานทางธุรกิจ ที่อยู่ภายใต้กฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง โดยการอภิปรายร่วมกันในทีมงาน รวมทั้งสามารถแปลผลและนำเสนอผลที่ได้จากการใช้เทคโนโลยี AI ในการดำเนินงานทางธุรกิจ
  • ผู้เข้าอบรมสามารถค้นหาและวิเคราะห์ข้อมูล/เครื่องมือด้านเทคโนโลยี AI จากแหล่งข้อมูลอื่น ว่าเหมาะสมกับการแก้ไขปัญหาหรือความต้องการหรือไม่ โดยมีการอภิปรายร่วมกันในทีมงาน

โครงงานการประยุกต์ AI ในธุรกิจของผู้เข้าอบรมหลักสูตรปัญญาประดิษฐ์สำหรับธุรกิจดิจิทัล รุ่นที่ 1 จำนวน 5 โครงงาน ได้รับการประเมินโครงงานด้วย Scoring rubrics ที่แบ่งตามระดับความชำนาญ (Mastery Level) 4 ระดับ ดังนี้ - กลุ่มที่ 1 ยกระดับ SME ไทยสู่มิติใหม่ด้วย AI ระดับความชำนาญ = 3.87 (Expert) - กลุ่มที่ 2 MEAL Recommendation Application ระดับความชำนาญ = 3.12 (Mastery) - กลุ่มที่ 3 ธุรกิจแพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ E.A.L (Education AI Learning) ระดับความชำนาญ = 3.37 (Mastery) - กลุ่มที่ 4 AI in Motor Insurance Agent (ธุรกิจประกันภัยรถยนต์) ระดับความชำนาญ = 3.62 (Expert) - กลุ่มที่ 5 โครงการสำรวจข้อมูลทางการตลาดโดยใช้ AI ช่วยในการตรวจจับวัตถุ ระดับความชำนาญ = 3.00 (Mastery)