directions_run

หลักสูตรประกาศนียบัตรการบริบาลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่บ้าน (หลักสูตร Non-Degree)

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 35
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

หลักสูตรประกาศนียบัตร การบริบาลผู้สูงอายุและผู้ป่วยที่บ้าน เป็นหลักสูตรอบรมเชิงปฏิบัติการที่มีระยะเวลาเรียนสั้น ๆ ตอบโจทย์ความต้องการกำลังคนเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนบุคลากรที่เชี่ยวชาญในการดูแลผู้สูงอายุได้อย่างรวดเร็ว โดยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาศักยภาพผู้เรียนให้เป็นผู้ดูแลผู้สูงอายุที่มีความรู้ความสามารถ ทั้งให้การดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างถูกต้อง และสามารถนำไปประกอบเป็นอาชีพในอนาคตได้ 2) เพื่อให้ผู้เรียนมีคุณธรรมและจริยธรรม มีเจตคติที่ดีต่อการดูแลผู้สูงอายุที่มีสุขภาพดีและผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในปีพ.ศ.2565 มีผู้เรียนเป็นไปตามเป้าหมาย จำนวน 30 คน และมีผู้เรียนสมทบ 5 คน รวมผู้เรียนทั้งสิ้นจำนวน 35 คน กลุ่มเป้าหมายที่รับเข้าศึกษาเป็นผู้ที่ต้องการเพิ่มเติมสมรรถนะ (Upskill) ที่มีอยู่เดิม ด้วยทักษะความรู้ที่เกี่ยวข้องหรือองค์ความรู้ที่ใหม่กว่าทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการเปลี่ยนสมรรถนะ (Reskill) ต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะที่แตกต่างไปจากสายงานเดิม ชั่วโมงในการศึกษา 540 ชั่วโมง แบ่งออกเป็นวิชาภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต จำนวน 18 วิชา ระยะเวลาเรียน 270 ชั่วโมง จัดการเรียนการสอนรูปแบบผสมผสานในชั้นเรียนและออนไลน์ในวันศุกร์ รูปแบบทฤษฎีและปฏิบัติการในชั้นเรียนในวันเสาร์และวันอาทิตย์ และวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ไม่น้อยกว่า 6 หน่วยกิต ระยะเวลาฝึก ฯ 270 ชั่วโมง เกณฑ์การสำเร็จการศึกษา ประกอบด้วย 1) เวลาเข้ารับการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ มากกว่าร้อยละ 80 2) ผลคะแนนกลุ่มวิชาภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 60 3) ผลคะแนนวิชาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 80 โดยมีหน่วยงานที่เข้าร่วมบันทึกความร่วมมือทางวิชาการเพื่อจัดการเรียนการสอนทั้งภาคทฤษฎี ปฏิบัติการในชั้นเรียน และฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ได้แก่ โรงพยาบาลสุรินทร์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลนอกเมือง และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลคอโค ผลการดำเนินงาน พบว่า มีผู้เรียนเป็นผู้ที่ต้องการเพิ่มเติมสมรรถนะที่มีอยู่เดิม จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 48.6 และเป็นผู้ต้องการเปลี่ยนสมรรถนะต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะที่แตกต่างไปจากสายงานเดิม จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 51.4 ในระหว่างการฝึกประสบการวิชาชีพได้มีการประเมินการสะท้อนคิดจากนักศึกษาในทักษะและความมั่นใจในการปฏิบัติในสถานการณ์จริง จึงได้มีการจัดอบรมเพิ่มเติมเพื่อทบทวนและเพิ่มพูนองค์ความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติการ จำนวน 48 ชั่วโมง ผลสัมฤทธิ์ในการดำเนินการจัดการเรียนการสอน พบว่า มีผู้สำเร็จการศึกษาแล้ว จำนวน 32 คน คิดเป็นร้อยละ 91.4 และมีอีก 1 คน ที่ยังเก็บชั่วโมงฝึกปฏิบัติการภาคสนามยังไม่แล้วเสร็จ คิดเป็นร้อยละ 2.9 โดยมีผู้ขอลาออก จำนวน 2 คน คิดเป็นร้อยละ 5.7 สถานประกอบการที่เป็นแหล่งฝึกประสบการณ์วิชาชีพเสนอให้มีการฝึกปฏิบัติการภาคสนามทั้งในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และควรมีการต่อยอดหรือมีหลักสูตรการฟื้นฟูความรู้และทักษะทุก 3-5 ปี

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh