การพัฒนาธุรกิจเพื่อเป็นผู้ประกอบการเชิงสังคม (หลักสูตร Non-Degree)
วิธีการวัดและประเมินผลของผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของหลักสูตร (พร้อมแนบเอกสาร ถ้ามี)
การวัดและประเมินผลของผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร มี 4 วิธี ได้แก่
(1) การเข้าเรียนทั้งในห้องเรียนและแบบออนไลน์ ซึ่งมีการตรวจสอบรายชื่อในบางคาบที่จัดการเรียนการสอน หากผู้เรียนไม่เข้าร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนหรือการประเมินผลในคาบดังกล่าว (แจ้งไว้ล่วงหน้าในตารางเรียนและกิจกรรม) ผู้เรียนจะไม่ผ่านเกณฑ์ของหลักสูตร
(2) การมีส่วนร่วมในห้องเรียน ประเมินโดยการสังเกตผู้เรียน
(3) การบ้าน/งานที่มอบหมายในห้องเรียน ในบางหัวข้ออาจารย์ผู้สอนจะมอบหมายงานหรือการบ้านให้ผู้เรียนกลับไปค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติม และให้นำมาส่งในสัปดาห์ถัดไป เพื่อเป็นการประเมินความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ความตรงต่อเวลา และความรู้ ความเข้าใจในหัวข้อนั้นๆ
(4) กรณีศึกษาตามที่ผู้เรียนสนใจ โดยมอบหมายให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้จากการเรียนหลักสูตรชุดวิชา มาพัฒนาปรับปรุงธุรกิจเดิมของตนเอง หรือเขียนเป็นแผนธุรกิจในรูปแบบกิจการเพื่อสังคม และนำข้อมูลมานำเสนอหน้าชั้นเรียน เพื่อเป็นการประเมินความรู้ความเข้าใจ การประยุกต์ความรู้ไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน ตลอดจนทักษะการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในธุรกิจของตนเอง
2.3 เป้าหมายของการดำเนินงานของหลักสูตรเน้นทักษะประเภทใด : Reskill/Upskill
ผลลัพธ์ของผู้เรียนเมื่อจบการศึกษา โดยเปรียบเทียบผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ที่ระบุไว้ในหลักสูตรว่าสอดคล้องกันหรือไม่ อย่างไร
ผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของหลักสูตร
PLO 1 ผู้เรียนสามารถวิเคราะห์ธุรกิจและเศรษฐกิจ เพื่อนำมานำมาพัฒนาตัวแบบการจัดการธุรกิจ
การเกษตร และ/หรือธุรกิจเชิงสังคม
PLO 2 ผู้เรียนสามารถประเมินและวิเคราะห์โครงการเพื่อธุรกิจการเกษตร และธุรกิจเชิงสังคมในชุมชน
PLO 3 ผู้เรียนสามารถนำเสนอตัวแบบธุรกิจการเกษตร และ/หรือธุรกิจเชิงสังคมได้
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียนจากการตอบแบบสอบถาม
1. วิชาที่เรียนทั้งหมดเป็นพื้นฐานในการทำธุรกิจ สิ่งที่กำลังนำไปใช้คือการใช้ Facebook ads manager และสนใจการระดมทุนผ่าน crowdfunding ซึ่งเป็นเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่นำมาปรับใช้ให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันได้เป็นอย่างดี
2. เป็นการเรียนรู้ตามหลักวิชาการ ได้ฟังการบรรยายหัวข้อใหม่ๆ จากวิทยากรที่มาจากภาคธุรกิจ ผนวกกับประสบการณ์ของผู้สอนที่มีประสบการณ์มากๆ ได้ไปดูงานผู้ประกอบการที่เป็นตัวอย่างที่ดี ซึ่งทำให้เห็นภาพชัดเจน สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง และเกิดความยืดหยุ่นในการนำไปปรับใช้เพื่อปรับปรุง/แก้ไขในสถานการณ์จริง
3. ได้เรียนรู้ถึงเนื้อหาต่างๆ ที่ประกอบขึ้นมาเป็นแผนธุรกิจ ได้มีโอกาสคิดวิเคราะห์วางแผนธุรกิจที่ตนเองสนใจ นำเสนอแผนธุรกิจ และได้รับ Comment จากอาจารย์ แบ่งปันประสบการณ์ต่างๆ เรียนรู้จากเพื่อนๆ ในชั้นเรียน ช่วยในการพัฒนาแผนธุรกิจที่เขียนมาให้ดีขึ้น
4. ได้เรียนรู้ว่าทุกองค์ประกอบของการทำธุรกิจล้วนสำคัญ และไม่ใช่เรื่องง่ายๆที่จะทำให้ธุรกิจอยู่ได้และอยู่อย่างยั่งยืน สิ่งสำคัญคือธุรกิจต้องมีกำไร ซึ่งปกติถ้าไม่ได้เรียนคงแค่คิดว่าได้ทำเพื่อสังคมก็เพียงพอแล้ว แต่พอได้เรียนจึงได้รู้ว่าธุรกิจต้องอยู่ได้ก่อน จึงจะไปช่วยสังคมได้
อธิบายกระบวนการวัดความก้าวหน้าของผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ของหลักสูตรว่าเป็นอย่างไร 1. กระบวนการวัดผลของผู้เรียนนอกจากจะดำเนินการด้วยการสังเกตและสอบถามในชั้นเรียนแล้ว ทางชุดวิชาได้จัดตั้งไลน์กลุ่มของคณาจารย์และผู้เรียน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแลกเปลี่ยนและแสดงความคิดเห็น หรือหากผู้เรียนมีคำถาม ก็สามารถส่งคำถามได้ เพื่อให้ผู้สอนอธิบายเพิ่มเติมหรือผู้เรียนท่านอื่นแชร์ประสบการณ์ 2. ในระหว่างการเรียนการสอนมีการนำบอร์ดเกมมาใช้เพื่อเป็นกิจกรรมกระตุ้นการเรียนรู้แบบactive learning ในบางหัวข้อ พร้อมทั้งสามารถใช้ประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน โดยแบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็นกลุ่มย่อย กลุ่มละ3-4 คน และให้ผู้เรียนทำการแข่งขันระหว่างกัน เพื่อหาผู้ชนะในเกมการแข่งขัน เมื่อจบการแข่งขันให้ผู้เรียนที่ชนะออกมาทำการแลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการคิด และการตัดสินใจที่ใช้ในการเล่นเกม
สรุปผลลัพธ์การเรียนรู้ (Learning Outcomes) ที่ระบุในหลักสูตรเป็นไปตามวัตถุประสงค์หรือไม่ หรือควรมีการปรับปรุงอย่างไร (กรณีมีการจัดการการสอนมากกว่า 1 รุ่นแล้ว กรุณาแยกรายละเอียดตามรุ่น) ผลลัพธ์การเรียนรู้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร และผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับตัวแบบธุรกิจการเกษตร และ/หรือธุรกิจเชิงสังคมได้ ตลอดจนสามารถวิเคราะห์ธุรกิจและเศรษฐกิจ เพื่อนำมาพัฒนาตัวแบบการจัดการธุรกิจการเกษตร และ/หรือธุรกิจเชิงสังคม นอกจากนี้ ผู้เรียนบางคนสามารถนำความรู้ไปถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้