วัสดุวิศวกรรมสำหรับอุตสาหกรรมงานหล่อเพื่อยานยนต์

การจัดการเรียนการสอน Module 1 - Module 6 รุ่น 220 มิถุนายน 2566
20
มิถุนายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย สุวิมล เจียรธราวานิช
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

การจัดการเรียนการสอน Module 1 - Module 6 รุ่น 2 วันเวลาการจัดการเรียนการสอน
1) วันเสาร์ - วันอาทิตย์
2) เวลาภาคทฤษฎี คือ 9.00 น. – 16.00 น.
3) เวลาภาคปฏิบัติ คือ 8.00 น. – 17.00 น.
สถานที่ฝึกการจัดการเรียนการสอน
1) ภาคทฤษฎี ใช้การจัดการเรียนการสอนออนไลน์
2) ภาคปฏิบัติการ ใช้อาคารเรียน 18/2 สาขาเทคโนโลยีอุตสาหการ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และสถานประกอบการสมาชิกของกลุ่มอุตสาหกรรมหล่อโลหะ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย


เนื้อหาหลักสูตร การจัดการเรียนการสอน 40 วัน (300 ชม.) 1) ภาคทฤษฎี จัดการเรียนการสอนออนไลน์ จำนวน 10 วัน 2) ภาคปฏิบัติการ สถานที่จัดการเรียนการสอนมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และสถานประกอบการสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมหล่อโลหะ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย จำนวน 29 วัน 3) การศึกษาดูงาน สถานประกอบการสมาชิกกลุ่มอุตสาหกรรมหล่อโลหะ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำนวน 1 วัน โดยเนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย 6 โมดูล จำนวนชั่วโมงการเรียนทั้งหมด 300 ชั่วโมง (60 ชั่วโมงทฤษฎี : 240 ชั่วโมงปฏิบัติ)

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม

จำนวนผู้อบรม........40............คน
ผลการเรียนรู้ (Learning Outcomes) 1 ด้านความรู้ 1) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านวัสดุวิศวกรรมที่ใช้เป็นพื้นฐานในกระบวนการหล่อโลหะสำหรับการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ 2) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านวัสดุวิศวกรรมที่ใช้เป็นพื้นฐานในกระบวนการหล่อโลหะสำหรับการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์สมัยใหม่ 3) ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ร่วมกับการฝึกทักษะการปฏิบัติงานหล่อโลหะได้อย่างเหมาะสม 4) ผู้เข้าอบรมสามารถออกแบบปรับปรุงกระบวนการผลิตให้สอดคล้องกับเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ได้ 2 ด้านปัญญา 1) ผู้เข้าอบรมสามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านวัสดุวิศวกรรมสำหรับงานหล่อได้ 2) ผู้เข้าอบรมสามารถปรับใช้องค์ความรู้ทางด้านงานหล่อ ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้