ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 และปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) หลักสูตรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ปีงบประมาณ 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ หลักสูตรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 จำนวนชั่วโมงการเรียนทั้งหมด 315 ชั่วโมง (45 ชั่วโมงทฤษฎี : 270 ชั่วโมงปฏิบัติ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เพิ่มการเรียนรู้ที่เติมเต็มความรู้และทักษะ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการและการพัฒนาประเทศ ทั้งยังเป็นการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะทางด้านยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ได้อย่างมีคุณภาพตรงตามหลักทางวิชาการ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการทั้งสิ้น 40 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 20 คน เป็นเพศชาย 19 คน เพศหญิง 1 คน ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 1 คน ปริญญาตรี 13 คน สูงกว่าปริญญาตรี 6 คน ประกอบอาชีพ ลูกจ้าง/พนักงานบริษัท 2 คน ธุรกิจส่วนตัว 14 คน พนักงานราชการ 1 คน พนักงานมหาวิทยาลัย 1 คน เกษียณ 1 คน พนักงานฝึกงาน 1 คน เป็นศิษย์เก่าของมทร.กรุงเทพ 4 คน การรับทราบข่าวสารของโครงการ เพื่อน/คนรู้จัก 5 คน สื่อสังคมออนไลน์ 14 คน เว็บไซด์คณะ 1 คน ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความเข้าใจการซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ 20 คน
จากผลการสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมต่อการจัดโครงการ พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดโครงการภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.60 รายละเอียดดังนี้ ด้านเนื้อหา โมดูล 1 พื้นฐานเทคโนโลยียานยนต์ มีความเหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.55 โมดูล 2 พื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า มีความเหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.65 โมดูล 3 การดัดแปลงยานยนต์สันดาปเป็นยานยนต์ไฟฟ้า มีความเหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.75 เนื้อหาความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ตรงตามที่คาดหวัง ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.50 สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้ ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.60 ระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.75
ด้านวิทยากร ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้/สื่อสาร/ความเข้าใจ ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.70 การเรียงลำดับเนื้อหาได้ครบถ้วน ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย
= 4.50 การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.80การตอบคำถามและแก้ปัญหาได้ตรงประเด็นและชัดเจน ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย
= 4.70
ด้านสถานที่และการบริการ สถานที่จัดการฝึกอบรม มีความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.60 อาหารและเครื่องดื่ม มีความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.55 เครื่องมืออุปกรณ์/สิ่งอำนวยความสะดวก มีความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย = 4.10 เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ มีความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด ค่าเฉลี่ย
= 4.70

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ให้ผู้เข้าอบรมสามารถดัดแปลงรถยนต์สันดาปเป็นยานยนต์ไฟฟ้าและเพื่อเตรียมความพร้อมบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ไฟฟ้า

โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ เพื่อสร้างกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงสำหรับอุตสาหกรรม New Growth Engine ตามนโยบาย Thailand 4.0 และปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) หลักสูตรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ปีงบประมาณ 2566 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ หลักสูตรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2566 ถึงวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2567 จำนวนชั่วโมงการเรียนทั้งหมด 315 ชั่วโมง (45 ชั่วโมงทฤษฎี : 270 ชั่วโมงปฏิบัติ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนการสอนที่เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เพิ่มการเรียนรู้ที่เติมเต็มความรู้และทักษะ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการและการพัฒนาประเทศ ทั้งยังเป็นการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะทางด้านยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง ได้อย่างมีคุณภาพตรงตามหลักทางวิชาการ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการทั้งสิ้น 40 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 20 คน เป็นเพศชาย 19 คน เพศหญิง 1 คน ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 1 คน ปริญญาตรี 13 คน สูงกว่าปริญญาตรี 6 คน ประกอบอาชีพ ลูกจ้าง/พนักงานบริษัท 2 คน ธุรกิจส่วนตัว 14 คน พนักงานราชการ 1 คน พนักงานมหาวิทยาลัย 1 คน เกษียณ 1 คน พนักงานฝึกงาน 1 คน เป็นศิษย์เก่าของมทร.กรุงเทพ 4 คน การรับทราบข่าวสารของโครงการ เพื่อน/คนรู้จัก 5 คน สื่อสังคมออนไลน์ 14 คน เว็บไซด์คณะ 1 คน ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความเข้าใจการซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ 20 คน

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) โมดูล 1 พื้นฐานเทคโนโลยียานยนต์ (2) โมดูลที่ 2 พื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์สมัยใหม่ (3) โมดูล 3 การดัดแปลงยานยนต์สันดาปเป็นยานยนต์ไฟฟ้า
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากสถานประกอบการ มาจากแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าอบรบโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) หลักสูตรยานยนต์ไฟฟ้าดัดแปลง สามารถรวบรวมข้อเสนอแนะได้ออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านเนื้อหาการอบรม
พบว่าเนื้อหาในแต่ละโมดูลการฝึกอบรมตรงกับวัตถุประสงค์อยู่ในระดับมากที่สุด (4.65) ระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.75) เนื้อหาในการฝึกอบรมตรงกับความคาดหวังของผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับมาก (4.5) และสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากโครงการนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด (4.6)
2)  ด้านวิทยากร
พบว่าความสามารถในการถ่ายทอด/สื่อสาร/ความเข้าใจของวิทยากร อยู่ในระดับมากที่สุด (4.7)
การเรียงลำดับบรรยายเนื้อหาได้ครบถ้วน อยู่ในระดับมาก (4.5) การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น อยู่ในระดับมากที่สุด (4.8) การตอบคำถามได้ตรงประเด็นและชัดเจนทั้งหมดอยู่ในระดับมากที่สุด (4.7)
3) ด้านสถานที่และการบริการ พบว่าสถานที่จัดอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด (4.6) เจ้าหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกอยู่ในระดับมากที่สุด (4.7) อาหารและเครื่องดื่ม อยู่ในระดับมากที่สุด (4.55) เครื่องมือ/อุปกรณ์/สิ่งอำนวยความสะดวกมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (4.1)

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh