directions_run

หลักสูตรฝึกอบรมและปฏิบัติการเร่งรัดด้านวิทยาการข้อมูลและการประยุกต์ (Data Science and Applications)

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ กำหนดจัดโครงการโครงการหลักสูตรฝึกอบรมและปฏิบัติการเร่งรัดด้านวิทยาการข้อมูลและการประยุกต์ (Data Science and Application) เพื่อเพื่อพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพสูงทั้งเชิงวิชาการและวิชาชีพ ที่ทันต่อความต้องการของการทำงานใน อุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve ด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งเน้นทางด้านการเพิ่มพูนทักษะในด้านวิทยาการข้อมูล และการประยุกต์ (Data Science and Applications)

โดยมีรูปแบบการดำเนินงานดังนี้

  1. ฝึกสอนเทคนิคทางวิทยาการข้อมูลและการประยุกต์ ผ่านระบบออนไลน์ และออนไซต์
  2. การฝึกปฏิบัติ โดยผู้เข้าอบรม ทำการยื่นข้อเสนอหัวข้อโครงงาน โดยจักถูกกำหนด อ. ที่ปรึกษาจากทางหลักสูตร ซึ่งจะทำการแบ่งผู้เข้าอบรมออกเป็น 10 กลุ่ม โดยมี อ. ที่ปรึกษาให้คำแนะนำ ผู้เข้าร่วมอบรมทำการเสนอหัวข้อโครงงาน และปฏิบัติงาน ในสถานประกอบการ / หน่วยงานของตนเอง เป็นระยะเวลา 16 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ ในช่วงสัปดาห์ที่ 1 – 10 และ 40 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ ในช่วงสัปดาห์ที่ 11 – 12

กิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ วันที่ 18 มิถุนายน – 10 กันยายน 2565 ณ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์ อาคารวิทยวิภาส มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการทั้งสิ้น จำนวน 35 คน และ กลุ่มผู้เข้าร่วมแบบสังเกตุการณ์ (Audit) มีผู้สนใจทั้งสิ้น 53 คน

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 35
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

1 เพื่อพัฒนากำลังคนให้มีศักยภาพสูงทั้งเชิงวิชาการและวิชาชีพ ที่ทันต่อความต้องการของการทำงานใน อุตสาหกรรมใหม่สู่ New S-Curve ด้านอุตสาหกรรมดิจิทัล ซึ่งเน้นทางด้านการเพิ่มพูนทักษะในด้านวิทยาการข้อมูล และการประยุกต์ (Data Science and Applications)

2 เพื่อสร้างฐาน (Platform) การพัฒนาการศึกษาระดับอุดมศึกษาทางด้านเทคโนโลยีโดยปรับเปลี่ยน รูปแบบการผลิตกำลังคน และสร้างต้นแบบของหลักสูตรและการเรียนการสอน สร้างประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยการ ปฏิบัติในสถานที่จริงโดยมีความร่วมมือกับสถานประกอบการหรือภาคอุตสาหกรรม
ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่
(1) การออกแบบหลักสูตร
ได้ทำการออกแบบ หลักสูตรและได้รับคำแนะนำจาก มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงคือ สถาบันพระจอมเกล้าธนบุรีในการปรับปรุงโครงการ ซึ่งระหว่างการออกแบบได้มีความร่วมมือภายในกับ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการช่วยออกแบบ หลักสูตร ร่วมไปถึงการให้ความต้องการในการพัฒนาทักษะที่งานทางการแพทย์ต้องใช้บ่อย ๆ ให้ความอนุเคราะห์ อาจารย์ ผู้เชี่ยวชาญ ในการเป็นวิทยากร และให้คำปรึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ สำหรับความร่วมมือภายนอก บริษัท อินเทอร์เน็ตประเทศไทย จำกัด (มหาชน) ร่วมมือในการให้ Feedback ของหลักสูตร และให้ความอนุเคราะห์ ผู้เชี่ยวชาญจากบริษัท อินเทลลิจิสต์ จำกัด ในการเป็นวิทยากร และให้คำปรึกษาผู้เข้าร่วมโครงการ
(2) การประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมอบรม และปฐมนิเทศผู้เข้าอบรม
(3) จัดการอบรม
(4) การนำเสนอผลงานของผู้เข้าอบรม

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1)

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh