หลักสูตรครูนักสร้างคอนเทนต์การสอนอย่างสร้างสรรค์ (Creative teaching content creators)

Instructional Designer Skills6 กุมภาพันธ์ 2567
6
กุมภาพันธ์ 2567รายงานจากพื้นที่ โดย ฐิติมา ญาณะวงษา
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

1) สำรวจความคิดเห็น ปัญหา และสภาพการจัดการเรียนการสอนในยุคดิจิทัลที่ต้องการได้เรียนรู้จากหลักสูตร 2)  สำรวจความรู้และความเข้าใจของครูเกี่ยวกับแนวคิดการออกแบบการเรียนการสอนยุคดิจิทัลโดยใช้ Mentimeter ในประเด็นดังนี้ • เทรนด์การเรียนรู้ใหม่ของคนยุคดิจิทัลเป็นอย่างไร • การจัดการศึกษาในยุคดิจิทัลควรเป็นอย่างไร • แหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญในยุคดิจิทัลมีอะไรบ้าง 3) จัดการอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียนเกี่ยวกับรูปแบบการเรียนการสอนและสื่อในยุคดิจิทัลให้ผู้เรียนเสนอความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันผ่านประสบการณ์ ในประเด็นดังนี้ • สมรรถนะดิจิทัลสำหรับครูในการจัดการเรียนรู้มีอะไรบ้าง • บทบาทของครูในการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล • เนื้อหาการเรียนรู้ที่น่าสนใจในยุคดิจิทัล • ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการออกแบบการจัดการเรียนรู้ยุคดิจิทัล 4) ปฏิบัติการวิเคราะห์สิ่งที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมาใช้ในการออกแบบการเรียนการสอน ได้แก่ การวิเคราะห์ความจำเป็น การวิเคราะห์เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวิเคราะห์ผู้เรียน การวิเคราะห์จุดประสงค์การเรียนการสอน และการวิเคราะห์สภาพแวดล้อม 5) ปฏิบัติการเชื่อมโยงผลลัพธ์การเรียนรู้ในรายวิชาที่ตนเองรับผิดชอบสอนในสถานศึกษา ตามหลักสูตรและรายวิชา เพื่อการออกแบบเนื้อหา กิจกรรม และกระบวนการสื่อสาร
6) ปฏิบัติการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงรุกบูรณาการการใช้เทคโนโลยีกับเนื้อหาและวิธีการสอน (TPCK)
7) ปฏิบัติการออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบโมดูล (Modular-Based Education) ในรายวิชาหรือเนื้อหาสาระที่จะนำมาจัดการเรียนการสอน คณาจารย์และทีมนิเทศกำกับติดตามและสะท้อนการเรียนรู้ร่วมกัน ด้วยกระบวนการ Coaching and Mentoring ในรูปแบบกระบวนการกลุ่ม และรายบุคคลในสถานศึกษาและผ่านช่องทางออนไลน์

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์สารสนเทศที่จำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอนและสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนต์ได้อย่างครอบคลุม ทำให้สามารออกแบบการเรียนการสอนโดยบูรณาการ การใช้เทคโนโลยีกับเนื้อหาและวิธีการสอนได้อย่างเป็นระบบ ตลอดจนออกแบบสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนต์แบบ Micro Learning ได้  โดยการวิเคราะห์สารสนเทศและกิจกรรมการเรียนการสอนในการสร้างเนื้อหา (content) ของผู้เรียนที่เข้าร่วมมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์และกลุ่มเป้าหมายที่จะเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนต์ โดยผู้เรียนมีสมรรถนะการวิเคราะห์สารสนเทศที่จำเป็นในการออกแบบการเรียนการสอนและสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนต์ได้อย่างครอบคลุม ดังนี้
1) สามารถวิเคราะห์สารสนเทศ หลักการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์บทเรียนหลักการและเนื้อหาที่สำคัญที่ผู้เรียนควรทราบ ข้อมูลสำคัญและเนื้อหาที่เกี่ยวข้อง เชื่อมโยง ที่เชื่อถือได้เกี่ยวกับเนื้อหาวิชาที่กำลังจะสอน 2) ออกแบบแผนการสอนที่มีขั้นตอนเป็นลำดับ จุดประสงค์การเรียนรู้ที่ชัดเจน และวิธีการประเมินผลการเรียน 3) คัดเลือก/ระบุสื่อประกอบการเรียนภาพ วิดีโอ แผนภูมิ แผนผัง สื่อต่าง ๆ ที่มีความหลากหลาย และเชื่อมโยง 4) ออกแบบกิจกรรมที่สนุกสนานและเข้ากับจุดประสงค์ของการเรียน กิจกรรมที่สามารถกระตุ้นความคิดสร้างสรรค์และการทำงานร่วมกัน 5) ออกแบบการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี เช่น การใช้แพลตฟอร์มการเรียนออนไลน์ แอปพลิเคชัน หรือเครื่องมือที่ทันสมัย น่าสนใจ ทั้งนี้ผู้เรียนมีสมรรถนะในการวิเคราะห์สารสนเทศและการออกแบบการเรียนการสอนและสื่อการสอนดิจิทัลคอนเทนต์ได้อย่างครอบคลุม มีการนำเสนอสารสนเทศและกิจกรรมการเรียนการสอนที่ออกแบบโดยการสร้างผัง Mindmap