แบบรายงานผลการดำเนินโครงการประจำงวด 1

ชื่อโครงการ การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา

รหัสโครงการ FN65/0118 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2022 ถึง 30 กันยายน 2023

รายงานงวดที่ : 1 จากเดือน ตุลาคม 2022 ถึงเดือน มิถุนายน 2023

ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินโครงการ (แสดงผลการดำเนินงานรายกิจกรรมที่แสดงผลผลิตและผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าศึกษา

วันที่ 1 พฤศจิกายน 2022 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-มีผู้ลงทะเบียนสมัครเข้าศึกษาผ่านระบบ Google Forms จำนวน 65 ท่าน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-การจัดทำระบบรับสมัครผู้เข้าศึกษา โดยใช้ Google Forms
-การจัดทำสื่อและประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าศึกษา -การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าศึกษาทั้งที่วิทยาลัยสงฆ์และผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ

  • photo

 

35 0

2. จัดประชุมจัดทำคู่มือ และจัดเตรียมของที่ระลึก

วันที่ 1 มกราคม 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

1.ร่างคู่มือประกอบการเรียนรู้ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ประชุมยกร่างคู่มือ 2.ประชุมวิพากย์คู่มือ

  • photo

 

23 0

3. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน

วันที่ 10 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนจัดกิจกรรมตลอดหลักสูตร

  • photo

 

13 0

4. ประชุมและเตรียมพร้อมจัดการศึกษา

วันที่ 13 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต 1.คู่มือประกอบการเรียนรู้ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา จำนวน 50 เล่ม 2.แผนการจัดอบรมจำนวน 16 สัปดาห์ 3.เสื้อที่ระลึก จำนวน 50 ตัว 4.กระเป๋าที่ระลึก จำนวน 50 ใบ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-ประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อจัดทำคู่มือและจัดเตรียมของที่ระลึก -ร่วมกันออกแบบของที่ระลึก และจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการอบรม

  • photo
  • photo
  • photo

 

23 0

5. ประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับภาระกิจการอบรมของวิทยากร

วันที่ 18 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

-แผนการจัดกิจกรรม และวิทยากรประจำกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

-การประชุมคณะทำงานและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภาระกิจการอบรมของวิทยากร การเชิญวิทยากรพิเศษในกิจกรรม -ประสานงานเชิญวิทยากร

  • photo

 

23 0

6. การจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน

วันที่ 20 มกราคม 2023 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

การจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

การจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน

 

23 0

7. การปฐมนิเทศ

วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต -ผู้อบรมได้รับความรู้เรื่อง “การดำรงชีวิตให้มีความสุขด้วยศาสนธรรม” ,  "ความคาดหวังของสังคมของประกาศนียบัตรหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่",
-ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร และวิธีการศึกษา การเตรียมตัว -ผู้เข้าอบรมมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเจริญจิตภาวนา ผลลัพธ์ -ผู้เข้าอบรมเกิดความสัมพันธ์แบบเครือข่าย -ผู้เข้าอบรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาตน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ร่วมงาน 2.พิธีเปิดปฐมนิเทศโครงการหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ “หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา” รุ่นที่ ๑
3. บรรยายพิเศษเรื่อง “การดำรงชีวิตให้มีความสุขด้วยศาสนธรรม”
3.บรรยายพิเศษ เรื่อง "ความคาดหวังของสังคมของประกาศนียบัตรหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่" 4.กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ “รู้เขารู้เรา”
5. กิจกรรมแนะนำหลักสูตร
6.กิจกรรม “แนะนำวิทยากร”
7.กิจกรรม สวดมนต์ เจริญจิตภาวนา

  • photo

 

50 0

8. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1 “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจในเรื่องจริต 6 ตามหลักพระพุทธศาสนา 2.ผู้เข้าอบรมได้เทคนิคในการเผชิญปัญหาและวิธีการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ

ผลลัพธ์ (Outcome) กิจกรรมการวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6 ตามหลักพระพุทธศาสนา ส่งผลให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การพิจารณาตนเองและผู้อื่นตรงกับจริต 6 และเกิดความเข้าใจในการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงได้จากการประเมินพฤติกรรม การอยู่ร่วมกันกับคนต่างจริต โดยผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และหากพิจารณาถึงความเข้าใจในเรื่องจริต 6 ก็พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเกินร้อยละ 80 สะท้อนว่าผู้เข้าอบรมมีการเปลี่ยนทั้งด้านความรู้และพฤติกรรม โดยมีทัศนะผู้เข้าอบรมต่อกิจกรรม ดังนี้ กรณีที่ 1 นางสภาวดี  ได้รู้จักตัวเองมากขึ้นว่าเป็นคนจริตไหน และได้เรียนรู้ว่าจริตมี 6 แบบ ".ไม่เคยรู้เลยว่าเราเป็นคนโทสะจริต พอมาเรียนรู้แล้วก็ทำให้เข้าใจลูกน้องมากขึ้น ดังนั้น เวลาที่อยู่ในที่ทำงานก็จะเอาจริตที่ได้เรียนรู้มามาปรับใช้ในที่ทำาน ทำให้เห็นว่าถ้าเรารู้จักที่เค้าเป็นจริงๆ ก็จะทำให้อยู่กันง่ายขึ้นและการสั่งงานก็มีประสิทธิภาพ"
กรณีที่ 2 นายฉลอง  จากที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนมีกี่จริจต เมื่อไ้ดมาเรียนในหลักสูตรนี้ ทำให้รู้จักคนมากขึ้น "ลดความคาดหวังจากน้อๆลงมาก เพราะที่ผ่านมาเราเอาตัวเอเป็นมาตรฐานมาวัดเคา้ตลอดเวลา ใจเย็นขึ้น เวลาสั่งงานก็ดูประมาณงาน และดูกำลังของน้องๆ และทำใจเผื่อเวลาผิดหวัง" กรณีที่ 3 นางสุรัสวดี ถึงจะเป็นโค้ชมาก่อน แต่สิ่งที่เรียนรู้มาในการรู้จักคนจะรู้จักคนอื่น สัตว์ 4 ทิศ เมื่อมาใช้เครื่องมือทางพุทธศาสนา ทำให้รู้ว่ามีการแบ่งคนที่ละเอียดไปกว่าสิ่งที่ตะวันตกบอกไว้ รู้สึกทึ่งมากๆ "สิ่งที่ได้ไปปรับใช้คือ การนำไปใช้กับครอบครัว ลูกและสามีเห็นว่า ผู้พูดมีการเปลี่ยนแปลง ดูเข้าอกเข้าใจคนในครอบครัวมากขึ้น นั่นก็เป็นเพราะเราเอาเรื่องจริตที่พระอาจารย์สอนไปใช้"

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. บรรยาย เรื่อง “โลกทัศน์กับบุคลิกภาพ : ชีวิตกับพฤติกรรม (จริต 6)”
  2. กิจกรรมปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6”
  3. กิจกรรมปฏฺิบัติการ “ค้นหาคุณค่า เริ่มตั้งเป้าหมายการพัฒนาบุคลิกภาพ” -แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม /สมาชิกในกลุ่มแชร์ประสบการ(เล่า/เลือก/หาวิธีรับมือ) -แต่ละกลุ่มแชร์ประสบการณ์การเผชิญปัญหาและวิธีรับมือ
  • photo

 

35 0

9. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2 “การสร้างคนให้เป็นผู้เสียสละ”

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้รูปแบบการเสียสละและต้นแบบบุคคลผู้เสียสละในการทำงานเพื่อส่วนรวม 2.ผู้เข้าอบรมได้แนวคิดในการทำงานด้านการเสียสละ 3.ผู้เข้าอบรมได้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการ คน เงิน วัสดุ แบบเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม 4.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้แบบอย่างการทำงานเพื่อส่วนรวม 5.ผู้เข้าอบรมได้แนวทางในการทำงานเพื่อส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อส่วนรวม

ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินพฤติกรรม  "กิจกรรมการศึกษาดูงานต้นแบบการเสียสละเพื่อส่วนรวม" พบว่าผู้เข้ารับการอบรมผ่านเกณฑ์ประเมินอยู่ในระดับดีมาก ผู้เข้าอบรมได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการลดความเห็นแก่ตัว มีจิตสาธารณะ และเสียสละเพื่อผู้อื่นให้ปรากฏชัด โดยภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ นายณพงศ์ และผู้เข้ารับการอบรมท่านอื่นๆ ได้จัดกิจกรรมนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในหลักสูตร ได้รวบรวมสิ่งของของตนนำไปบริจาคร่วมกับโครงการของวัดสวนแก้ว นอกจากนี้จากการสังเกตุพฤติกรรมพบว่าผู้เข้ารับการอบรมยังได้จัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นระยะตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการอบรม รวมทั้งในระหว่างการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมีการนำอาหาร เครื่องดื่มและของใช้อื่นๆ มาแบ่งปันกับเพื่อนผู้เข้ารับการอบรมท่านอื่นเสมอ
ในเวทีที่ทำการสะท้อนในกระบวนการกลุ่ม ผู้ข้ารับการอบรมเกิดเจตคติ และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังคำกล่าวที่ว่า .......................

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. บรรยาย เรื่อง “การสร้างคนให้เป็นผู้เสียสละ”
  2. กิจกรรมศึกษาดูงานต้นแบบการเสียสละเพื่อส่วนรวมของพระราชธรรมนิเทศ (หลวงพ่อพยอม กลฺยาโณ) ณ วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี
  • photo

 

35 0

10. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 3 "การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ"

วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2023 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ วัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องโยนิโสมนสิการกับการพัฒนาชีวิต
2.ผู้เข้าอบรมได้เทคนิคเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองในการเป็นผู้คิดอย่างรอบครอบ

ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องโยนิโสมนสิการกับการพัฒนาชีวิต พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมาก


โดยผู้เข้ารับการอบรมได้สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางความคิดจากเดิมที่มีพฤติกรรมการคิดและตัดสินใจรวดเร็ว ตามอัตโนมัติและตามฐานคติของตน มักจะเกิดความผิดพลาด เมื่อได้เข้ารับการอบรม ทำให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจว่าจะต้องมีความระมัดระวังยั้งคิดในการใช้ชีวิตให้มากขึ้น และได้นำไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน  สะท้อนให้เห็นจากบทสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้ นายณพงศ์ : ใช้ได้เยอะ เรื่องงานจะโฟกัสที่ลูกค้า ลูกน้องตีความคาดหวังของลูกค้าต่ำไป พอเข้ามาศึกษาเริ่มเข้าใจในวิถีชีวิตของน้องๆ ก็มาปรับวิธีการสอนใหม่ เราคิดเองว่าน้องๆ เค้ารู้ ก็มาปรับวิธีคิดใหม่ว่า ใช้แนวอริยสัจจ์ 4 ก่อนเรียนไม่สามารถแยกอะไรได้ ว่าไปตามสถานการณ์ ตอนมาเรียนแล้วใส่ตัวกรองเข้ามา ทำให้เรื่องราวช้าลง มีการใช้สติก่อนที่วาจาจะลั่น
นางสุรัชวดี : การคิดแบบแยกองค์ประกอบ ทำให้เราหยุดคิดก่อน คิดแบบใช้เหตุผลทำให้เราใจเย็นขึ้น ช้าลง การมีเพื่อนที่ดี กัลยาณมิตร คนที่เราคบมันส่งเสริมเรา มีพี่ ๆ เพื่อนๆ ที่ดี เรามีกัลยาณมิตร เป็นวิธีคิดแบบมีเหตุผล มีสติ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

  1. บรรยาย เรื่อง “โยนิโสมนสิการกับการพัฒนาชีวิต”
  2. กิจกรรมปฏิบัติการ “ออกแบบการพัฒนาบุคลิกภาพตามวิธีคิดโยนิโสมนสิการ”
  • photo

 

35 0

11. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 4 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต”

วันที่ 5 มีนาคม 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมเกิดทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการในการอยู่ร่วมกับคนในครอบครัว 2.ผู้เข้าอบรมได้สะท้อนวิธีคิดของตนเองเกี่ยวกับวิธีรับมือเมื่อเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ 3.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีคิดในการใช้โยนิโสมนสิการ -ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิคการวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเอง

ผลลัพธ์ (Outcome) จากกิจกรรมปฏิบัติ "ไตร่ตรองมองตน" และ "ตื่นรู้เบิกบานสานต่อสมดุลย์ชีวิต" ทำให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสขยายผลความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการให้แก่สมาชิกในครอบครัว เป็นการทบทวนความรู้และฝึกปฏิบัติการพัฒนาความคิดให้กับคนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีผลการประเมินพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมาก และจากการสะท้อนให้เห็นจากบทสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้ พี่หลอง : โอ้โห....สุดยอดมากเลย มองว่าทำให้เราหนักแน่นขึ้นมาก มีการทบทวนก่อนที่จะทำอะไรลงไป จากที่เราเป็นผู้ใหญ่อยู่แล้ว ก็เป็นมากขึ้น .....ลูกน้องชมว่า ก่อนที่จะพูดไม่สวนกลับ เป็นพูดช้าลง คิดมากขึ้น
พี่หนึ่ง : การคิดแบบแยกองค์ประกอบ ทำให้เราหยุดคิดก่อน คิดแบบใช้เหตุผลทำให้เราใจเย็นขึ้น ช้าลง การมีเพื่อนที่ดี กัลยาณมิตร คนที่เราคบมันส่งเสริมเรา มีพี่ ๆ เพื่อนๆ ที่ดี เรามีกัลยาณมิตร เป็นวิธีคิดแบบมีเหตุผล มีสติ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.กิจกรรมปฏิบัติการ “ไตร่ตรองมองตน : สิ่งดีๆ ที่เกิดกับฉันในเจ็ดวันที่ผ่านมา”
2.กิจกรรมปฏิบัติการ “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต : คิดอย่างไรให้ชีวิตเป็นสุข” -ฐานกายกรรม -ฐานวจีกรรม
-ฐานมโนกรรม

  • photo

 

35 0

12. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 5 “การพัฒนาการดำรงชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งความดีงาม”

วันที่ 12 มีนาคม 2023 เวลา 09:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวกุศลกรรมบถ 10
2.ผู้เข้าอบรมมีเทคนิคการวิเคราะห์พฤติกรรมตนเองทั้งด้านกาย วาจา ใจ ตามหลักกุศลกรรมบถ

ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องหลักการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวกุศลกรรมบถ 10 เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวกุศลกรรมบถ 10  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวกุศลกรรมบถ 10 มากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมาก โดยผู้เข้ารับการอบรมได้สะท้อนความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังนี้

นางขวัญใจ "เมื่อก่อนเมื่อลูกทำอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็จะบ่นๆๆๆ เมื่อมาเรียนรู้แล้ว นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาใข้คือ การสร้างกติกาในบ้าน โดยการพูดดีๆ และใช้เหตุผลกับลูก เป็นการลงโทษ แบบที่ให้ลูกเลือกวิธีการลงโทษตัวเอง เมื่อเราเปลี่ยนวิธีการพูดกับลูก เราก็เปลี่ยนทั้งความคิดและพฤติกรรม ลูกก็เปลี่ยนพฤติกรรมไป เราไม่เลือกใช้คำพูดที่รุนแรง ใช้คำพูดที่ดีกว่าเดิม บรรยากาศในครอบครัวก็ดีขึ้น มีการพูดคุยกันมากขึ้น" นางสาวธนาวัลย์ : "พยายามปรับคำพูดให้เหมาะสมกับพระนิสิต ในแต่ละระดับ มีการวาตัวในที่ทำงานเหมาะสมในสถานการณ์ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งเช่น ในวันปฐมนิเทศปฏิบัติศาสนกิจ ระบบอินเทอร์เน็ตขัดข้อง ก็สามารถพูโแก้สถานการณ์ให้เกิดความเข้าใจและนำไปสู่การแก้ปัญหาได้"

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.บรรยาย เรื่อง “กุศลกรรมบถ เส้นทางแห่งความดีงาม” ขอบคุณ / ชื่นชม /
2.กิจกรรมปฏิบัติการ “การออกแบบการพัฒนาชีวิตที่ดีงาม” 3. กิจกรรมปฏิบัติการ “การพัฒนาชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถ”

  • photo

 

35 0

13. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 6 “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : การโอบอุ้มความเปราะบาง”

วันที่ 19 มีนาคม 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การสะท้อนพฤติกรรมของตนเอง และความเปราะบางในชีวิตตนเอง 2.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติต่อความเปราะบางของตนเอง

ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกล้าสะท้อนสภาวะอารมณ์เปราะบางของตนเอง ในขณะเดียวกันก็เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น พร้อมที่จะรับฟังผู้อื่นแบบไม่ตัดสิน รู้สึกเห็นคุณค่าของตนเอง เกิดความเข้มแข็งทางจิตใจ วิเคราะห์หาทางออกจากสภาวะอารมณ์ที่เปราะบางได้ด้วยตนเองอย่างมั่นใจ สะท้อนให้เห็นได้จาก บทสัมภาษณ์ของคุณกมลพร ดังนี้ "ที่ผ่านมาไม่รู้จะคุยกับใคร ไม่รู้จะหันไปทางไหน พอได้เข้าร่วมกิจกรรม ในวันนั้นกระบวนการทำให้รู้สึกปลอดภัย ก็เกิดความกล้าจะเล่าเรื่องที่เปราะบางของเราให้ผู้อื่นฟัง เมื่อก่อนไม่กล้าพูดให้คนอื่นฟัง กลัวว่าเค้าจะเอาไปพูดที่ไหน แต่กระบวนการวันนั้นเป็นพื้นที่ปลอดภัยจริงๆ วันนั้นเมื่อพูดมาแล้วมันโล่ง เหมือนได้ปลดปล่อย เรารู้สึกเข้มแข็งขึ้น เริ่มที่จะอยู่กับตัวเองได้ ตอนนี้เริ่มปฏิบัติการแบบที่เรียนมา สวดมนต์ และฟังธรรม มากขึ้น จากที่เมื่อก่อนก็ฟังบ้าง แต่เดี๋ยวนี้ฟังทุกวัน ทำสมาธิก็มีบ้างแต่ก็ไม่ทุกวัน ตอนนี้ก็เริ่มกลับมาออกกำลังกายเหมือนเดิม ..จริงๆ มันอยู่ที่ใจคือทางออก อยู่ที่ใจจริงๆ ไม่ต้องไปหาทางออกแบบอื่น ที่เป็นรูปแบบอะไร ...ชุมชนนี้เป็นชุมชนแห่งกัลยาณมิตรจริงๆ มีการเกื้อกูลกัน ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย... รู้สึกเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น ได้กลับมาทำในสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เป็นเรา ใช่คำพูดของพระอาจารย์ที่ว่า "เดี๋ยวมันก็ผ่านไป"

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมบรรยายเชิงปฏิบัติการ : เทคนิคการ เรื่อง เทคนิคการจัดการอารมณ์: โอบอุ้มความเปราะบาง -กิจกรรม : สะท้อนคิดเพื่อการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกตนเองและรู้จักการรับฟังผู้อื่นอย่างเข้าใจ โดยไม่มีอคติ -เก้าอี้สะท้อนอารมณ์ -ไพ่แห่งความเข้าใจผู้อื่น -กระดุมแห่งความคาดหวัง

  • photo

 

35 0

14. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 7 “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)"

วันที่ 26 มีนาคม 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้มุมมอง แนวคิดของนักคิดระดับโลก เปิดโลกทัศน์ในการมองประเด็นความเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค เป็นฐานในการพัฒนาวิธีคิดและชีวิตของตนเอง

ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ mindset เป็นฐานในการพัฒนาวิธีคิดและชีวิตของตนเอง ได้สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ดังนี้

นายณพงศ์ : เป็นวิธีคิดที่สามารถนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเวลาคุยกับลูกน้องปกติจะมีความขัดแย้ง ฟังแล้วค่อยๆ มาปรับจูนบางเรื่อง ไม่ต้องเอาชนะคะคานกันแต่ก็สามารถอยู่ด้วยกันได้ แต่เดิมมีความรู้อยู่บ้าง แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เมื่อได้ฟังเทคนิควิธีการ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเอามาใช้ในเรื่องงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เป็นฝ่ายขาย ที่ผ่านมาสถานการณ์อารมณ์ จะประมาณเถียงกันมากกว่า จากการให้ประเมินตนเอง คิดว่าเปลี่ยนไป 7 จาก 10 นายฉลอง : ได้เรียนรู้มามาก ก็เป็นการเติมเต็ม ช่วยให้เน้นย้ำเรื่องมุมมอง แนวคิด ให้ชัดเจนมากขึ้น
นางสาวจิณณรัตน์ : กลับมาย้อนคิดว่าถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยนมุมมองของตนเอง ว่าเราทำได้ๆ จากที่เราทำไม่ได้ๆๆ ถ้าเราไม่ปรับมันก็จะวนอยู่อย่างนี้ เราก็ต้องคิดบวก ก่อนมาเรียนก็แค่ได้ยิน แต่พอท่านมาแนะนำเทคนิควิธีการใช้ทำให้สามารถนำไปใช้ได้ การที่เป็นคนที่เสียสละทำเพื่อคนส่วนมาก
นางสุรัชวดี : ตอกย้ำมากขึ้นว่า Growth Mindset มันใหม่เสมอ สิ่งที่อาจารย์นำเสนอเป็นการย้ำเตือนว่า “คิดดีอย่างไรมันก็ดี”

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

บรรยาย เรื่อง "การสร้าง mindset สู่การเป็นผู้ชนะ 10 คิด (Great mindset)"

  • photo

 

35 0

15. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 8 "พุทธปัญญาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม"

วันที่ 2 เมษายน 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output) 1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการกรองอคติ ก่อนตัดสินใจเรื่องต่างๆ 2. ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงคุณโทษของการตัดสินใจบนฐานของอคติ

ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องอคติ เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องอคติ พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินประเมินทักษะการคิดแบบรอบด้านและการวิเคราะห์เหตุผลเชิงบวก  อยู่ในระดับดีมาก

จากการประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้เรื่องอคติ ได้สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ดังนี้
นางจงกลณี : ก็ได้วิธีการกรองอคติ แบบที่ง่ายมากๆ เพียงแต่เราไม่เอาอารมณ์มาใส่ในความคิด ก่อนที่จะออกมาเป็นคำพูด ถ้าเราทำได้แบบนี้ก็ไม่เกิดปัญหา และ Theory U ที่พระอาจารย์ได้สอน ก็ทำให้เราช้าลงในความคิดของเราเอง ปัญหามันก็ไม่เกิด
นายเอก : ปกติผลเป็นคนในร้อน พอได้เรียนรู้แบบนี้ผมก็ผ่อนตนเองลง นางสุรัชวดี : เมื่อก่อนเป็นคนตัดสินใจอะไรเร็ว แต่มาได้เครื่องมือนี้ของพระอาจารย์ ทำให้การตัดสินใจช้าลง และก็ใจเย็นลงมากๆ ปรับใช้ได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

บรรยาย เรื่อง "พุทธปัญญาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม" กิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อ "การจัดการความคิดด้วย Theory U" กิจกรรม "วิเคราะห์ Case study ชาวนากับพังพอน"

  • photo

 

35 0

16. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 9 "เทคนิคการจัดการอารมณ์"

วันที่ 9 เมษายน 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมรู้ เข้าใจเกี่ยวกับขันธ์ 5 2.ผู้เข้าอบรมได้เทคนิคการจัดการอารมณ์ ตามหลักขันธ์ 5

ผลลัพธ์ (Outcome) จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องขันธ์ 5  พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินประเมินพฤติกรรมด้านเทคนิคการจัดการอารมณ์ ตามหลักขันธ์ 5 อยู่ในระดับดีมาก สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ดังนี้ นายณพงศ์ : สลดมาก ทำให้เห็นคุณค่าของชีวิต ทำให้เกิดการตระหนักรู้ถึงวัฎสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด ทำให้รู้จักที่อยู่กับปัจจุบัน ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน อย่าอะไรมากไปกับชีวิต ใช้ชีวิตง่ายๆ เพื่อเข้าใจตนเองมากขึ้น
นางสาวสุกัญญา : สิ่งที่คิดอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นก็ได้ ประสบการณ์แต่ละคนแตกต่างกัน ทำให้การสะท้อนแตกต่าง การรับมือกับความต่างก็ได้เรียนรู้ผ่านเพื่อนที่เข้าร่วมกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.กิจกรรมบรรยาย เรื่อง "ขันธ์ 5 : การจัดการอารมณ์เพื่อสร้างสมดุลของชีวิต" 2.กิจกรรมปฏิบัติการ "ถอดบทเรียนชีวิต ตามแนวคิดขันธ์ 5"

  • photo

 

35 0

17. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 10 "การแปรทุกข์เป็นความหวัง"

วันที่ 16 เมษายน 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output) 1.ผู้เข้าอบรมเกิดทักษะในการสะท้อนความคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นคนสมดุล

ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้เข้ารับการอบรมได้ประเมินพฤติกรรมที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ เปรียบเทียบก่อนอบรม กับหลังเข้ารับการอบรม ได้เห็นพัฒนาการของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงความคิดและการจัดการอารมณ์ตนเองอย่างชัดเจน มีกำลังใจในการพัฒนาทักษะการสะท้อนความคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นคนสมดุลทั้ง 10 ด้าน สอดคล้องกับผลการประเมินพฤติกรรม ที่อยู่ในระดับดีมาก โดยมีตัวอย่างการสะท้อนพัฒนาการ ของผู้เข้ารับการอบรม ดังนี้

นางวัชพร : ทำให้เรารู้ว่าตัวเราก็สร้างความเปราะบางให้กับคนใกล้ชิดเรามาก กับคนข้างนอกเราดีหมด กับคนในบ้านเราก็มักจะไม่แคร์ ความเกรงใจของเราก็น้อย รู้จักความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงของตนเองมากขึ้น และจะพูดอะไร หรือทำอะไร เราจะคิดก่อน ว่ามันจะส่งผลกระทบกับคนอื่นอย่างไร เหมือนตะปูที่ตอกไปแล้วมันก็เป็นรูเป็นรอย เอาไปปรับใช้ กับชีวิตจริง ผลที่เกิดขึ้น ก็ดีขึ้น เรานิ่งขึ้น พอเค้าจะแรงเค้าก็เบาลง นางดารณี : สิ่งที่เอาไปใช้ คือ รับฟัง ไม่ตัดสิน ไม่แนะนำ เสนอทางเลือก ทำให้เราได้มองตัวเอง เวลาเกิดปัญหาเราใช้วิธีการทำอย่างไร ระวังมากขึ้นไม่ดิ่งกับความคิดของตัวเอง มีสติในการหยุดคิดก่อน ทำที่ตัวเองก่อน....เราเปลี่ยน เช่น เราพูดสวนกลับ พอเรานิ่ง คนรอบข้างเปลี่ยน ความสัมพันธ์มันดีขึ้นมาก

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมปฏิบัติการ "การเปลี่ยนตัวตนเพื่อเป็นคนสมดุล" วิเคราะห์และประเมินพฤติกรรมที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ 10 ด้าน ได้แก่ -ชอบด่วนตัดสินใจ -โกรธง่าย -หงุดหงิดง่าย -ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ -ไม่ฟังผู้อื่น -เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง -พูดก่อนคิด -โทษผู้อื่น -สติไม่อยู่ในร่องรอย -คิดแค้นวางไม่ลง จากนั้นหาวิธี/เทคนิคการแก้ไขพฤติกรรมให้เป็นทางบวก

  • photo

 

35 0

18. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 11 “การบริหารจิตและเจริญปัญญา"

วันที่ 22 เมษายน 2023 เวลา 07:00 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1. ผู้เข้าอบรมได้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน 4
2. ได้ทักษะการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เน้นในอริยาบถนั่ง การเดินจงกรม

ผลลัพธ์ (Outcome) จากการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของผู้เข้าอบรม พบว่าผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก และประมวลความคิดเห็นการปฏิบัติปัสสนากรรมฐาน โดยการสนทนากลุ่ม พบว่า ผู้เข้าอบรม นางสุภาวดี : กรรมฐาน คำที่ประทับใจคือ “เปลี่ยนวิธีคิด” ได้เรื่อง “จิต” ทำให้เราอ่านจิตตัวเองมากขึ้น และสามารถมีสติรู้ตัวตลอดเวลา และมีสมาธิด้วย เพราะอาจารย์บอกว่าทำได้ทุกที่ทุกเวลา ก็เลยลองมาทำตอนขับรถ ทำให้เรารู้จิตของตัวเราได้ดีขึ้น
นายชันนรินทร์ : ปกติไม่เคยเดินจงกรม หรือนั่งกรรมฐาน รู้สึกว่าอิ่ม จะได้ปีติทุกครั้งรู้สึกสดชื่น ไม่น่าเชื่อว่านั่งเฉยๆ ก็รู้สึกดีได้ ตอนนี้เริ่มมาทำให้ชีวิตประจำวัน จาก 20 นาที ตอนนี้กำลังจะเพิ่มเวลามากขึ้น ...การเดินจงกรม เอามาใช้ในการผ่อนคลายความเครียด ถ้ามีความรู้สึกเครียด ก็จะเดินจงกรม
นายฉลอง : เดินจงกรม ที่ทำงานที่มีห้องเล็กๆ ที่ปิดไว้เฉยๆ ก็เข้าไปเดิน แค่เข้าไปเดินกำหนดรู้ว่ากำลังคิดอะไร ...ไม่เคยรู้จักเดินจงกรม และปฏิบัติสมาธิมาก่อน...ก็มักจะสอดแทรกไปกับลูกน้อง ไม่พูดตรงๆ เอาเทคนิคทักษะที่ได้มาไปสอนต่อ ... 3-4 อาทิตย์ที่ผ่านมา เอามาขยายผลค่อนข้างมากแต่ยังไม่เป็นทางการ “ให้อยู่กับปัจจุบัน” นางเกษร : ปกติไม่เคยเดินจงกรม หรือนั่งกรรมฐาน ปกติก็แค่ทำบุญตักบาตร แต่ที่พระอาจารย์วิปัสสนาท่านพูดบรรยาย เราเป็นคนธรรมดา แต่ก็ต้องค่อยๆ ปรับ ให้มันสมดุลย์กับชีวิต สวดมนต์มากขึ้น จากเดิมไม่เคยทำเลย ก็ทำได้หลายวันในอาทิตย์ นางสาวกชกร : ได้ประสบการณ์ใหม่ ไม่เคยปฏิบัติที่ไหนมาก่อน เมื่อปฏิบัติแล้วรู้สึกว่า มีสมาธิได้เร็วขึ้น มีคามอดทนมากขึ้น

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมปฏฺบัติการ ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นเวลา 3 วัน - กิจกรรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน - กิจกรรมฟังธรรมะบรรยาย / สนทนาธรรม

  • photo

 

35 0

19. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 12 “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน”

วันที่ 30 เมษายน 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output) 1. ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจหลักธรรรมเกี่ยวกับความขัดแย้ง ได้แก่ หลักเมตตาธรรม ศีล 5 สาราณียธรรม
2. ผู้เข้าอบรมได้เทคนิคการใช้เครื่องมือในการจัดการความขัดแย้ง

ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้เข้ารับการอบรมเห็นคุณค่า และสามารถประยุกต์หลักเมตตาธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงานและที่บ้านของตนเอง โดยกิจกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่องหลังจากอบรม คือการแผ่เมตตา และการควบคุมอารมณ์ตนเองต่อสถานการณ์ที่เข้ามากระทบในที่ทำงานหรือที่บ้าน
นางสาวธนาวัลย์ : เมื่อก่อนทำงานผิดพลาดบ่อยก็โดนดุบ่อย ก็มีปัญหากับคนที่ทำาน แต่พอมาอบรมในโครงการนี้ ทำให้มีสติในการทำงานมากขึ้น เพราะงานที่ทำเป็นงานที่มีความละเอียด เมื่อมี "สติ" ในการทำงานมากขึ้น งานก็ผิดพลาดน้อยลง ทำให้โนดุน้อยลง และมีเรื่องของการจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งในใจตนเอง ก็เป็นประโยชน์มากๆ ที่ได้มาเรียนรู้
นางกมลพร : ใช้หลักสติ  และการอยู่กับปัจจุบัน ทำให้สามารถประคองตนเองจากสถานการณ์ที่เปราะบางของตนเองได้ เป็นความขัดแย้งในใจของเราเอง ที่ไม่มีใครจะมาแก้ปัญหาได้ เมื่อมาโครงการนี้ทำให้ได้เครื่องมือในการจัดการกับความขัดแย้งโดยเฉพาะความขัดแย้งในใจ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.บรรยาย เรื่อง “การนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้ง" 2.กิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อง "การสร้างสัมพันธภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น"

  • photo

 

35 0

20. การประชุมคณะทำงานเพื่อประเมินกิจกรรม

วันที่ 6 พฤษภาคม 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เครื่องมือเพื่อประเมินกิจกรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันการออกแบบเครื่องมือประเมินกิจกรรม

  • photo

 

13 0

21. กิจกรรมการเรียนรู้ ในสัปดาห์ที่ 13 "สุนทรียปรัศนีย์"

วันที่ 7 พฤษภาคม 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output) 1.ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจหลักการ"สุนทรียปรัศนีย์" 2.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิค "การขอโทษ การให้อภัย" ได้เรียนรู้กระบวนการในการตั้งคำถาม กับการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)

ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจเรื่อง"สุนทรียปรัศนีย์"เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่อง"สุนทรียปรัศนีย์" พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินประเมินพฤติกรรมด้านเทคนิค "การขอโทษ การให้อภัย" อยู่ในระดับดีมาก สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ดังนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้กระบวนการในการตั้งคำถาม เพื่อถอดปมในใจ กับการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) คือการใช้วิธีการฟังด้วยการสบตาขณะที่ฟัง มีเสียงตอบรับให้รับรู้ถึงสิ่งที่คู่สนทนาพยายามสื่อสาร มีการใช้กระบวนการทวนคำถาม ตั้งคำถาม ในระหว่างการสนทนา
นางสาวศิริขวัญ : จากการที่อาจารย์ได้ให้ประเด็นคำถามมา แล้วให้ช่วยกันวิเคราะห์ และแสดงบทบาทสมมติ ทำให้เห็นภาพของความขัดแย้งว่าเกิดจากอะไร และจะมีวิธีในการตั้งรับในเรื่องนั้นๆ อย่างไร

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.บรรยาย เรื่อง "สุนทรียปรัศนีย์" 2.กิจกรรมปฏิบัติการ "การขอโทษ การให้อภัย"

  • photo

 

35 0

22. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 14 "การพัฒนาสัมพันธ์ภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น"

วันที่ 13 พฤษภาคม 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output) 1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับ การสร้างสัมพันธภาพตามหลักสาราณียธรรมและกฏแห่งความสัมพันธ์  4 ข้อ ประกอบด้วย
1) พฤติกรรมที่ต่ำกว่าความคาดหวัง ความไว้วางใจจะไม่เกิด 2) พฤติกรรมที่ตรงกว่าความคาดหวัง ความไว้วางใจพอรับได้
3) พฤติกรรมที่เกินความคาดหวัง ความไว้วางใจจะยั่งยืน
4) พฤติกรรมที่เกินความคาดหวังและความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนจะเกิดความจงรักภักดี

ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้เข้าอบรมได้เข้ากระบวนการฝึกการใช้กฏความสัมพันธ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของตนเองที่มีต่อผู้อื่น ในการอยู่ร่วมกันจำเป็นจะต้องมีการแสดงบทบาทให้เกิดความไว้วางใจต่อคนรอบข้าง และต้องประเมินความคาดหวังของผู้อื่นที่มีต่อพฤติกรรมของตนเองเพื่อไม่ให้เกิดความไม่ไว้วางใจต่อกัน จากการสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ในการนำกฏแห่งความสัมพันธ์ไปใช้กับคนในครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจ เห็นคุณค่า และตระหนักถึงการพัฒนาตัวเองในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบนพื้นฐานกฏแห่งความสัมพันธ์ 4 ประการ

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.บรรยายเรื่อง “สัมพันธภาพของมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา : กฎแห่งความสัมพันธ์ (Action = Reaction)" 2.กิจกรรมปฏิบัติการ "เทคนิคการพัฒนาสัมพันธภาพ"

  • photo

 

35 0

23. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 15 "การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ"

วันที่ 21 พฤษภาคม 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลผลิต (Output)
1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจในเทคนิคการรู้เท่าทันสื่อ และการเลือกบริโภคสื่อได้อย่างเหมาะสม 2. ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการประยุกต์ใช้หลักกาลามสูตรเพื่อการรับสื่ออย่างรู้เท่าทัน

ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคสื่อที่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต มีความตั้งใจในการใช้วิจารณญาณเพื่อการเรียนรู้ และรับรู้สื่อต่างๆ บนฐานของเทคนิคและหลักธรรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

1.บรรยาย เรื่อง “เทคนิคการรู้เท่าทันสื่อด้วยพุทธปัญญา” 2.บรรยาย เรื่อง “ มิจฉาชีพดิจิทัล” 3.กิจกรรมปฏิบัติการ "การวิเคราะห์สื่อ" 4.กิจกรรมปฏิบัติการ "เทคนิคการรับมือมิจฉาชีพดิจิทัล"

  • photo

 

35 0

24. กิจกรรมปัจฉิมนิเทศปิดการศึกษาในหลักสูตร

วันที่ 27 พฤษภาคม 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม และได้แสดงความรู้สึกถึงคุณค่าที่เกิดในระหว่างการอบรมที่มีต่อกัน ได้แสดงตนในการขออโหสิกรรมในสิ่งที่ได้ล่วงเกินกันในระหว่างการอบรม

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

กิจกรรมถอดบทเรียน ตื่นรู้ตื่นคิดพัฒนาชีวิตสู่สมดุล กิจกรรมช่วงเวลาแห่งความทรงจำ กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ-สัมพันธ์มนุษย์พุทธปัญญา กิจกรรมบรรยาย "แนวทางการพัฒนาตนบนฐานพุทธธรรม" โดย ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา

  • photo

 

55 0

25. การประชุมสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ

วันที่ 5 มิถุนายน 2023 เวลา 08:30 น.

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่ตั้งไว้

 

ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจริง

ผลการดำเนินโครงการทั้งหมด ได้นำเข้าสู่ระบบเพื่อรายงานปิดโครงการต่อไป

กิจกรรมที่กำหนดไว้ในแผน

 

กิจกรรมที่ทำจริง

ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันสรุปผลการดำเนินโครงการ

  • photo

 

13 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น

ส่วนที่ 2 ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการและปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินโครงการ

ประเมินความก้าวหน้าของการดำเนินงานโครงการ

การดำเนินงานเมื่อเทียบกับการดำเนินงานทั้งโครงการทั้งหมดทำแล้ว10%20%30%40%50%60%70%80%90%100%
การทำกิจกรรม 63 25                  
การใช้จ่ายงบประมาณ 1,050,000.00 1,050,436.00                  
คุณภาพกิจกรรม 100                    

ปัญหา/อุปสรรคในการดำเนินงานโครงการ (สรุปเป็นข้อ ๆ)

ประเด็นปัญหา/อุปสรรคสาเหตุเพราะแนวทางการแก้ไขของผู้รับทุน

-

-

-

แผนงาน/กิจกรรม ที่จะดำเนินการในงวดต่อไป

(................................)

ผู้รับผิดชอบโครงการ