directions_run

หลักสูตรพัฒนาบุคลากรด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (หลักสูตร Non-Degree)

การเสวนาแนวโน้มของอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้าจากผู้ทรงคุณวุฒิและผู้เชี่ยวชาญ4 พฤศจิกายน 2566
4
พฤศจิกายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย ดร.ศิถา ปัญญวัชรวงศ์
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

ขั้นตอนการดำเนินงานในการจัดเสวนาเกี่ยวกับการพัฒนาชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า (EV Auto parts) มีราละเอียด ดังนี้ 1) การวางแผนเบื้องต้น ประกอบด้วย 1.1) กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของเสวนา  1.2) ระบุหัวข้อหลักที่ต้องการนำเสนอในเสวนา (เช่น ทิศทางการพัฒนา ข้อเสนอเชิงนโยบาย การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร) 2) การจัดการและประสานงาน ประกอบด้วย 2.1) จัดตั้งทีมงานเพื่อรับผิดชอบการจัดเสวนา 2.2) ติดต่อและเชิญวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยและสถาบันการศึกษา 3) การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์  ประกอบด้วย 3.1) ประชาสัมพันธ์หลักสูตร: ใช้ช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และการส่งจดหมายเชิญเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร 3.2) รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วม: จัดระบบการลงทะเบียนเพื่อรวบรวมข้อมูลผู้เข้าร่วมและจัดการจำนวนผู้เข้าร่วมให้เหมาะสม 4) การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ประกอบด้วย  4.1) เลือกสถานที่: เลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดฝึกอบรม เช่น โรงแรม ดุสิต ปริ้นเซส ศรีนครินทร์  4.2) เตรียมอุปกรณ์: จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการฝึกอบรม เช่น โปรเจคเตอร์ ไมโครโฟน ระบบเสียง และวัสดุการเรียนการสอน 5) การตำเนินการฝึกอบรม ประกอบด้วย 5.1) การเปิดงาน: จัดพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ โดยเชิญวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำตัวและบรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตร 5.2) การบรรยายและเสวนา: จัดการบรรยายและการเสวนาตามหัวข้อที่กำหนด โดยให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการถามตอบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 5.3) การศึกษาดูงาน: นำผู้เข้าร่วมไปศึกษาดูงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ประสบการณ์จริงในอุตสาหกรรม 6) การสรุปและประเมินผล ประกอบด้วย 6.1) สรุปผลการฝึกอบรม: รวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม เพื่อนำมาสรุปผลการฝึกอบรม 7) การติดตามผล ประกอบด้วย 7.1) ดทำรายงานสรุป: จัดทำรายงานสรุปผลการฝึกอบรมและนำเสนอให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรในอนาคต

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

#ผลผลิต (Output) มีรายละเอียด ดังนี้ 1) การได้รับข้อมูลและแนวทางใหม่สำหรับบริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบด้วย 1.1) ข้อมูลและแนวทางในการปรับตัวตามนโยบายใหม่ และ 1.2 ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตที่สอดคล้องกับเป้าหมายการลดคาร์บอนและการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) การได้รับข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรและนโยบายการฝึกอบรมสำหรับหน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย 2.1) ข้อเสนอที่ชัดเจนในการพัฒนาหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และ 2.2 แนวทางในการพัฒนานโยบายการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับเป้าหมายอุตสาหกรรม 3) การพัฒนาทักษะใหม่ ๆ สำหรับพนักงานและวิศวกรในอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกอบด้วย 3.1 โอกาสในการพัฒนาทักษะที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และ 3.2 การฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรม

#ผลลัพธ์ (Outcome) มีรายละเอียด ดังนี้ 1) บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประกอบด้วย 1.1) การปรับตัวและพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับนโยบายลดคาร์บอน 1.2 การปรับปรุงกระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม 2) หน่วยงานภาครัฐและสถาบันการศึกษา ประกอบด้วย 2.1) การพัฒนาหลักสูตรและนโยบายการฝึกอบรมที่สอดคล้องกับความต้องการของอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า 2.2) การสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษาเพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า 3) พนักงานและวิศวกรในอุตสาหกรรมยานยนต์ ประกอบด้วย 3.1 การเพิ่มศักยภาพในการทำงานและการปรับตัวในการทำงานในอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า และ 3.2 การพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงานในอนาคต 4) ประเทศไทยสามารถเข้าสู่การเป็นผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในประชาคมอาเซียน ประกอบด้วย 4.1) การพัฒนาบุคลากรที่มีคุณภาพในด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า และ 4.2) การสนับสนุนเป้าหมายในการเป็นผู้นำด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในอาเซียน

ดังนั้น การเสวนานี้จึงไม่เพียงแต่ให้ข้อมูลและแนวทางในการปรับตัวตามนโยบายใหม่แก่ผู้เข้าร่วม แต่ยังช่วยเสริมสร้างศักยภาพในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการผลิตให้มีความยั่งยืน นอกจากนี้ยังส่งเสริมการพัฒนาบุคลากรในด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ประเทศไทยสามารถบรรลุเป้าหมายในการเป็นผู้นำของอาเซียนในด้านการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ