การพัฒนายกระดับอาชีพพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่มบนเรือสำราญอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน
ขั้นตอนการดำเนินงานในการจัดเสวนาเกี่ยวกับการพัฒนายกระดับอาชีพพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่มบนเรือสำราญอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน รุ่นที่ 1 มีรายละเอียด ดังนี้
1) การวางแผนเบื้องต้น โดย 1.1) กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายของเสวนา 1.2) ระบุหัวข้อหลักที่ต้องการนำเสนอในเสวนา (เช่น แนวโน้มและทิศทางอุตสาหกรรมเรือสำราญ ในปัจจุบันและอนาคต การเตรียมความพร้อมด้านบุคลากร)
2) การจัดการและประสานงาน ประกอบด้วย
2.1) จัดตั้งทีมงานเพื่อรับผิดชอบการจัดเสวนา
2.2) ติดต่อและเชิญวิทยากรจากหน่วยงานต่างๆ เช่น วิทยาลัยเทคโนโลยีทางทะเลแห่งเอเชีย สถาบันฝึกอบรมนิมมานรดี อินเตอร์เนชั่นแนล และบริษัท เอเชียนแมนพาวเวอร์ ซีเฟอร์ รีครูตเม้นท์ จำกัด
3) การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ประกอบด้วย
3.1) ประชาสัมพันธ์หลักสูตร: ใช้ช่องทางต่างๆ เช่น เว็บไซต์ โซเชียลมีเดีย และการส่งจดหมายเชิญเพื่อประชาสัมพันธ์หลักสูตร
3.2) รับลงทะเบียนผู้เข้าร่วม: จัดระบบการลงทะเบียนเพื่อรวบรวมข้อมูลผู้เข้าร่วมและจัดการจำนวนผู้เข้าร่วมให้เหมาะสม
4) การเตรียมสถานที่และอุปกรณ์ ประกอบด้วย
4.1) เลือกสถานที่: เลือกสถานที่ที่เหมาะสมสำหรับการจัดฝึกอบรม เช่น โรงแรมชลจันทร์ พัทยา บีช รีสอร์ท
4.2) เตรียมอุปกรณ์: จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการจัดเสวนา เช่น โปรเจคเตอร์ ไมโครโฟน ระบบเสียง และวัสดุการเรียนการสอน
5) การดำเนินการเสวนา ประกอบด้วย
5.1) การเปิดงาน: จัดพิธีเปิดงานอย่างเป็นทางการ โดยเชิญวิทยากรและผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำตัวและบรรยายเกี่ยวกับเนื้อหาของหลักสูตร
5.2) การบรรยายและเสวนา: จัดการบรรยายและการเสวนาตามหัวข้อที่กำหนด โดยให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมในการถามตอบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
5.3) การศึกษาดูงาน: นำผู้เข้าร่วมไปศึกษาดูงานในสถานประกอบการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ได้ประสบการณ์จริงในอุตสาหกรรม
6) การสรุปและประเมินผล ประกอบด้วย
6.1) สรุปผลการฝึกอบรม: รวบรวมข้อมูลและความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วม เพื่อนำมาสรุปผลการฝึกอบรม
7) การติดตามผล ประกอบด้วย
7.1) จัดทำรายงานสรุป: จัดทำรายงานสรุปผลการฝึกอบรมและนำเสนอให้กับผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อใช้ในการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรในอนาคต
- ผลผลิต (Output) ได้รับข้อมูลและแนวทางสำหรับการพัฒนายกระดับอาชีพพนักงานบริการอาหารและเครื่องดื่มบนเรือสำราญ โดยได้รับข้อมูลและแนวทางในการเตรียมความพร้อมสำหรับอาชีพบริการบนเรือสำราญ และ ข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนรู้การปฏิบัติงานบริการบนเรือสำราญ รวมถึงได้รับข้อเสนอและแนวทางการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมสำหรับอนาคต ทั้งนี้ได้ข้อเสนอที่ชัดเจนในการพัฒนาหลักสูตรที่ตรงกับความต้องการของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวบนเรือสำราญ และทักษะที่จำเป็นขั้นพื้นฐานสำหรับการปฏิบัติงานบริการบนเรือสำราญ
- ผลลัพธ์ (Outcome) 1) บุคลากรได้รับการพัฒนาความรู้ที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด 2) ได้แนวทางการพัฒนาต่อยอดอาชีพบริการบนเรือสำราญ 3) ได้เรียนรู้ประสบการณ์ในการใช้ภาษานอกเหนือจากภาษาไทย เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น เป็นต้น