หลักสูตรประกาศนียบัตรการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้เกมเป็น ฐานสำหรับครูปฐมวัย (หลักสูตร Non-Degree)
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย |
---|
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | 45 | |
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
บทคัดย่อ*
ภาษาจีนถือว่าเป็นภาษาที่ได้รับความนิยมสูงในสังคมไทยการเรียนการสอนภาษาจีนในประเทศไทยถูกสอดแทรกในหลักสูตรการศึกษาตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา อย่างไรก็ดีวิธีสอน ของครูผู้สอน ภาษาจีน ส่วนใหญ่ยังคงเป็นแบบเน้นให้ผู้เรียนท่องจำ ดังนั้นวิธีสอนที่สร้างความเชื่อมโยงคำศัพท์และการนำ ไปใช้เพื่อ การสื่อสารเพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ภาษาอย่างมีความหมาย การจัดการเรียนการสอนด้วยการนำเกม มาใช้ในการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาจีน (ไพศาล สุขใจรุ่งวัฒนา, 2563) เพื่อเป็นการสร้างบรรยากาศใน การเรียนการสอนให้มีความน่าสนใจ และมีความสุขในการเรียนสามารถทำได้ทั้งการจัดการเรียนรู้ ในห้องเรียน และการเรียนแบบออนไลน์ ซึ่งเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้โดยมีผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (ณัฏฐา ผิวมา, 2564) ช่วยกระตุ้นจินตนาการและความคิดสร้างสรรค์ ตลอดจนให้รู้สึกผ่อนคลายและพึงพอใจ ในการเล่น (ลดาวัลย์ แย้มครวญ และ ศุภกฤษฏิ์ นิวัฒนากูล, 2560; Bostan, B., 2009)
การเรียนรู้ผ่านเกมเป็นวิธีหนึ่งในการเรียนรู้ที่มีจุดเด่น คือ การสร้างความสนุกสนานรวมเข้ากับ การเรียนรู้ ให้ผู้เรียนอยู่ในสถานะที่ผ่อนคลายต่างกับการเรียนปกติที่สร้างความเครียดให้กับสมอง ส่งผล ต่อการปิดกั้นทางการรับรู้ และมีผลต่อจิตใจที่สำคัญ คือ ลดความเครียด ส่งเสริมปฏิกิริยา โต้ตอบ ส่งเสริมการเรียนรู้และความจำ สร้างเสริมแรงจูงใจ ป้องกันภาวะผิดปกติทางใจ (ฐปนนท์ สุวรรณกนิษฐ์, 2560)
หลักสูตรประกาศนียบัตรการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้เกมเป็นฐานสำหรับครูปฐมวัย รุ่นที่ 1 คณะการจัดการการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์เป็นหลักสูตรที่ได้รับงบประมาณโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ จากสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในปี 2566` โดยกำหนดผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวัง (Program Learning Outcomes: PLO) ดังนี้ 1) สามารถสื่อสารภาษาจีนผ่านทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน ในระดับพื้นฐานได้ 2) สามารถเลือกใช้สื่อที่สอดคล้องกับบริบทการจัดประสบการณ์เรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยได้ และ 3) สามารถออกแบบการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้เกมเป็นฐานได้ และเพื่อให้การบริหารจัดการหลักสูตรมีประสิทธิภาพ คณะผู้วิจัยจึงเห็นควรมีการประเมินหลักสูตรประกาศนียบัตร การออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ภาษาจีนโดยใช้ เกมเป็นฐานสำหรับครูปฐมวัย เพื่อพัฒนากิจกรรมการเรียนการสอนและพัฒนาหลักสูตรให้มีคุณภาพ และใช้เป็นแนวทางในการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพ อันจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้เรียนต่อไป
หมายเหตุ *