ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการผลิตบัณฑิตพันธ์ใหม่ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี มีการสื่อสารที่ดี รู้จักการบริโภคสิ่งต่างๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 2) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีสติในการควบคุมจิตใจตนเองในการแสดงพฤติกรรมต่อผู้อื่น ตื่นตัวในการเรียนรู้ และทำความเข้าใจสถานการณ์ทางสังคม สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน 3) เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข
  โดยได้กำหนดผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเมื่อสำเร็จการศึกษา 3 ประการคือ PLO1 เป็นผู้มีบุคลิกภาพมั่นคง ตรวจสอบตนเอง ไม่ติดกับความคิดแบบสองขั้ว ไม่ตัดสินใจแบบฟังความข้างเดียวและสามารถจัดการสิ่งรบกวนรอบตัวได้ PLO2 เป็นผู้มีความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง อดทนต่อสิ่งยั่วยุ ไม่เสพติดในสิ่งฟุ่มเฟือย มีทักษะเอาใจเขามาใส่ใจเรา เห็นคุณค่าของประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน PLO3 เป็นผู้มีความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง ใจกว้าง ปรับตัวในการอยู่ร่วมกับความแตกต่าง ไม่ทำร้ายผู้อื่นด้วยการสื่อสารด้านลบ เป็นคนมีความสามารถสร้างความสมดุลทั้งงานและคน มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับภาคปฏิบัติ โดยประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เช่น โยนิโสมนสิการ จริต กุศลกรรมบถ ขันธ์ สาราณียธรรม อคติ กาลามสูตร การปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน แบ่งออกเป็น 3 โมดูล ดังนี้ โมดูลที่ 1 การพัฒนาตนเอง โมดูลที่ 2 การพัฒนาจิตและปัญญา โมดูลที่ 3 การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น
  ได้ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ถึง 27 พฤษภาคม 2566 มีผลการดำเนินการดังต่อไปนี้
1. ด้านปริมาณ มีผู้สมัครเข้าร่วมอบรมจำนวน 65 คน มีผู้ผ่านการคัดเลือกและผ่านการอบรมจำนวน 35 คน
2. ด้านงบประมาณ มีค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น 1,050,436 บาท ทั้งนี้ เป็นการใช้จ่ายมากกว่างบประมาณที่ได้รับอุดหนุน จำนวน 436 บาท เนื่องจากมีกิจกรรมปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานนอกพื้นที่มีความจำเป็นต้องจัดสถานที่พักที่เหมาะสม 3. ด้านการบรรลุวัตถุประสงค์ การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ทั้ง 3 ข้อ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1) ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 ในด้านผลผลิตมีการการจัดกิจกรรมจำนวน 5 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1 “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน” กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 3 "การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 4 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต” กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 5 “การพัฒนาการดำรงชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งความดีงาม” กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 11 “การบริหารจิตและเจริญปัญญา" รวมเวลา 124 ชั่วโมง เกิดผลลัพธ์ คือ ผู้เข้ารับการอบรมมีจิตใจมั่นคง พฤติกรรมที่สังเกตได้กับผู้เข้าอบรมคือ การเป็นคนคิดรอบคอบมากขึ้น ไม่ด่วนตัดสินใจ ควบคุมความโกรธของตนเองได้มากขึ้น เป็นคนมีอารมณ์ไม่อ่อนไหวหงุดหงิด 2) ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 ในด้านผลผลิตมีการการจัดกิจกรรมจำนวน 7 กิจกรรม ประกอบด้วย กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 3 "การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 6 “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : การโอบอุ้มความเปราะบาง” กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 7 “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 8 "พุทธปัญญาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 9 "เทคนิคการจัดการอารมณ์" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 10 "การแปรทุกข์เป็นความหวัง" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 11 “การบริหารจิตและเจริญปัญญา" รวมเวลา 150 ชั่วโมง เกิดผลลัพธ์ คือ ผู้เข้ารับการอบรมควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ มีพฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ เมื่อเจอสถานการณ์ก็มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ. 3) ผลการดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 ในด้านผลผลิตมีการการจัดกิจกรรมจำนวน 10 กิจกรรม ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2 “การสร้างคนให้เป็นผู้เสียสละ” กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 3 "การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 4 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต” กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 5 “การพัฒนาการดำรงชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งความดีงาม” กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 8 "พุทธปัญญาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 11 “การบริหารจิตและเจริญปัญญา" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 12 “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน” กิจกรรมการเรียนรู้ ในสัปดาห์ที่ 13 "สุนทรียปรัศนีย์" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 14 "การพัฒนาสัมพันธ์ภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น" กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 15 "การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ" รวมเวลา 221 ชั่วโมง และเกิดผลลัพธ์ คือ ผู้เข้าอบรมลดอัตตาได้โดยไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง (ปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างสมดุล) พฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ มีความเสียสละ มีน้ำใจ มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น   ปัญหาและอุปสรรค : ปัญหาและอุปสรรคอันเกิดจากปัจจัยภายนอกในระหว่างดำเนินโครงการ เช่น การเลือกตั้ง ที่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมตามแผนงานที่กำหนดไว้
  ข้อเสนอแนะ : ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาหลักสูตร 1) พัฒนาเนื้อหาในส่วนที่เป็นทฤษฎีเป็นคู่มือ/หนังสือ/ตำรา ที่สามารถใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ 2) สังเคราะห์ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม 3) พัฒนารูปแบบการวัดผลและประเมินผลที่สะท้อนพัฒนาการการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงของผู้รับการอบรม

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 0
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการผลิตบัณฑิตพันธ์ใหม่ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี มีการสื่อสารที่ดี รู้จักการบริโภคสิ่งต่างๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีสติในการควบคุมจิตใจตนเองในการแสดงพฤติกรรมต่อผู้อื่น ตื่นตัวในการเรียนรู้ และทำความเข้าใจสถานการณ์ทางสังคม สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน และเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับภาคปฏิบัติแบ่งเป็น 3 โมดูล คือ โมดูลที่ 1 การพัฒนาตนเอง โมดูลที่ 2 การพัฒนาจิตและปัญญา โมดูลที่ 3 การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เช่น โยนิโสมนสิการ จริต กุศลกรรมบถ ขันธ์ สาราณียธรรม อคติ กาลามสูตร และการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน ในการจัดกิจกรรมได้ดำเนินการทั้งสิ้น 15 สัปดาห์ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2566 มีผู้ผ่านการอบรมจำนวน 35 คน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เกิดผลลัพธ์กับผู้เข้าอบรม คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นคนมีจิตใจมั่นคง มีพฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ ผู้ผ่านการอบรมเป็นคนคิดรอบคอบมากขึ้น ไม่ด่วนตัดสินใจ ควบคุมความโกรธของตนเองได้ ไม่อ่อนไหว ไม่หงุดหงิดง่าย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เกิดผลลัพธ์กับผู้เข้าอบรม คือ การมีสิต ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น มีพฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ เมื่อเจอสถานการณ์ก็มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เกิดผลลัพธ์กับผู้เข้าอบรม คือ ผู้ผ่านการอบรมลดอัตตาได้โดยไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างสมดุล พฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ มีความเสียสละ มีน้ำใจ มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาหลักสูตร คือ 1) ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาเนื้อหาในส่วนที่เป็นทฤษฎีเป็นคู่มือ/หนังสือ/ตำรา ที่สามารถใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ 2) ควรสนับสนุนให้มีสังเคราะห์ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม 3) ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนารูปแบบการวัดผลและประเมินผลที่สะท้อนพัฒนาการการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงของผู้รับการอบรมอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh