แบบการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของโครงการ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคน กลุ่มคน เครือข่าย (เช่น มีความรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีศักยภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

ทักษะการปฏิบัติงานเพิ่มมากขึ้น

จากการจัดการเรียนการสอนโครงการสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ (Non-Degree) หลักสูตรวิศวกรรมสำหรับงานหล่อเพื่อยานยนต์ โดยร่วมกันออกแบบให้ตรงกับความต้องการของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรมงานหล่อ สำหรับรองรับชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ เพื่อเสริมสร้างทักษะแก่ผู้เรียนให้มีความสามารถ ศักยภาพตอบโจทย์ภาคอุตสาหกรรมได้ร่วมกับสถานประกอบในกลุ่มงานอุตสาหกรรม เพื่อพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ ความสามารถ ความรู้สำหรับรองรับชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ สามารถจำแนกได้ดังนี้ 1) งานแม่พิมพ์โลหะ ผู้เข้าอบรมในส่วนงานที่เกี่ยวข้องกับการผลิตและออกแบบแม่พิมพ์ มีทักษะและสมรรถนะที่สามารถจัดทำโครงงานที่เกี่ยวข้องกับการปรับปรุงแม่พิมพ์ ในด้านความแข็งของแม่พิมพ์ที่มีผลต่ออายุการใช้งานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพของแม่พิมพ์ และอายุการใช้งานที่ยืดยาวและลดต้นทุนของสถานประกอบการได้จริง 2) งานหล่อโลหะ ผู้ผ่านการอบรมมีทักษะและสมรรถนะในงานหล่อโลหะ สามารถวิเคราะห์และการควบคุมปริมาณน้ำดินเหนียว และขนาดของเม็ดทรายในงานหล่อโลหะที่ส่งผลต่อการสร้างแบบหล่อทรายในสถานประกอบการ เพื่อให้สามารถผลิตชิ้นงานออกมาตามความต้องการของลูกค้าได้ 3) การตรวจสอบคุณภาพ ผู้ผ่านการอบรมมีทักษะและสมรรถนะในการวิเคราะห์ปัญหา และศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเครื่องมือตรวจสอบส่วนผสมทางเคมีโดยการศึกษาหลักการของเครื่องสเปกโตรมิเตอร์ เพื่อใช้เป็นข้อแนะนำแก่ทางโรงงานในการหาค่าส่วนผสมเคมีของอลูมิเนียมอินกอต เพื่อเป็นแนวทางในการลดปัญหาของเสียที่เกิดจากการใช้อลูมิเนียมอินกอตที่ไม่ได้มาตรฐาน นอกจากนั้นผู้ที่ผ่านการอบรมมีทักษะและสมรรถนะเกี่ยวกับการตรวจสอบคุณภาพของอลูมิเนียมอินกอตตามมาตรฐาน JIS ADC-12 เพื่อเป็นแนวทางในการตรวจสอบคุณภาพของอลูมิเนียมอินกอตตามมาตรฐาน JIS ADC-12 และลดปัญหาของเสียที่เกิดจากการใช้อลูมิเนียมอินกอตที่ไม่ได้มาตรฐานได้ อย่างเหมาะสมกับสถานประกอบการ

 

พัฒนาต่อให้กับบุคลากรกลุ่มบริษัทอื่นๆ

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (เช่น เกิดนโยบาย เกิดข้อตกลงชุมชน เกิดมาตรการทางสังคม)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

เกิดความร่วมมือเป็นเครือข่ายระว่างสถานศึกษาและสถานประกอบการ

เกิดความร่วมมือกันในกลุ่มบริษัทงานหล่อ และเกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้องค์ความรู้ร่วมกัน

 

การพัฒนาต่อยอดในงานวิจัย งานบริการให้ความรู้แก่บุคลากรในสถานประกอบการในองค์ความรู้เดิมและต่อยอดองค์ความรู้ใหม่ที่สถานประกอบการมีความต้องการ

การเปลี่ยนกลไก และกระบวนการในชุมชนที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (เช่น เกิดกลุ่ม ชมรม เครือข่าย เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

เกิดเครือข่ายความร่วมมือ

เครือข่ายความร่วมมือของกลุ่มหล่อโลหะ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กับคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ในการแลกเปลี่ยน พัฒนาต่อยอดองค์ความรู้ร่วมกัน

 

การขยายวงกว้างในการต่อยอดองค์ความรู้ให้ครอบคลุมทุกบริษัทในกลุ่มอุตสาหกรรม