หลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแล (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2564) (Certificate Program for Nurses’ aides / Caregivers) (หลักสูตร Non-Degree)
- มอบประกาศนียบัตรให้แก่ผู้สำเร็จการอบรม และกล่าวให้โอวาท
- กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้สำเร็จการอบรม โดย หน่วยงานเครือข่าย ผู้สนับสนุน
- กล่าวแนะแนวทางการนำความรู้ไปประกอบอาชีพ
- กล่าวแสดงความรู้สึกต่อโครงการโดยผู้เข้าอบรม
- ปิดโครงการ
การติดตามผู้สำเร็จการอบรม ระยะเวลา 2 เดือนหลังจบการอบรม
1. งานที่ทำในปัจจุบันเกี่ยวข้องกับงานเป็นพนักงานให้การดูแล จำนวน 5 คน ได้แก่ ดูแลผู้สูงอายุ, ดูแลผู้ป่วย, ดูแลผู้พิการ เป็นต้น
2. งานที่ทำในปัจจุบันไม่เกี่ยวข้องกับงานพนักงานให้การดูแล จำนวน 8 คน ได้แก่ อาชีพอิสระ บริษัทเอกชน และว่างงาน
3. ไม่ตอบแบบสอบถาม จำนวน 4 คน
- อนุมัติการสำเร็จการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลรุ่นที่ 4
- สรุปผลการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลรุ่นที่ 4
- กำหนดวันปัจฉิมนิเทศ และมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้สำเร็จการอบรม
- วางแผนการจัดการเรียนการสอนสำหรับรุ่นต่อไป
- สถานะการทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแล
- อนุมัติการสำเร็จการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลรุ่นที่ 4 จำนวน 18 คน
- รายงานสรุปผลการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแลรุ่นที่ 4
- วันปัจฉิมนิเทศ และมอบประกาศนียบัตรให้กับผู้สำเร็จการอบรม วันอังคารที่ 23 เมษายน 2567
- แผนการจัดการเรียนการสอนสำหรับรุ่นต่อไป เริ่มอบรม เดือนมิถุนายน 2567
- การทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแล กับ โรงพยาบาลทหารผ่านศึก
1 ฝึกปฏิบัติการดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน 120 ชั่วโมง 2 ฝึกปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง 1 120 ชั่วโมง 3 ฝึกปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง 2 120 ชั่วโมง
- ค่าเฉลี่ยผลคะแนนรายวิชา (หน่วยนับ ร้อยละ)
- ฝึกปฏิบัติการดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน ค่าคะแนนเฉลี่ย 82.13 - ฝึกปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง 1 ค่าคะแนนเฉลี่ย 86.48 - ฝึกปฏิบัติการดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง 2 ค่าคะแนนเฉลี่ย 79.43
- การประเมินการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรภาคปฏิบัติ โดยผู้เรียน 1) ด้านการประเมินตนเอง ค่าเฉลี่ย 3.95 แปลผล มาก 2) ด้านการจัดการเรียนการสอน ค่าเฉลี่ย 4.66 แปลผล มากที่สุด 3) ด้านการแหล่งฝึกปฏิบัติ ค่าเฉลี่ย 4.31 แปลผล มากที่สุด
ภาคทฤษฎี 1 กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น 15 ชั่วโมง 2 การช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน 45 ชั่วโมง 3 การดูแลด้านการจัดอาหาร 15 ชั่วโมง 4 การบำรุงรักษาและทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาพยาบาล 15 ชั่วโมง 5 จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน 15 ชั่วโมง 6 การดูแลด้านจิตสังคม 15 ชั่วโมง 7 การดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง 30 ชั่วโมง 8 การบันทึกและการรายงาน 15 ชั่วโมง
- ค่าเฉลี่ยผลคะแนนรายวิชา (หน่วยนับ ร้อยละ)
- กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยาเบื้องต้น ร้อยละ 85.19 - การช่วยเหลือดูแลบุคคลขั้นพื้นฐาน ร้อยละ 74.66 - การดูแลด้านการจัดอาหาร ร้อยละ 75.41 - การบำรุงรักษาและทำความสะอาดเครื่องมือเครื่องใช้ และอุปกรณ์การรักษาพยาบาล ร้อยละ 74.00 - จริยธรรมและกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการปฏิบัติงาน ร้อยละ 62.92 - การดูแลด้านจิตสังคม ร้อยละ 73.44 - การดูแลผู้สูงอายุและผู้มีภาวะพึ่งพิง ร้อยละ 75.69 - การบันทึกและการรายงาน ร้อยละ 74.69
- การประเมินการจัดการเรียนการสอนของหลักสูตรภาคทฤษฎี โดยผู้เรียน
1) ด้านการประเมินตนเอง ค่าเฉลี่ย 4.40 แปลผล มากที่สุด
2) ด้านการประเมินวิทยากร/ผู้สอน ค่าเฉลี่ย 4.61 แปลผล มากที่สุด
3) ด้านสื่อการเรียนการสอน/แหล่งสนับสนุนการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 4.32 แปลผล มากที่สุด
4) ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ ค่าเฉลี่ย 4.33 แปลผล มากที่สุด
5) ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะอื่นๆ
เอกสารคู่มือเนื้อหาไม่ต่อเนื่อง
และระยะเวลาในการเรียนการสอนรายวิชาทฤษฎีแน่นเกินไป
- กล่าวต้อนรับและเปิดโครงการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแล รุ่นที่ 4
- ชี้แจงหลักสูตรและแนะนำทีมผู้สอน
- ชี้แจงเงื่อนไขการเข้ารับการอบรม
- ชี้แจงข้อมูลการเตรียมตัวในการขึ้นฝึกปฏิบัติงาน
- “รู้จักสถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา” และ “เขา” เป็นใคร?
- แนะนำวิธีการเรียนการสอนผ่านระบบออนไลน์
- กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์
จำนวนผู้เข้ารับการปฐมนิเทศ ร้อยละ 90
การดำเนินการ
1. สอบสัมภาษณ์บุคลิกภาพและภาวะจิตใจคัดเลือกเข้ารับการอบรมหลักสูตรประกาศนียบัตรพนักงานให้การดูแล (Nurses’ aides/Caregivers) รุ่นที่ 4 วันพฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2566 เวลา 09.00-16.00 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้ Room 1 ชั้น 2 อาคาร 604 สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา หรือผ่านระบบออนไลน์
สถาบันประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าอบรมทาง www.cdti.ac.th/Facebook Page วันที่ 26 ตุลาคม 2566
รายงานตัวเข้าอบรมที่สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา ประชาสัมพันธ์ ชั้น 1 อาคาร 604 สถาบันเทคโนโลยีจิตรลดา วันที่ 27 หรือ วันที่ 30 ตุลาคม 2566
จำนวนผู้เข้าอบรมทั้งสิ้น 18 คน
- ประชาสัมพันธ์ไปยังกลุ่มเป้าหมาย ดังนี้
- ชุมชนเครือข่าย ได้แก่ องค์การบริหารส่วนตำบลพลงตาเอี่ยม องค์การบริหารส่วนตำบลหนองพันทา โรงพยาบาลวังจันทร์ องค์การบริหารส่วนตำบลทองเอน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพชุมชนตำบลทองเอน ตำบลกุดจอก จังหวัดชัยนาท
- หน่วยงานบริเวณพื้นที่ ศูนย์บริการสาธารณสุข 3 บางซื่อ ศูนย์บริการสาธารณสุข 6 สโมสรวัฒนธรรมหญิง ศูนย์บริการสาธารณสุข 38 ศูนย์ข้าราชบริพารผู้สูงอายุ
- บุคคลทั่วไป ผ่าน Facebook งานนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ
จำนวนผู้สมัครเข้ารับการคัดเลือก ดังนี้ 1. ชุมชนเครือข่าย จำนวน 0 คน 2. หน่วยงานบริเวณพื้นที่ ศูนย์ข้าราชบริพารผู้สูงอายุ จำนวน 2 คน 3. บุคคลทั่วไป จำนวน 28 คน