ฝึกอบรมโมดูลที่ 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน |
30 ก.ย. 2565 |
1 ต.ค. 2565 |
|
- ก่อนเริ่มการฝึกอบรมของทุกวันจะเริ่มด้วยกิจกรรมการอ่านจดหมายของบัดดี้ เพื่อกระตุ้นความสนใจ และส่งเสริมการเข้าชั้นเรียนของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- กิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนเริ่มฝึกอบรม และกิจกรรมแบ่งกลุ่มผู้ฝึกอบรมเป็น 6 กลุ่ม
- วิทยากรแจกแบบฝึกหัดคิดรวดเร็ว ให้ต่อเติมวงกลม 12 วงภายในเวลา 3 เพลง
- ตรวจสอบผลงาน สรุปผลค่าคะแนนการคิดรวดเร็ว
- ให้เวลาเพิ่ม ให้ต่อเติมวงกลมให้สวยงาม
- แลกกันดู
|
|
1
|
|
พิธีลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยโครงการบัณฑิตพันธ์ุใหม่ Non-degree |
6 ต.ค. 2565 |
6 ต.ค. 2565 |
|
10.00 น. ลงทะเบียน
10.30 น. ผู้ดำเนินรายการกล่าวต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ
• นายสุระศักดิ์ ศรีปาน คณบดีคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม กล่าวรายงานความเป็นมาของบันทึกข้อตกลง ว่าด้วย โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ Non-Degree หลักสูตรบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานในศตวรรษที่ 21
• รศ.ดร.พิชัย จันทร์มณี อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ กล่าวเปิดงานพิธีลงนาม
• นายนิวัตน์ ขวัญบุญ นายกเทศมนตรีเมืองกระทุ่มแบน กล่าวเกี่ยวกับความร่วมมือของโครงการ
• พิธีลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) ในบันทึกข้อตกลง ว่าด้วยโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ Non-Degree หลักสูตรบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานในศตวรรษที่ 21 ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และ เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร
• มอบของที่ระลึก ถ่ายภาพร่วมกัน
• เสร็จพิธีลงนาม
|
|
เกิดความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และเทศบาลเมือกระทุ่มแบน อันเป็นจุดเริ่มต้นของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และ เทศบาลเมืองกระทุ่มแบน ที่จะทำให้องค์ความรู้อันเกี่ยวเนื่องกับ โครงการ Non-Degree การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพ การทำงานในศตวรรษที่ 21 ขยายผลออกไปในวงกว้าง
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง |
8 ต.ค. 2565 |
|
|
|
|
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 |
5 พ.ย. 2565 |
|
|
|
|
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ |
19 พ.ย. 2565 |
|
|
|
|
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 5 การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาองค์กร |
17 ธ.ค. 2565 |
|
|
|
|
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 6 การประเมินผลนวัตกรรมสร้างสรรค์และเสนอนำผลงาน |
7 ม.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 7 การฝึกทักษะในสถานประกอบการ/องค์กร |
17 ม.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
ประมวลผลการฝึกทักษะ สมรรถนะ |
30 ม.ค. 2566 |
|
|
|
|
|
|
โมดูล 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง |
2 ก.ย. 2566 |
2 ก.ย. 2566 |
|
- อ่านจดหมายถึงบัดดี้
- บรรยาย ทฤษฏีการคิดบวก วิธีการและการประยุกต์ใช้ในการทำงาน
- ฝึกปฏิบัติกิจกรรมการคิดบวก วิธีการและการประยุกต์ใช้
- สะท้อนคิด
- บรยาย ทฤษฏี การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง ความสำคัญและการประยุกต์ใช้ในการทำงาน
- ฝึกปฏิบัติกิจกรรมสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง และการประยุกต์ใช้ในการทำงาน ด้วยกิจกรรม หัวใจคุณนั้นยอดเยี่ยมมาก
- นำเสนอ ผลงาน และสะท้อนคิด
|
|
มีผู้ผ่านการฝึกปฏิบัติการคิดบวก จำนวน 40 คน
ผุ้ฝึกอบรมมีความเชื่อมั่นในตนเองเพิ่มขึ้น จำนวน 40 คน
|
|
โมดูล 7 การฝึกประสบการณ์ในองค์กร |
5 ก.ย. 2566 |
5 ก.ย. 2566 |
|
ปฏิบัติ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
|
|
ได้ข้อเสนอแนะในการ ปรับปรุงการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
|
|
โมดูล 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง |
7 ก.ย. 2566 |
7 ก.ย. 2566 |
|
- อ่านจดหมายถึงบัดดี้
- บรรยาย ทฤษฏี การคิดนอกกรอบ และการประยุกต์ใช้ในการทำงาน
- ฝึกปฏิบัติกิจกรรมการคิดนอกกรอบและการประยุกต์ใช้ในการทำงาน การแก้ไขปัญหากิจกรรมรถไฟฟ้ามาหานะเธอ
- สะท้อนคิด
|
|
ผู้ฝึกอบรมสามารถคิดนอกกรอบได้ จำนวน 40 คน
|
|
โมดูล 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 |
8 ก.ย. 2566 |
8 ก.ย. 2566 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้ และกิจกรรมเตรียมความพร้อม
- วิทยากรบรรยายความหมายของความคิดสร้างสรรค์ กระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- วิทยากรบรรยาย ทฤษฏี หมวกหกใบ ความสำคัญ วิธีการ และการนำไปประยุกต์ใช้
- แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 9 กลุ่ม มอบหมายโจทย์ ให้ตัดสินใจ การปลูกทุ่งดอกทานตะวันบริเวณสำนักงานเทศ่บาลเมืองกระทุ่มแบน
- ให้แต่ละกลุ่มตัดสินใจโดยใช้กระบวนการหมวกหกใบ โดยสวมบทบาทหมวกทีละใบ พร้อมวาดภาพประกอบ วิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
- นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนทีละกลุ่ม
- วิทยากรวิพากษ์ ให้ข้อเสนอแนะ และสรุปบทเรียน
- ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด และนำผลงานไปติดแสดงไว้หน้าชั้นเรียน
|
|
- มีผลงานความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากกระบวนการหมวกหกใบ จำนวน 9 ผลงาน
- ผู้เรียน จำนวน 45 คน สามารถใช้เครื่องมือหมวกหกใบในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้
- เกิดความร่วมมือภายในกลุ่มที่มีวัยวุฒิ คุณวุฒิที่แตกต่างกัน และมาจากหลากหลายหน่วยงาน
- หมวกหกใบเป็นเครื่องมือในการลดความขัดแย้งในการทำงาน
|
|
โมดูล 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 |
9 ก.ย. 2566 |
9 ก.ย. 2566 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้ และกิจกรรมเตรียมความพร้อมและแบ่งกลุ่มประจำวัน
- วิทยากรบรรยาย ทฤษฏี หลักการ วิธีการเขียน Mind map และการประยุกต์ใช้ พร้อมยกตัวอย่าง
- วิทยากรให้โจทย์ การนำเสนอ ชีวะประวัติเพื่อแนะนำตนเองผ่าน Mind map เป็นรายบุคคล
- ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ข้อมูลเพื่อนำมาเขียนเป็น Mind map โดยมีวิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มดูแล ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
- ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการเขียน Mind map และนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล
- วิทยากรวิพากษ์ ให้ข้อเสนอแนะ สรุปเนื้อหาและการประยุกต์ใช้
- ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
- ผลงาน mind map เรื่อง การแนะนำตนเองของผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 45 เรื่อง
- ผู้เรียนได้ทำความรู้จักกันมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานของเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนางานของตนในอนาคต
|
|
โมดูล 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 |
12 ก.ย. 2566 |
12 ก.ย. 2566 |
|
ปฏิบัติ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
|
|
ได้ข้อเสนอแนะในการ ปรับปรุงการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
|
|
โมดูล 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 |
14 ก.ย. 2566 |
14 ก.ย. 2566 |
|
เทคนิคการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงาน
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ความรู้และทักษะการใช้ Line ในการทำงาน
ฝึกปฏิบัติการสื่อสารด้วยภาพ การตกแต่งภาพสวัสดี ด้วยการถ่ายภาพ การใส่ตัวอักษร และประยุกต์ใช้ในการรายงานด้วยภาพ
สาธิตการเขียนบท การสมัครแอบพลิเคชัน และถ่ายทำคลิป Tiktok
3. ความรู้และทักษะการประชุมออนไลน์ โดยใช้ Line กลุ่ม และ Zoom
สาธิตการเข้าร่วมประชุมออนไลน์ และการทำงานด้วยเอกสารรูปแบบต่าง ๆ
4. ความรู้และทักษะการใช้ Google ในการทำงาน
สาธิตการทำแบบประเมินด้วย Google Form และ QR Code
|
|
2.1 บอกวิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ถูกต้อง
2.2 บอกเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้
2.3 อธิบายความแตกต่างของเครื่องมือพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แต่ละชนิดได้
2.4 เลือกใช้เครื่องมือพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้เหมาะสมกับงาน
2.5 ใช้เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างคล่องแคล่ว
2.6 ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
งานรายบุคคล : ภาพสวัสดียามเช้า ส่งในกลุ่ม Line
งานกลุ่ม : กิจกรรมสะท้อนคิดโดยการใช้คลิป Tiktok
|
|
โมดูล 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ |
16 ก.ย. 2566 |
16 ก.ย. 2566 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้และกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน
- ผู้เรียนนั่งตามกลุ่มเดิม
- ปฏิบัติการจัดทำแบบจำลองความคิดในการแก้ไขปัญหาต่อ
- วิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มให้คำปรึกษา แนะนำอย่างใกล้ชิด เกี่ยวกับการออกแบบจำลองความคิด การเลือกใช้วัสดุ เป็นต้น
- วิทยากรสรุปบทเรียน และตรวจสอบผลงาน
- ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
- ให้แต่ละกลุ่มออกแบบและสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เช่น แบบสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาความเป็นไปได้ในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามที่ได้เสนอไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว
- วิทยากรประจำกลุ่มให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
- เมื่อแต่ละกลุ่มสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเพื่อหาความเป็นไปได้ในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์แล้ว ให้เวลา 60 นาที ให้ไปดำเนินการเก็บข้อมูล
- เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วให้แต่ละกลุ่มฝึกการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา แล้วนำมาปรับปรุงแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นให้สมบูรณ์
- วิทยากรสรุป และสะท้อนคิด
|
|
- แบบจำลองความคิดจำนวน 6 กลุ่ม เนื่องจากผู้เรียนขอจับกลุ่มตามกลุ่มสังกัด ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มครูเด็กเล็ก กลุ่มครูเทศบาล กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่ม อสม. และกลุ่มพนักงานเทศบาล
- ผู้เรียนสามารถออกแบบจำลองความคิดของตนเองได้
|
|
โมดูล 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ |
19 ก.ย. 2566 |
19 ก.ย. 2566 |
|
ปฏิบัติ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
|
|
ได้ข้อเสนอแนะในการ ปรับปรุงการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
|
|
โมดูล 5 การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาองค์กร |
21 ก.ย. 2566 |
21 ก.ย. 2566 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
- วิทยากรบรรยาย ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและกระบวนการพัฒนานวัตกรรม
- การเสวนา การพัฒนาองค์กร โจทย์ปัญหาการพัฒนาองค์กร การค้นหาปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา โดย ผู้บริหารเทศบาลเมืองบางกระทึก
- ผุู้บริหารเทศบาลเมืองบางกระทึกให้นโยบายการพัฒนาองค์กร
- แบ่งผู้เรียนออกเป็น 4 กลุ่ม ตามกลุ่มงาน ประกอบด้วย กล่มที่ 1 กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มที่ 2 กลุ่มแม่บ้าน กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มที่ 4 กลุ่ม อสม.
- วิทยากร และตัวแทนชุมชน เสวนาการค้นหาโจทย์ปัญหาออกแบบความคิดเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอย่างหลากหลาย
- วิทยากรบรรยาย เรื่อง การประเมินแนวคิดเพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นไปได้
- ผู้เรียนแต่ละกลุ่มระดมสมอง การประเมินแนวคิดการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นไปได้
- วิทยากรพี่เลี้ยงเข้าให้คำปรึกษาประจำกลุ่ม
- แต่ละกลุ่มนำเสนอโจทย์ปัญหาและแนวคิดการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้
- วิทยากรวิพากษ์
|
|
- จากการเสวนา ผู้บริหารเทศบาลเมืองบางกระทึกได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของโครงการในครั้งนี้ เพื่อรองรับโครงการนวัตกรรมที่ผู้เรียนหลักสูตร Non-Degree หลักสูตรบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานในศตวรรษที่ 21 ได้พัฒนาขึ้น
- ผู้เรียนวางแผนพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในงานอาชีพได้
|
|
โมดูล 6 การประเมินผลนวัตกรรมสร้างสรรค์และนำเสนอผลงาน |
22 ก.ย. 2566 |
22 ก.ย. 2566 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
- ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทบทวนงานเดิมนำแนวคิดนวัตกรรมวิธีการแก้ปัญหา มาเขียนสร้างต้นแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานอาชีพของตน
- วิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มให้คำปรึกษาแนะนำอย่างใกล้ชิด
- ผู้เรียนนำเสนอแบบจำลองต้นแบบนวัตกรรมตามโครงการ
- วิทยากรให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำแบบจำลองต้นแบบนวัตกรรม
- วิทยากรสรุป และผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
ผลผลิตที่ได้คือ แบบจำลองต้นแบบนวัตกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 4 แบบ ได้แก่
กล่มมที่ 1 กลุ่มจี๊ดจ๊าด ต้นแบบนวัตกรรมการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำพริกสะดุ้งลิ้นด้านสื่อออนไลน์
กลุ่มที่ 2 กลุ่มขอแค่คิด ต้นแบบนวัตกรรมด้านพาเลซตัวต่อ
กลุ่มที่ 3 กลุ่มเชี่ยวชาญชีวิต ร่างหลักสูตรการสอนออกกำลังกายออนไลน์
กลุ่มที่ 4 กลุ่มสว. ต้นแบบนวัตกรรมการเพิ่มมูลค่าจากวัสดุเหลือใช้
|
|
โมดูล 6 การประเมินผลนวัตกรรมสร้างสรรค์และนำเสนอผลงาน |
23 ก.ย. 2566 |
23 ก.ย. 2566 |
|
- กิจกรรมเฉลยบัดดี้
- กิจกรรมนำเสนอนวัตกรรมโดยผู้เรียน และการประเมินนวัตกรรมและวิพากษ์โดยผู้บริหารเทศบาลเมืองบางกระทึก จำนวน 3 คน
- แต่ละกลุ่มมีเวลานำเสนอ 15 นาที โดยต้องนำเสนอประกอบแบบจำลองความคิด หรือแบบจำลองนวัตกรรม
- ผู้บริหารเทศบาล ให้คะแนนและวิพากษ์
- วิทยากรสรุปโครงการ และผู้เข้ารับการฝึกอบรมเขียนสะท้อนคิด
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทำแบบทดสอบภาคทฤษฏี และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ (Post-test)
|
|
จากการดำเนินกิจกรรม มีผู้ฝึกอบรมนำเสนอนวัตกรรม จำนวน 4 กลุ่ม ดังนี้
1 กลุ่มจี๊ดจ๊าด โครงการพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายน้ำพริกสะดุ้งลิ้นด้านสื่ออนไลน์
2 กลุ่มขอแค่คิด พาเลซตัวต่อ
3 กลุ่มเชี่ยวชาญชีวิต สอนออกกำลักายออนไลน? 7วัน 7 ท่า
4 กลุ่มสว เพิ่มรายได้ผ฿สูงอายุจากวัสดุเหลือใช้
ในการประเมินนวัตกรรม ใช้แบบประเมินนวัตกรรมสร้างสรรค์โครงการหลักสูตร Non-Degree หลักสูตรบูรณาการความคิดสร้างสรรคเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานในศตวรรษที่ 21 ผู้ประเมินเป็นผู้บริหารระดับสูงของเทศบาลเมืองบางกระทึก 3 ท่าน ส่วนวิธีการประเมิน ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอโครงการ พร้อมด้วยแบบจำลองความคิดหรือแบบจำลองต้นแบบนวัตกรรม กลุ่มละ 15 นาที ในขณะที่แต่ละกลุ่มนำเสนอนั้น ได้รับความสนใจจากผู้บริหารที่มาเป็นผู้ประเมินอย่างยิ่ง โดยได้ซักถามและตรวจสอบแบบจำลองความคิดอย่างใกล้ชิด ซึ่งในการนี้นายยกเทศบาล ได้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการนวัตกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม จึงจะสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการนวัตกรรม
|
|
พิธีเปิดการฝึกอบรมและดำเนินการฝึกอบรม และฝึกอบรมโมดูลที่ 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน |
30 ก.ย. 2565 |
30 ก.ย. 2565 |
|
- พิธีเปิดการฝึกอบรม โดยรองนายกเทศมนตรีเมืองกระทุ่มแบน
- ปฐมนิเทศ ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เป้าหมาย วิธีการฝึกอบรม กิจกรรม และให้ผู้ฝึกอบรมทำแบบทดสอบระดับความคิดสร้างสรรค์ (Pre-Test)
- ดำเนินการฝึกอบรมโมดูลที่ 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน บรรยายเกี่ยวกับความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการทำงาน
- กิจกรรมการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานที่ 1 การละลายพฤติกรรม ด้วยการแนะนำตัว เกมที่สร้างความสัมพันธ์ การทำความรู้จัก การฝึกสมองซ้ายขวา สรุปกิจกรรมด้วยการบรรยายเรื่องการทำงานของสมอง
- กิจกรรมการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานที่ 2 การสร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์ สรุปกิจกรรมด้วยการบรรยายการเรื่องการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
- กิจกรรมการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานที่ 3 กิจกรรมบัดดี้ จับคู่ดูแลกันตลอดทั้งหลักสูตร โดยวิทยากรทุกคนเข้าร่วมเล่นด้วยเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มผู้ฝึกอบรม
- ผู้ฝึกอบรมทำแบบสะท้อนคิด
หมายเหตุ กระบวนการฝึกอบรมจะต้องลดช่องว่างความแตกต่าง ต่าง ๆ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เมื่อผู้รับการฝึกอบรมลดความเครียดจะทำให้การฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
|
|
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นบุคลากร เจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน ได้แก่ ผู้บริหารหลายระดับ บุคลากรระดับปฏิบัติการ ผู้นำชุมชน ซึ่งมีความหลากหลาย แตกต่างกันในด้านคุณวุฒิ วัยวุฒิ และตำแหน่งหน้าที่ในการทำงาน
1. ผล Pre-test จากแบบทดสอบระดับความคิดสร้างสรรค์ ส่วนใหญ่มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับต่ำ
2. ผลจากการทำกิจกรรมในวันนี้ จากการสังเกต พบว่า ผู้รับการฝึกอบรม มีพฤติกรรมให้ความร่วมมือ มีความตั้งใจปฏิบัติตามวิทยากร และกิจกรรมยังช่วยลดตัวตน ลดช่องว่างของความแตกต่างหลากหลายได้
3. ผลจากการสะท้อนคิด พบว่า ผู้รับการฝึกอบรม มีความสุข สนุกสนานช่วยลดความเครียด
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน (ต่อ) |
1 ต.ค. 2565 |
1 ต.ค. 2565 |
|
หัวข้อการคิดรวดเร็ว การคิดละเอียดละออ และการคิดเชื่อมโยง
1. วิทยากรอ่านจดหมายของบัดดี้
2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5 – 6 คน แต่ละกลุ่มนั่งเป็นวงกลม
3. ผู้สอนแจกแแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วให้แก่ผู้เรียนทุกคน
คำสั่งที่ให้กับผู้เรียน มีดังนี้ แบบฝึกหัดที่แจกให้มีวงกลมอยู่ 12 วง ให้ผู้เรียนนึกถึงวงกลมแล้ววาดภาพสิ่งของที่มีวงกลมเป็นส่วนประกอบให้มากที่สุด ภายในเวลา 3 นาที โดยวงกลมนั้นต้องแทนสิ่งของหนึ่งสิ่งเท่านั้น เช่น วงกลมวงที่ 1 วาดรูปหน้าคนยิ้ม วงกลมที่สองพระอาทิตย์ วงกลมที่สามป้ายห้ามจอด
4. เมื่อผู้สอนจับเวลาครบสามนาทีแล้ว ให้ผู้เรียนวางปากกา แล้วสำรวจว่ามีผู้วาดภาพครบทั้ง 12 วงหรือไม่ ถ้ามี มีจำนวนกี่คน หากไม่มีให้สำรวจจำนวนสูงสุดของชั้นเรียนได้เท่าใด ให้ผู้เรียนนำแบบฝึกหัดมาผู้สอนตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นสำรวจว่าค่าเฉลี่ยของห้องเป็นเท่าใด จำนวนต่ำสุดเป็นเท่าใด มีจำนวนกี่คน
5. มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกการคิดแบบละเอียดละออลงในแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็ว
หลังจากผู้เรียนได้สรุปและอธิบายการคิดแบบรวดเร็วแล้ว ให้ผู้เรียนวาดภาพเพิ่มเติมให้ครบทั้ง 12 วง และตกแต่งให้สวยงาม โดยกำหนดเวลา 30 นาที เมื่อครบเวลาแล้ว ให้ภายในกลุ่มแลกแบบฝึกหัดกันดูการคิดของสมาชิกในกลุ่ม สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ มีภาพทีซ้ำกันหรือไม่ ถ้ามี มีกี่ภาพ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการเขียนในแบบฝึกหัด เสร็จแล้วนำกลับคืนเจ้าของ
6. ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มคัดเลือกภาพในแบบฝึกหัดคิดแบบรวดเร็วที่ชอบที่สุด ใช้ปากกาวงล้อมรอบภาพไว้ และนำภาพที่เลือกไว้มาร้อยเรียงเชื่อมโยง วาดภาพในกระดาษแผ่นใหญ่ให้เป็นเรื่องราวนิทาน 1 เรื่อง โดยต้องมี ชื่อเรื่อง เนื้อเรื่องที่มีการดำเนินเรื่อง และคติสอนใจ
7. แต่ละกลุ่มออกมาเล่านิทานพร้อมแสดงภาพการเชื่อมโยงความคิดของภาพที่คัดเลือกไว้ภายในกลุ่ม รวมถึงแสดงแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วของทุกคนในกลุ่มให้ทุกคนในชั้นเรียน
9. หลังเล่านิทานเสร็จแล้วให้ภาพการเชื่อมโยงความคิด และแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วของทุกคนไปติดไว้ที่ผนังห้อง เพื่อทุกกลุ่มในชั้นเรียนสามารถไปศึกษาแนวคิดที่แตกต่างกันได้
10. เวลา 15 นาทีสุดท้ายของการเรียนการสอน ผู้สอนให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิดและบันทึกผลการเรียนรู้ โดยช่วงเวลาดังกล่าวต้องเป็นช่วงเวลาที่เงียบใช้สมาธิ ผู้สอนควรควบคุมห้องเรียนให้ไม่มีเสียงพูดคุยกัน และผู้สอนต้องไม่พูดแทรก ไม่อธิบายหรือสั่งงานอื่น ๆ ในช่วงเวลานี้
|
|
- ผลงานการคิดรวดเร็วเป็นรายบุคคล จำนวน 45 ผลงาน
- ผลงานการคิดเชื่อมโยง เป็นรายกลุ่ม จำนวน 9 กลุ่ม
การสรุปเนื้อหา
แบบฝึกหัดนี้เรียกว่า แบบฝึกหัดคิดแบบรวดเร็ว การคิดอย่างเร็ว (Quick Thinking ) เป็นการตัดสินใจแก้ไขปัญหารูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งมีข้อจำกัดด้านเวลา การคิดอย่างรวดเร็ว จึงจัดว่าเป็นทักษะสำคัญในการเอาชีวิตรอดกล่าวได้ว่า ผู้ที่ตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้องในเวลาคับขันก็คือ ผู้ที่มีไหวพริบ ปฏิภาณ นั่นเอง ผู้ที่มีไหวพริบ คิดเร็ว จะเป็นคนที่มีความรู้สึกไว สังเกตสิ่งผิดปกติได้ดีกว่าคนทั่วไป ผู้ เป็นอีกหนึ่งทักษะ ซึ่งแม้ว่าในสถานการณ์ทั่วไปอาจจะไม่ได้ใช้ เพราะเรามีเวลาสำหรับไตร่ตรองอย่างรอบคอบ แต่เมื่อเกิดเหตุวิกฤติ ชี้เป็นชี้ตายการคิดเร็วจะมีบทบาทสำคัญที่สุด ดังนั้นเราจึงควรฝึกการสังเกต หาความรู้ และเพิ่มประสบการณ์ สำหรับเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เตรียมเอาไว้ ซึ่งการคิดแบบรวดเร็วนี้เป็นทักษะหนึ่งที่นักคิดสร้างสรรค์ต้องมี การคิดอย่างรวดเร็วสามารถฝึกฝนได้ วิธีการฝึกฝนมีหลายแบบ อาจใช้วิธีการคิดคำนวนตัวเลขก็ได้ และแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วนี้สามารถนำไปฝึกเพิ่มเติมที่บ้านได้ การที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการทำแบบฝึกหัด ทำให้ผู้เรียนมีเวลาในการพิจารณาวาดรายละเอียดของภาพ มีการตกแต่งระบายสีให้สวยงาม สิ่งนี้เรียกว่า ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น
การคิดเชื่อมโยง คือ ความสามารถในการคิดเอาเรื่องราว ประสบการณ์ ความรู้ต่าง ๆ จากหลากหลายแหล่งที่มา มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของสิ่งที่เรากำลังต้องการศึกษา การเชื่อมโยงต้องมีการฝึกฝน หากเรามีความสามารถคิดเชื่อมโยงได้ดี เราจะจะสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีไปประยุกต์ใช้ได้ทันที การคิด เป็น เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมอง การคิดเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยตาเปล่าการที่จะรู้ว่ามนุษย์คิดอะไร คิดอย่างไร จะต้องสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดง และสามารถควบคุมให้คิดจนบรรลุเป้าหมายได้ การคิดมีหลายระดับชั้น ซึ่งการคิดพื้นฐานเป็นการคิดทั่วไป มีหลายประเภท ได้แก่ การคิดแบบรวดเร็ว การคิดคล่องแคล่ว การคิดละเอียดละออ การคิดเชื่อมโยง เป็นต้น ซึ่งการคิด มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาแสวงหาคำตอบตัดสินใจหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน (ต่อ) |
7 ต.ค. 2565 |
8 ต.ค. 2565 |
|
หัวข้อที่ 1 การคิดย้อนกลับ และการนำความคิดย้อนกลับไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน
1. วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้ และกิจกรรมเตรียมความพร้อม
2. แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 9 กลุ่ม
3. ให้โจทย์ What's..if... ทำอย่างไรให้ถูกไล่ออกจากงาน
4. ให้แต่ละกลุ่มหาแนวทางให้ถูกไล่ออกจากงานให้มากที่สุด โดยเขียนลงบนกระดาษที่แจกให้
5. วิทยากรประจำกลุ่มดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
6. ให้เวลาแต่ละกลุ่ม 40 นาที ครบเวลาแล้ว วิทยากรตรวจจำนวนรายการเขียนของแต่ละกลุ่ม
7. ให้แต่ละกลุ่มคัดเลือกรายการที่ทำให้ถูกไล่ออกจากงาน ที่แปลกที่สุดและคิดว่าไม่ซ้ำใครของกลุ่มตนมาวาดเป็นภาพ
8. ตัวแทนกลุ่มนำเสนอ
9. วิทยากรสรุปและบรรยายทฤษฏีการคิดย้อนกลับและการนำไปประยุกต์ใช้ ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
หัวข้อที่ 2 การคิดจินตนาการและการสร้างแรงบันดาลใจ ความสำคัญและการประยุกต์ใช้ในการทำงาน
1. วิทยากรบรรยายทฤษฏีการคิดจิตนาการและการสร้างแรงบันดาลใจ
2. แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 9 กลุ่ม
3. มอบโจทย์ที่ทำงานในฝัน ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันจินตนาการที่ทำงานในฝันแล้วถ่ายทอดออกมาเป็นภาพวาด
4. ตัวแทนกลุ่มออกมานำเสนอแนวคิด
5. วิทยากรสรุป ให้ข้อเสนอแนะ
6. ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
- ผลงานการคิดเชื่อมโยง จำนวน 9 ชิ้นงาน
- ผลงานการคิดจินตนาการ จำนวน 9 ชิ้นงาน
- ผู้เรียนสามารถบอกความหมาย ความสำคัญของการคิดจินตนาการ คิดริเริ่ม การคิดย้อนกลับ การสร้างความสัมพันธ์ วิธีการนำการคิดพื้นฐานไปปรับใช้ในงานอาชีพ ยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง |
8 ต.ค. 2565 |
8 ต.ค. 2565 |
|
หัวข้อที่ 1 การสังเกต ลักษณะ วิธีการ ความสำคัญ การนำไปประยุกต์ใช้
1. กิจกรรมอ่านจดหมายของบัดดี้ พร้อมเสนอธีมของขวัญบัดดี้ในวันถัดไป
2. กิจกรรมเตรียมความพร้อม และแบ่งกลุ่ม 9 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน เลือกหัวหน้ากลุ่ม 1 คน เลือกผ้าพันคอสีประจำกลุ่ม
3. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมปฏิบัติกิจกรรมการสังเกต A โดยวิทยากรมอบหมายให้แต่ละกลุ่ม ไปสังเกตนอกห้องเรียน 30 นาที โดยไม่แจ้งวัตถุประสงค์ หรือวิธีการใด ๆ (ทีมวิทยากรไปจัดเตรียมเป้าหมาย สถานที่ติดป้ายจุดสังเกตไว้ล่วงหน้าโดยไม่แจ้งให้ผู้ฝึกอบรมทราบ) ให้แต่ละกลุ่มจดบันทึกสิ่งที่ได้สังเกตมา
4. เมื่อครบเวลา วิทยากรประจำกลุ่มให้ข้อเสนอแนะและคำปรึกษาในการนำเสนอข้อมูลที่ได้สังเกตมา จากนั้นให้หัวหน้ากลุ่มนำเสนอสิ่งที่ได้สังเกตมา ในกลุ่มใหญ่
5. วิทยากรเฉลย กิจกรรมการสังเกต A ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับข้อมูลของแต่ละกลุ่ม มอบรางวัลแก่กลุ่มที่สังเกตได้ดี
6. กิจกรรมการสังเกต B เป็นการฝึกการสังเกตด้วยประสาทสัมผัส โดย นำสิ่งของที่คล้ายกันมาให้เลือกและปิดตาทายชื่อของสิ่งของนั้น ได้แก่ ขิงและข่า หัวไช้เท้าและมะเขือยาว ใบโหระพาและใบแมงลัก ตะไคร้และ สุดท้าย ไข่เค็ม ไข่เป็ดและไข่ไก่ เมื่อผู้ปิดตาทายชื่อสิ่งของนั้นต้องบอกอธิบายสิ่งของทั้งสองอย่างว่าเป็นอะไร เหตุใดจึงทายว่าเป็นสิ่งนั้น สังเกตจากอะไร
7. บรรยายสรุป ทฤษฏีการสังเกต ลักษณะ วิธีการ ความสำคัญ และการนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงาน
8. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทำแบบสะท้อนคิด เรื่องการสังเกต
หัวข้อที่ 2 ทักษะการคิดระดับสูง ความหมายความสำคัญ และกิจกรรมการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข
1. เตรียมความพร้อม กระบวนการกลุ่มและกระชับความสัมพันธ์ภายในกลุ่ม
2. วิทยากรบรรยาย เนื้อหาทฤษฏี ความหมาย ความสำคัญของทักษะการคิดระดับสูง
3. ปฏิบัติกิจกรรมการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข
4. สรุปกิจกรรมการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข
5. สรุปรางวัล และมอบรางวัลแก่กลุ่มที่ได้คะแนนสูงสุด
6. ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทำแบบสะท้อนคิด
หัวข้อทักษะการคิดระดับสูงและกิจกรรมการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข
1. วิทยากรบรรยายอธิบายความหมายของการคิดขั้นสูง การคิดขั้นสูงเชิงตัวเลข ความสำคัญของการคิดขั้นสุูงเชิงตัวเลข โดยให้ผู้เข้าร่วมอบรมอธิบาย และยกตัวอย่าง รวมถึงความสำคัญของของการคิดในลักษณะนี้
2. ยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวัน เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเห็นว่าสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่อยู่ใกล้ตัวและมีความสำคัญอย่างยิ่ง
3. ยกตัวอย่างโจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับชีวิตการทำงาน และให้ผุ้เข้ารับการอบรมได้ร่วมกันแก้ปัญหา
4. ร่วมกันสรุปบทเรียนเกี่ยวกับการคิดขั้นสูงเชิงตัวเลข
|
|
บุคลากร เจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองกระทุ่มแบนมีความรู้และทักษะการสังเกต
สรุปกิจกรรมการสังเกต : การสังเกต หมายถึง การเก็บข้อมูลเพื่อนำมาใช้ในการตัดสินใจอย่างใดอย่างหนึ่ง การสังเกตมีสองชนิด คือ การสังเกตแบบมีเป้าหมาย และการสังเกตแบบไม่มีเป้าหมาย การสังเกตเป็นทักษะอย่างหนึ่งของผู้มีความคิดสร้างสรรค์ที่ต้องอาศัยการฝึกฝนบ่อย ๆ วิธีการสังเกต อาจใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตาดู หูฟัง ลิ้นชิมรส จมูกดมกลิ่น มือสัมผัส อย่างใดอย่างหนึ่ง หากผู้สังเกตไม่แน่ใจอาจใช้ประสาทสัมผัสทั้งหมดร่วมกันได้ การนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานต้องคำนึงถึงความละเอียดรอบคอบ และความเกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่
บุคลากร เจ้าหน้าที่ของเทศบาลเมืองกระทุ่มแบนมีความรู้และทักษะการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข
สรุปกิจกรรมการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข : การคิดวิเคราะห์ เป็นทักษะการคิดระดับสูง หมายถึง การรู้จักพิจารณา ค้นหาใคร่ครวญ ประเมินค่าโดยใช้เหตุผลเป็นหลักในการหาความจริง การคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลขเป็นตรรกะขั้นต้นต้องคิดอย่างรอบคอบ ถูกต้อง โดยเฉพาะการวิเคราะห์ตัวเลขในการทำงานจะผิดพลาดไม่ได้เลย
ผู้เข้ารับการอบรมมีความเข้าใจในความสำคัญของการคิดขั้นสูงเชิงตัวเลข และเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในชีวิตประจำวัน รู้จักวิธีการคิด สังเกต และจัดความสัมพันธ์ของตัวเลขในสถานการณ์ต่าง ๆ รวมถึงความสมเหตุสมผลของคำตอบที่ได้
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง (ต่อ) |
28 ต.ค. 2565 |
28 ต.ค. 2565 |
|
หัวข้อการคิดบวก และการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
1.วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
2. วิทยากรบรรยายเนื้อหาทฤษฎีการคิดบวก วิธีการ และการนำไปใช้ในการทำงาน
3. ผู้เรียนฝึกปฏิบัติกิจกรรมการคิดบวก ด้วยการยกตัวอย่างสถานการณ์และแนวความคิดเชิงบวก
4. วิทยากรสรุปและผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
หัวข้อ การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
1. วิทยากรแบ่งกลุ่มผู้เรียนทำกิจกรรมเตรียมความพร้อมแล้วนั่งเป็นวงกลมวงใหญ่
2. ผู้เรียนทำกิจกรรมคุณน้้นยอดเยี่ยมมาก โดยวิทยากรแจงกระดาษรูปหัวใจ ให้เขียนชื่อของผู้เรียนไว้ที่มุมด้านขวา แล้วให้ส่งกระดาษนั้นไปให้เพื่อนที่อยู่ทางซ้ายมือ ให้ผู้เรียนอ่านชื่อที่มุมขวาบน แล้วเขียนข้อดีของเจ้าของกระดาษหัวใจนั้นให้มากที่สุด เมื่อวิทยากรให้สัญญาณก็ส่งกระดาษหัวใจนั้นไปเรื่อย ๆ จนครบรอบ
3. เมื่อครบรอบแล้วให้เจ้าของกระดาษอ่านข้อความที่ทุกคนเขียนข้อดี
4. วิทยากรสรุปกิจกรรมการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
5. วิทยากรบรรยายเนื้อหาการวิเคราะห์ตนเอง มุมมองบวก การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง มุมมองที่ตนเองมองตนเอง และการประยุกต์ใช้
6. ผู้เรียนสรุปร่วมกับวิทยากร และเขียนสะท้อนคิด
|
|
- มีผู้เรียนที่ปฏิบัติการคิดระดับสูงได้ 45 คน
- มีผู้เรียนที่เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง 45 คน
- การคิดบวกจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง กิจกรรมคุณนั้นยอดเยี่ยมมาก ช่วยให้ผู้เรียนได้พบว่า เรามักจะคิดไปเองว่าเราไม่เก่ง ไม่ดี เน้นที่จุดด้อยของตนเอง ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง แต่มุมมองที่ผู้อื่นมองตัวเรานั้นมีข้อดีมากมายที่เราอาจคิดไม่ถึง เมื่อใดที่รู้สึกไม่มั่นใจในตนเองให้มาอ่านข้อความในกระดาษหัวใจ ดูข้อดีของตัวเราเพื่อสร้างกำลังใจและความเชื่อมั่นต่อไป
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง (ต่อ) |
29 ต.ค. 2565 |
29 ต.ค. 2565 |
|
กิจกรรมการคิดวิเคราะห์จากเรื่องราว และ การคิดวิเคราะห์เชิงภาษา
1. วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
2. วิทยากรบรรยายการคิดวิเคราะห์จากเรื่องราว ความสำคัญของการคิดวิเคราะห์จากเรื่องราว
3. กิจกรรมการคิดวิเคราะห์จากเรื่องราว โดย แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 9 กลุ่ม ให้ดูคลิปวิดีโอ โครงการโตไปไม่โกง เรื่อง โดนัท
4. ให้แต่ละกลุ่มวิเคราะห์เรื่องราวจากวิดีโอ ได้แก่ สถานการณ์ที่เกิดขึ้น สาเหตุ ปัญหา และแนวทางแก้ไขในมุมมองของตัวละคร และมุมมองของกลุ่ม
5. วิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มให้คำปรึกษาและสังเกตการณ์อย่างใกล้ชิด
6. นำเสนอผลการวิเคราะห์ของแต่ละกลุ่มและวิพากษ์
7. วิทยากรสรุปกิจกรรมการวิเคราะห์จากเรื่องราว และผุ้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
ผลผลิตที่ได้จากกิจกรรมการวิเคราะห์จากเรื่องราว คือ ผลงานการระดมสมองวิเคราะห์จากเรื่องราว จำนวน 9 ผลงาน
ผลผลิตที่ได้จากกิจกรรมการคิดวิเคราะห์เชิงภาษา คือ ผลงานร้อยเนื้อทำนองเดียว จำนวน 9 ผลงาน
ผลลัพธ์ ผู้เรียนสามารถอธิบายหลักการสำคัญของกระบวนการคิดได้
อธิบายทักษะการคิดระดับสูงได้
อธิบายวิธีการนำการคิดระดับสูงไปปรับใช้ในงานอาชีพได้
ตระหนักในความสำคัญของการพัฒนาทักษะการคิดระดับสูงได้
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง (ต่อ) |
4 พ.ย. 2565 |
4 พ.ย. 2565 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้ และกิจกรรมเตรียมความพร้อม
2.วิทยากรบรรยาย ทฤษฏี การคิดนอกกรอบ ลักษณะสำคัญ วิธีการคิด และการนำไปประยุกต์ใช้
- แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 9 กลุ่ม ประจำวันโดยคละสมาชิกใหม่
- กิจกรรมคิดได้ไง ให้แต่ละกลุ่มแสดงบทบาทสมมุติเป็นสายการบิน สร้างเครื่องบินกระดาษมาแข่งกัน โดยวิทยากรร่วมแสดงบทบาทสมมุติด้วย สุดท้ายวิทยากรขยำกระดาษเป็นก้อนกลม เมื่อขว้างไปทำให้ไปได้ไกลกว่า ซึ่งสรุปได้ว่า เครื่องบินจะมีลักษณะใดก็ได้ เพียงแต่ขอให้บินไปถึงจุดหมาย
- วิทยากรให้ดูคลิปวิดีโอ เรื่อง เปลี่ยนแล้วรวย แล้วเชื่อมโยงเข้ากับการคิดนอกกรอบ
- มอบหมายงานแต่ละกลุ่ม ให้โจทย์กิจกรรมคิดนอกกรอบ รถไฟฟ้ามาหานะเธอ โดยรอบที่หนึ่ง ให้แต่ละกลุ่มสร้างรางรถไฟจากอุปกรณ์ที่แจกให้แบบต่างคนต่างทำ รอบที่สอง ให้แต่ละกลุ่มนำรางรถไฟของตนเชื่อมโยงเข้าด้วยกันโดยรางรถไฟในรอบแรกไม่เคลื่อนย้ายไปไหน รอบที่สามให้หัวหน้ากลุ่มสวมบทบาทสมมุติเป็นวิศวกร มาร่วมกันเชื่อมรางแต่ละกลุ่ม สุดท้ายวิทยากรจะทดสอบรางรถไฟโดยใช้ลูกปิงปองซึงจะต้องกลิ้งผ่านรางของทุกกลุ่มเป็นรางเดียวได้สะดวก
- วิทยากรและผู้เรียนสรุปร่วมกันถึงการคิดนอกกรอบและการประยุกตใช้
- ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
- ผู้เรียนเกิดการยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้อื่น ความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา
- ผู้เรียนสามารถอธิบายวิธีการนำการคิดระดับสูงไปปรับใช้ในงานอาชีพได้
- การแบ่งกลุ่มโดยคละบุคคลทุกครั้ง ทำให้ผู้เรียนแต่ละคนได้พบปะกับเครือข่ายอื่น ๆ ที่จะต้องทำงานร่วมกันในอนาคต (ไม่เคยมาทำกิจกรรมอย่างใกล้ชิดกันมาก่อน) การกิจกรรมร่วมกัน ทำให้เกิดความสัมพันธ์อันดี ที่จะเป็นพื้นฐานความร่วมมือในอนาคตได้
- กิจกรรมคิดได้ไง สรุปได้ว่า เราควรมุ่งเป้าหมายความสำเร็จ โดยไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงวิธีการเดิม ๆ สามารถนำไปขยายผลในการคิดค้นนวัตกรรมพัฒนางานอาชีพได้
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 |
5 พ.ย. 2565 |
5 พ.ย. 2565 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้ และกิจกรรมเตรียมความพร้อม
- วิทยากรบรรยายความหมายของความคิดสร้างสรรค์ ระบวนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ และเครื่องมือที่ช่วยพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
- วิทยากรบรรยาย ทฤษฏี หมวกหกใบ ความสำคัญ วิธีการ และการนำไปประยุกต์ใช้
- แบ่งกลุ่มผู้เรียนออกเป็น 9 กลุ่ม มอบหมายโจทย์ ให้ตัดสินใจ การปลูกทุ่งดอกทานตะวันบริเวณสำนักงานเทศ่บาลเมืองกระทุ่มแบน
- ให้แต่ละกลุ่มตัดสินใจโดยใช้กระบวนการหมวกหกใบ โดยสวมบทบาทหมวกทีละใบ พร้อมวาดภาพประกอบ วิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มดูแลให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
- นำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนทีละกลุ่ม
- วิทยากรวิพากษ์ ให้ข้อเสนอแนะ และสรุปบทเรียน
- ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด และนำผลงานไปติดแสดงไว้หน้าชั้นเรียน
|
|
- มีผลงานความคิดสร้างสรรค์ที่มาจากกระบวนการหมวกหกใบ จำนวน 9 ผลงาน
- ผู้เรียน จำนวน 45 คน สามารถใช้เครื่องมือหมวกหกใบในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานได้
- เกิดความร่วมมือภายในกลุ่มที่มีวัยวุฒิ คุณวุฒิที่แตกต่างกัน และมาจากหลากหลายหน่วยงาน
- หมวกหกใบเป็นเครื่องมือในการลดความขัดแย้งในการทำงาน
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 (ต่อ) |
11 พ.ย. 2565 |
11 พ.ย. 2565 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้ และกิจกรรมเตรียมความพร้อมและแบ่งกลุ่มประจำวัน
- วิทยากรบรรยาย ทฤษฏี หลักการ วิธีการเขียน Mind map และการประยุกต์ใช้ พร้อมยกตัวอย่าง
- วิทยากรให้โจทย์ การนำเสนอ ชีวะประวัติเพื่อแนะนำตนเองผ่าน Mind map เป็นรายบุคคล
- ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์ สังเคราะห์ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ข้อมูลเพื่อนำมาเขียนเป็น Mind map โดยมีวิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มดูแล ให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
- ผู้เรียนฝึกปฏิบัติการเขียน Mind map และนำเสนอหน้าชั้นเรียนเป็นรายบุคคล
- วิทยากรวิพากษ์ ให้ข้อเสนอแนะ สรุปเนื้อหาและการประยุกต์ใช้
- ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
- ผลงาน mind map เรื่อง การแนะนำตนเองของผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 45 เรื่อง
- ผู้เรียนได้ทำความรู้จักกันมากยิ่งขึ้น เพื่อเป็นพื้นฐานของเครือข่ายความร่วมมือการพัฒนางานของตนในอนาคต
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 (ต่อ) |
12 พ.ย. 2565 |
12 พ.ย. 2565 |
|
ปฏิบัติ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
|
|
ได้ข้อเสนอแนะในการ ปรับปรุงการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 (ต่อ) |
18 พ.ย. 2565 |
18 พ.ย. 2565 |
|
เทคนิคการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงาน
1. ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายและจรรยาบรรณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2. ความรู้และทักษะการใช้ Line ในการทำงาน
ฝึกปฏิบัติการสื่อสารด้วยภาพ การตกแต่งภาพสวัสดี ด้วยการถ่ายภาพ การใส่ตัวอักษร และประยุกต์ใช้ในการรายงานด้วยภาพ
ฝึกปฏิบัติการเขียนบท การสมัครแอบพลิเคชันและถ่ายทำคลิป Tiktok แนะนำหลักสูตร
3. ความรู้และทักษะการใช้ Zoom ในการทำงาน
สาธิตการทำงานด้วยเอกสารรูปแบบต่าง ๆ
4. ความรู้และทักษะการใช้ Google ในการทำงาน
สาธิตการทำแบบประเมินด้วย Google Form และ QR Code
|
|
2.1 บอกวิธีการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้ถูกต้อง
2.2 บอกเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้
2.3 อธิบายความแตกต่างของเครื่องมือพัฒนาความคิดสร้างสรรค์แต่ละชนิดได้
2.4 เลือกใช้เครื่องมือพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้เหมาะสมกับงาน
2.5 ใช้เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างคล่องแคล่ว
2.6 ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
งานรายบุคคล : ภาพสวัสดียามเช้า ส่งในกลุ่ม Line
งานกลุ่ม : กิจกรรมสะท้อนคิดโดยการใช้คลิป Tiktok
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ |
19 พ.ย. 2565 |
19 พ.ย. 2565 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายบัดดี้
- วิทยากรบรรยายการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัว การวิเคราะห์โจทย์ปัญหา การแก้ไขโจทย์ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- แบ่งกลุ่มนักเรียนออกเป็น 9 กลุ่ม กลุ่มละ 5 คน
- มอบหมายให้แต่ละกลุ่มระดมสมองแก้ปัญหาจากโจทย์ "งานลอยกระทงที่ผ่านมา พบว่ามีสถานการณ์หรือปัญหาอะไรบ้าง " เป็นเวลา 60 นาที โดยใช้ วิธีการ Talking Sharing Discussion Solution Creativity
- เมื่อครบเวลาแล้วให้ให้แต่ละกลุ่มประชุมระดมสมอง วิเคราะห์โจทย์ปัญหาที่ไปสังเกตสิ่งแวดล้อมมา ว่าโจทย์ปัญหาที่พบนั้นเป็นปัญหาหรือสาเหตุ และเป็นโจทย์ที่ควรแก่การใช้ความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขหรือไม่ วิทยากรพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาประจำกลุ่ม
- แต่ละกลุ่มเมื่อได้โจทย์ปัญหาแล้ว ให้เขียนเรียบเรียงความคิดออกมาเป็น Mind map ถึงวิธีการให้มาซึ่งโจทย์ปัญหานั้น และแนวทางแก้ไข
- แนวทางการแก้ไขต้องมีมากกว่า 3 หนทาง และเป็นแนวทางใหม่ ใช้ความคิดสร้างสรรค์
- แต่ละกลุ่มนำเสนอโจทย์ และแนวทางแก้ไข
|
|
ข้อสรุปที่ได้จากกิจกรรม มี ดังนี้
1. โจทย์จากสถานการณ์ในพื้นที่จริง
2. แนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์จากการสังเกตสถานการณ์จริง
3. ผู้เรียนค้นหาปัญหา วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของปัญหาในงานอาชีพได้
4. ผู้เรียนออกแบบวิธีการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ได้หลากหลายวิธีการ
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ (ต่อ) |
25 พ.ย. 2565 |
25 พ.ย. 2565 |
|
- กิจกรรมอ่านจดหมายถึงบัดดี้
- บรรยายกระบวนการสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล การสัมภาษณ์ เพื่อวิเคราะห์ปัญหา ค้นหาปัญหา แก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
- ให้ผู้เรียนนั่งตามกลุ่มเดิม ทบทวนงานเดิมเมื่อสัปดาห์ก่อนหน้านี้เพื่อนำข้อมูลมาใช้ ฝึกปฏิบัติการวิเคราะห์คัดเลือกแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ดีที่สุด
- ให้แต่ละกลุ่มออกแบบและสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เช่น แบบสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาความเป็นไปได้ในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามที่ได้เสนอไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว
- วิทยากรประจำกลุ่มให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
- เมื่อแต่ละกลุ่มสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเพื่อหาความเป็นไปได้ในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์แล้ว ให้เวลา 60 นาที ให้ไปดำเนินการเก็บข้อมูล
- เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วให้แต่ละกลุ่มฝึกการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา แล้วนำมาปรับปรุงแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นให้สมบูรณ์
- วิทยากรสรุป และสะท้อนคิด
|
|
- ผู้เรียนประเมินทางเลือกในการแก้ไขปัญหาได้อย่างถูกต้อง
- ผู้เรียนสร้างเครื่องมือการเก็บข้อมูลได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ ได้
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ (ต่อ) |
26 พ.ย. 2565 |
26 พ.ย. 2565 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้และกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน
- ผู้เรียนนั่งตามกลุ่มเดิม
- ปฏิบัติการจัดทำแบบจำลองความคิดในการแก้ไขปัญหาต่อ
- วิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มให้คำปรึกษา แนะนำอย่างใกล้ชิด เกี่ยวกับการออกแบบจำลองความคิด การเลือกใช้วัสดุ เป็นต้น
- วิทยากรสรุปบทเรียน และตรวจสอบผลงาน
- ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
- แบบจำลองความคิดจำนวน 6 กลุ่ม เนื่องจากผู้เรียนขอจับกลุ่มตามกลุ่มสังกัด ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มครูเด็กเล็ก กลุ่มครูเทศบาล กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่ม อสม. และกลุ่มพนักงานเทศบาล
- ผู้เรียนสามารถออกแบบจำลองความคิดของตนเองได้
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ (ต่อ) |
16 ธ.ค. 2565 |
16 ธ.ค. 2565 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายบัดดี้
- บรรยายกระบวนการสร้างแบบจำลองความคิด
- ให้ผู้เรียนนั่งตามกลุ่มเดิมจำนวน 9 กลุ่ม
- ทบทวนงานเดิม ให้แต่และกลุ่มสร้างแบบจำลองความคิดแนวทางการแก้ไขปัญหาจากสภาพและสถานการณ์แวดล้อม
- วิทยากรประจำกลุ่มให้คำปรึกษาและดูแลใกล้ชิด
- แต่ละกลุ่มนำเสนอแนวคิดการแก้ไขปัญหาจากสภาพและสถานการณ์แวดล้อมด้วยแบบจำลองความคิด
- วิทยากรสรุป และผู้เรียนสะท้อนคิด
|
|
- แบบจำลองความคิดจากการแก้ไขปัญหาจากสภาพและสถานการณ์แวดล้อม จำนวน 9 ชิ้นงาน
- ผู้เรียนได้รู้จักวิธีการสร้างแบบจำลองความคิด
- ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการแก้ไขปัญหา
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 5 การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาองค์กร |
17 ธ.ค. 2565 |
17 ธ.ค. 2565 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
- วิทยากรบรรยาย ความรู้เกี่ยวกับนวัตกรรมและกระบวนการพัฒนานวัตกรรม
- การเสวนา การพัฒนาองค์กร โจทย์ปัญหาการพัฒนาองค์กร การค้นหาปัญหาและวิธีการแก้ไขปัญหา โดย ผู้บริหารเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน
- ผุู้บริหารเทศบาลเมืองกระทุ่มแบนให้นโยบายการพัฒนาองค์กร
- ถอดบทเรียน ค้นหาโจทย์การพัฒนาองค์กร
- วิทยากรสรุปโจทย์การพัฒนาองค์กร
- ผู้เรียนสะท้อนคิด
|
|
- จากการเสวนา ผู้บริหารเทศบาลเมืองกระทุ่มแบนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญและประโยชน์ของโครงการในครั้งนี้ จึงจัดตั้งและจัดทำระเบียบชมรมแลกยิ้มสร้างรักขึ้น เพื่อรองรับโครงการนวัตกรรมที่ผู้เรียนหลักสูตร Non-Degree หลักสูตรบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานในศตวรรษที่ 21 ได้พัฒนาขึ้น โดยวางกรอบการพัฒนาไว้ 4 กรอบ ดังนี้ 1.สิ่งแวดล้อม 2. สุขภาพของประชาชน 3. ผู้สูงอายุ 4. สมุนไพร
- ผู้เรียนวางแผนพัฒนานวัตกรรมเพื่อแก้ไขปัญหาในงานอาชีพได้
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 5 การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาองค์กร (ต่อ) |
23 ธ.ค. 2565 |
23 ธ.ค. 2565 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
- แบ่งผู้เรียนออกเป็น ุ6 กลุ่ม ตามกลุ่มงาน ประกอบด้วย กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มที่ 2 กลุ่มครูเด็กเล็ก กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มที่ 4 กลุ่ม อสม. กลุ่มที่ 5 กลุ่มพนักงานเทศบาล กลุ่มที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลดอนไก่ดี
- วิทยากร และตัวแทนชุมชน เสวนาการค้นหาโจทย์ปัญหาออกแบบความคิดเพื่อสร้างทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอย่างหลากหลาย
- วิทยากรบรรยาย เรื่อง การประเมินแนวคิดเพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นไปได้
- ผู้เรียนแต่ละกลุ่มระดมสมอง การประเมินแนวคิดการแก้ไขปัญหาเพื่อให้ได้ทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นไปได้
- วิทยากรพี่เลี้ยงเข้าให้คำปรึกษาประจำกลุ่ม
- แต่ละกลุ่มนำเสนอโจทย์ปัญหาและแนวคิดการแก้ไขปัญหาที่เป็นไปได้
- วิทยากรวิพากษ์
|
|
โจทย์ปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหา ที่ผู้เรียนแต่ละกลุ่มพัฒนาขึ้นตามกรอบนโยบายชมรมแลกยิ้มสร้างรักของเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้นำชุมชน = โจทย์แก้ปัญหาขยะในคลองภาษีเจริญ วิธีการแก้ไขปัญหา โดยจัดทำโครงการแพลูกบวบกำจัดขยะ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มครูเด็กเล็ก = โจทย์การปลูกฝังจิตพิสัยการทิ้งขยะ วิธีการแก้ไขปัญหา รูปแบบวิธีการแยกขยะสำหรับเด็กอนุบาล
กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้สูงอายุ = โจทย์การพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุ วิธีการแก้ไขปัญหา โครงการส่งเสริมและพัฒนาจิตใจผู้สูงอายุตามแนวทางวิถีพุทธ
กลุ่มที่ 4 กลุ่ม อสม. = โจทย์การพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน วิธีการแก้ไขปัญหา โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุออนไลน์
กลุ่มที่ 5 กลุ่มพนักงานเทศบาล = โจทย์การพัฒนาคุณภาพการบริการงานเทศบาล วิธีการแก้ไขปัญหา โครงการ Smart กระทุ่มแบน
กลุ่มที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลดอนไก่ดี = โจทย์การกำจัดขยะเศษอาหารเปียกในโรงอาหารโรงเรียน วิธีการแก้ไขปัญหา เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารและผลิตปุ๋ยอินทรีย์
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 5 การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาองค์กร (ต่อ) |
24 ธ.ค. 2565 |
24 ธ.ค. 2565 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
- วิทยากรบรรยายเทคนิควิธีการเขียนโครงการ การวางแผนและสร้างต้นแบบเพื่อพัฒนางานอาชีพ เครื่องมือการบริหารโครงการ
- ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทบทวนงานเดิม และนำแนวคิดวิธีการแก้ปัญหา มาเขียนเป็นโครงการนวัตกรรมที่พร้อมดำเนินการ เพื่อนำเสนอแก่ผู้บริหารเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน
- วิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มให้คำปรึกษาแนะนำอย่างใกล้ชิด
- ผู้เรียนนำเสนอโครงการนวัตกรรมสมบูรณ์ และเครื่องมือบริหารโครงการด้วยแผนกองทัพ
- วิทยากรให้ข้อเสนอแนะในการเขียนโครงการนวัตกรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
- วิทยากรสรุป และผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
ผลผลิตที่ได้คือ โครงการนวัตกรรมฉบับสมบูรณ์ที่พร้อมนำไปดำเนินการของผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 6 ฉบับ ได้แก่ มีดังนี้
กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้นำชุมชน = โครงการแพลูกบวบกำจัดขยะ
กลุ่มที่ 2 กลุ่มครูเด็กเล็ก = โครงการวิธีการแยกขยะสำหรับเด็กอนุบาล
กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้สูงอายุ = โครงการส่งเสริมและพัฒนาจิตใจผู้สูงอายุตามแนวทางวิถีพุทธ
กลุ่มที่ 4 กลุ่ม อสม. = โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุออนไลน์
กลุ่มที่ 5 กลุ่มพนักงานเทศบาล = โครงการ Smart กระทุ่มแบน
กลุ่มที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลดอนไก่ดี = เครื่องกำจัดขยะเศษอาหารและผลิตปุ๋ยอินทรีย์
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 5 การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาองค์กร (ต่อ) |
6 ม.ค. 2566 |
6 ม.ค. 2566 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
- ผู้เรียนแต่ละกลุ่มทบทวนงานเดิมนำแนวคิดนวัตกรรมวิธีการแก้ปัญหา มาเขียนสร้างต้นแบบนวัตกรรมเพื่อพัฒนางานอาชีพของตน
- วิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มให้คำปรึกษาแนะนำอย่างใกล้ชิด
- ผู้เรียนนำเสนอแบบจำลองต้นแบบนวัตกรรมตามโครงการ
- วิทยากรให้ข้อเสนอแนะในการจัดทำแบบจำลองต้นแบบนวัตกรรม
- วิทยากรสรุป และผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
ผลผลิตที่ได้คือ แบบจำลองต้นแบบนวัตกรรมผู้เข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 6 แบบ ได้แก่
กลุ่มที่ 1 กลุ่มผู้นำชุมชน ต้นแบบนวัตกรรมการกำจัดขยะในคลองภาษีเจริญด้วยแพลูกบวบแบบซิกแซก
กลุ่มที่ 2 กลุ่มครูเด็กเล็ก ต้นแบบการนำขยะของเหลือใช้มาประดิษฐ์เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่
กลุ่มที่ 3 กลุ่มผู้สูงอายุ ร่างหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพจิตใจผู้สูงอายุตามวิถีพุทธ
กลุ่มที่ 4 กลุ่ม อสม. ร่างหลักสูตรการพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในชุมชนด้วยการออนไลน์
กลุ่มที่ 5 กลุ่มพนักงานเทศบาล ต้นแบบอุปกรณ์การประเมินความพึงพอใจผู้ใช้บริการแบบเรียลไทม์
กลุ่มที่ 6 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลดอนไก่ดี ต้นแบบเครื่องกำจัดขยะและผลิตปุ๋ยอินทรีย์
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 6 การประเมินผลนวัตกรรมสร้างสรรค์และเสนอผลงาน |
7 ม.ค. 2566 |
7 ม.ค. 2566 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
- วิทยากรบรรยาย เรื่อง ความหมาย ความสำคัญของการประเมินผลโครงการ วิธีการนำเสนองานสร้างสรรค์ วิธีการประเมินนวัตกรรม วิธีการวิพากษ์งานอย่างสร้างสรรค์
- ผู้เรียนแต่ละกลุ่มเตรียมผลงานแบบจำลองต้นแบบ อุปกรณ์ สื่อการนำเสนอ วางแผนการนำเสนอ ซักซ้อมวิธีการนำเสนออย่างสร้างสรรค์
- วิทยากรประจำกลุ่มให้คำปรึกษาดูแลอย่างใกล้ชิด
- วิทยากรสรุปและผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
- ผู้เรียนสามารถบอกความหมาย ความสำคัญของการประเมินผลโครงการ วิธีการนำเสนองานสร้างสรรค์ วิธีการประเมินนวัตกรรม วิธีการวิพากษ์งานอย่างสร้างสรรค์
- ผู้เรียนมีความเป็นนวัตกร
- มีคุณธรรมจริยธรรมในงานอาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนางานอาชีพ
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 6 การประเมินผลนวัตกรรมสร้างสรรค์และเสนอนำผลงาน (ต่อ) |
13 ม.ค. 2566 |
13 ม.ค. 2566 |
|
- วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
- วิทยากรชี้แจงแบบประเมินนวัตกรรม ผู้เรียนทั้ง 6 กลุ่ม เตรียมผลงาน ซักซ้อมเทคนิคการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
- ผู้เรียนทั้ง 6 กลุ่ม ฝึกปฏิบัติการประเมินนวัตกรรมและการวิพากษ์ผลงาน
- วิทยากรให้ข้อเสนอแนะ และผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
|
|
ผู้เรียนทั้ง 6 กลุ่ม ได้ซักซ้อมการนำเสนอผลงานนวัตกรรมเทคนิคการพูด การนำเสนอสิ่งสำคัญของนวัตกรรม และฝึกการประเมินนวัตกรรม
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 6 การประเมินผลนวัตกรรมสร้างสรรค์และเสนอนำผลงาน (ต่อ) |
14 ม.ค. 2566 |
14 ม.ค. 2566 |
|
- กิจกรรมเฉลยบัดดี้
- กิจกรรมนำเสนอนวัตกรรมโดยผู้เรียน และการประเมินนวัตกรรมและวิพากษ์โดยผู้บริหารเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จำนวน 5 คน
- แต่ละกลุ่มมีเวลานำเสนอ 15 นาที โดยต้องนำเสนอประกอบแบบจำลองความคิด หรือแบบจำลองนวัตกรรม
- ผู้บริหารเทศบาล ให้คะแนนและวิพากษ์
- วิทยากรสรุปโครงการ และผู้เข้ารับการฝึกอบรมเขียนสะท้อนคิด
- ผู้เข้ารับการฝึกอบรมทำแบบทดสอบภาคทฤษฏี และแบบประเมินความคิดสร้างสรรค์ (Post-test)
|
|
จากการดำเนินกิจกรรม มีผู้ฝึกอบรมนำเสนอนวัตกรรม จำนวน 6 กลุ่ม ดังนี้
1 กลุ่มผู้นำชุมชน โครงการแพลูกบวบกำจัดขยะ
2 กลุ่มครูเด็กเล็ก โครงการแยกขยะสำหรับเด็กอนุบาล
3 กลุ่มผู้สูงอายุ โครงการส่งเสริมและพัฒนาจิตใจผู้สูงอายุตามวิถีพุทธ
4 กลุ่มอสม. โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบออนไลน์
5 กลุ่มเจ้าหน้าที่เทศบาล โครงการแก้ปัญหาการบริการภายในเทศบาล
6 กลุ่มโรงเรียนเทศบาลดอนไก่ดี โครงการเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารและผลิตปุ๋ยอินทรีย์
ในการประเมินนวัตกรรม ใช้แบบประเมินนวัตกรรมสร้างสรรค์โครงการหลักสูตร Non-Degree หลักสูตรบูรณาการความคิดสร้างสรรคเพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานในศตวรรษที่ 21 ผู้ประเมินเป็นผู้บริหารระดับสูงของเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน 5 ท่าน ประกอบด้วย นายนิวัตน์ ขวัญบุญ นายกเทศมนตรี นางสาวชนิดาภา นิลภูศรีปลัดเทศบาล นายเจษฏา จิราสุคนธ์ รองปลัดเทศบาล นางสาววรรณชนก บุญญะโสภัต ผู้อำนวยการกองสวัสดิการสังคม และนายบรรพต กิจรุ่งเรืองกุล สมาชิกสภาเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน
ส่วนวิธีการประเมิน ให้แต่ละกลุ่มนำเสนอโครงการ พร้อมด้วยแบบจำลองความคิดหรือแบบจำลองต้นแบบนวัตกรรม กลุ่มละ 15 นาที ในขณะที่แต่ละกลุ่มนำเสนอนั้น ได้รับความสนใจจากผู้บริหารที่มาเป็นผู้ประเมินอย่างยิ่ง โดยได้ซักถามและตรวจสอบแบบจำลองความคิดอย่างใกล้ชิด ซึ่งในการนี้ นายนิวัตน์ ขวัญบุญ และ นางสาวชนิดาภา นิลภูศรี ปลัดเทศบาล ได้เล็งเห็นความสำคัญของโครงการนวัตกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรม จึงจะสนับสนุนการดำเนินงานของโครงการนวัตกรรม และจะขยายผลโดยนำไปบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติงานประจำปีของเทศบาลเมืองกระทุ่มแบนต่อไป
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 7 การฝึกทักษะในองค์กร |
17 ม.ค. 2566 |
17 ม.ค. 2566 |
|
- เชิญประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
- ติดตาม ซักถามพูดคุย ถึงพฤติกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการทำงาน และการดำเนินงานนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้น
- วิทยากรไปสังเกตพฤติกรรมการปฏิบัติงานในสถานที่ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในสถานการณ์จริง
- สรุปผลวิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มให้คำปรึกษา แนะนำอย่างใกล้ชิด เกี่ยวกับการออกแบบจำลองความคิด การเลือกใช้วัสดุ
|
|
- ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อให้ความเห็นในการปฏิบัติงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรมในแนวโน้มที่ดี
- นวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นจะได้รับการบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติงานประจำปี
- โครงการนวัตกรรมการพัฒนาจิตใจผู้สูงอายุตามแนววิถีพุทธ ของกลุ่มผู้สูงอายุ มีการขยายผล โดยผู้นำกลุ่ม ดร.สุพรรณพิมพ์ ได้นำไปเสนอให้กับ มจร.
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 7 การฝึกทักษะ (ต่อ) |
20 ม.ค. 2566 |
20 ม.ค. 2566 |
|
ติดตามการฝึกทักษะในองค์กรโดยการสังเกตพฤติกรรมและสัมภาษณ์หัวหน้างาน
|
|
ผลการติดตามโดยการสังเกตพฤติกรรมและสัมภาษณ์หัวหน้างาน พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีอารมณ์ดี มีทัศนคติที่ดีในการทำงาน มีมนุษยสัมพันธ์ และมีความคิดสร้างสรรค์
|
|
ฝึกอบรมโมดูลที่ 7 การฝึกทักษะ (ต่อ) |
24 ม.ค. 2566 |
24 ม.ค. 2566 |
|
- ติดตามการฝึกทักษะในองค์กรด้วยการสังเกตพฤติกรรม
- สัมภาษณ์หัวหน้างาน
- สัมภาษณ์เพื่อนร่วมงาน
|
|
ผลการติดตามโดยการสังเกตพฤติกรรมและสัมภาษณ์หัวหน้างาน พบว่า ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถแก้ไขปัญหาในสถานการณ์จริง หรือปัญหาขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพของตนได้ มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ในการทำงานในศตวรรษที่ 21 และมีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพของตน มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนางานและภาคภูมิใจในความเป็นนวัตกร
|
|
ประชุมสรุปผลการฝึกอบรมและมอบประกาศนียบัตร |
27 ม.ค. 2566 |
27 ม.ค. 2566 |
|
- ประชุมผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ได้แก่ ผู้เข้ารับการฝึกอบรม ผู้บริหารเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน ผู้ร่วมงานของผู้เข้ารับการฝึกอบรม
- ประเมินผลการฝึกอบรม ด้วยแบบประเมินความพึงพอใจในการฝึกอบรม
- แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการฝึกอบรมและหลักสูตร
- สรุปผลการประชุม
- พิธีปิดการฝึกอบรม และมอบประกาศนียบัตรโดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
|
|
มีผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีจำนวน 45 คน เข้ารับประกาศนียบัตร 45 คน
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีดังนี้
1 ท่านสามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการเข้าร่วมการฝึกอบรม ไปประยุกต์ใช้ได้ในชีวิตจริง 4.80 มากที่สุด
2 ท่านอยากให้จัดกิจกรรมเช่นนี้อย่างต่อเนื่อง 4.95 มากที่สุด
3 ท่านมีความพึงพอใจที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมแต่ละครั้ง 4.91 มากที่สุด
4 วิทยากรมีความรู้ ความสามารถในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง 4.99 มากที่สุด
5 วิทยากรเปิดโอกาสให้ท่านได้ซักถาม แสดงความพึงพอใจ แลกเปลี่ยนความรู้ในการจัดกิจกรรมแต่ละครั้ง 4.98 มากที่สุด
ข้อเสนอแนะจากผู้เข้าฝึกอบรม มีดังนี้
เป็นกิจกรรมที่ดีมาก มีประโยชน์ นำไปใช้ได้จริง อยากให้จัดฝึกอบรมแบบนี้อีกบ่อย ๆ เป็นกิจกรรมที่รอคอยอยากให้ถึงเวลาฝึกอบรมไวไว ได้หัวเราะได้ออกกำลังกาย ได้เข้าสังคมรู้จักเพื่อนเพิ่มขึ้น มีเครือข่ายในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์แบบไม่รู้ตัวจากง่ายไปยาก เอาไปประยุตก์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ๆ
ความคิดเห็นจากเทศบาลเมืองกระทุ่มแบนที่มีต่อคุณภาพบัณฑิต มีดังนี้ (เป็นไปตามทักษะ สมรรถนะ ที่สถานประกอบการคาดหวังหรือไม่ อย่างไร)
หลักสูตรบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 เป็นหลักสูตรที่ดีมากทางเทศบาลเมืองกระทุ่มแบนมีความพึงพอใจอย่างยิ่งต่อการส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ บุคลากรมีทักษะและสมรรถนะตามที่คาดหลัง บุคลากรมีความเต็มใจ ตระหนักในความสำคัญของหลักสูตรโดยมีความสนใจ กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการฝึกอบรมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นโครงการเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน กิจกรรมในการฝึกอบรมมีความใหม่ มีการบูรณาการความรู้ระหว่างกลุ่มหน่วยงานภายในองค์กร ทักษะที่ฝึกอบรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง ทำให้บุคลากรสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาพัฒนางานได้ และนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนั้นเป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการในท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการพัฒนาชุมชนได้จริงและนำโครงการนวัตกรรมไปต่อยอดได้อย่างหลากหลายวิธีการ
ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน มีดังนี้
1) ข้อเสนอแนะด้านเนื้อหาของหลักสูตรและรูปแบบการฝึกอบรม
พบว่า เนื้อหาหลักสูตรและกิจกรรมในหลักสูตร ตรงกับวัตถุประสงค์ในระดับดีมาก ระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสม ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีทักษะและสมรรถนะตรงกับความต้องการขององค์กร หลักสูตรเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับดีมาก และสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมาก จึงกล่าวได้ว่าด้านการจัดอบรมได้รับความพึงพอใจในระดับที่ดีมาก และข้อเสนอแนะที่ได้รับคือเป็นหลักสูตรที่มีการสอนและประยุกต์หลายรายวิชา ทั้งในภาคทฤษฎีและปฎิบัติ เรียนจากง่ายไปยาก และใช้วิธีการสอนผ่านกิจกรรม จึงเหมาะสมสำหรับผู้เข้าอบรมครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง
2) ด้านวิทยากร
พบว่า วิทยากรความสามารถในการถ่ายทอด/สื่อสาร/ความเข้าใจของวิทยากร การเรียงลำดับบรรยายเนื้อหาได้ครบถ้วน การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น การตอบคำถามได้ตรงประเด็นและชัดเจนทั้งหมดอยู่ในระดับดีมาก มีเทคนิคการสอนที่ดีทำให้ไม่น่าเบื่อ เข้าใจง่าย และข้อเสนอแนะที่ได้รับคือวิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงตามการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถสร้างนวัตกรรมได้
3) ข้อเสนอแนะอื่นๆ
พบว่า เป็นโครงการที่ทำให้เกิดความร่วมมือ และลดช่องว่างระหว่างเทศบาลและชุมชน เกิดความสามัคคี นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเกิดจากการสะท้อนปัญหาของชุมชน และเป็นความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง จึงสามารถนำนวัตกรรมไปพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างตรงเป้าหมาย และจะสนับสนุนนำไปบรรจุไว้ในแผนการพัฒนาท้องถิ่นในปีถัดไป
|
|
ประชุม online คณะวิทยากรร่วมกับผู้ประสานงานโครงการของเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน |
28 ม.ค. 2566 |
28 ม.ค. 2566 |
|
1
|
|
1
|
|
โมดูล 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน |
18 ส.ค. 2566 |
18 ส.ค. 2566 |
|
- พิธีเปิดการฝึกอบรม โดยรองนายกเทศมนตรีตำบลบางกระทึก นางประภาศรี หรั่งบุญลือ
- ปฐมนิเทศ ชี้แจงรายละเอียดของโครงการ เป้าหมาย วิธีการฝึกอบรม กิจกรรม และให้ผู้ฝึกอบรมทำแบบทดสอบระดับความคิดสร้างสรรค์ (Pre-Test)
- ดำเนินการฝึกอบรมโมดูลที่ 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน บรรยายเกี่ยวกับความสำคัญของความคิดสร้างสรรค์ การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์มาใช้ในการทำงาน
- กิจกรรมการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานที่ 1 การละลายพฤติกรรม ด้วยการแนะนำตัว เกมที่สร้างความสัมพันธ์ การทำความรู้จัก การฝึกสมองซ้ายขวา สรุปกิจกรรมด้วยการบรรยายเรื่องการทำงานของสมอง
- กิจกรรมการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานที่ 2 การสร้างความสามัคคีและความสัมพันธ์ สรุปกิจกรรมด้วยการบรรยายการเรื่องการสร้างมนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน
- กิจกรรมการพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐานที่ 3 กิจกรรมบัดดี้ จับคู่ดูแลกันตลอดทั้งหลักสูตร โดยวิทยากรทุกคนเข้าร่วมเล่นด้วยเพื่อสร้างความสัมพันธ์อันดีกับกลุ่มผู้ฝึกอบรม
- ผู้ฝึกอบรมทำแบบสะท้อนคิด
หมายเหตุ กระบวนการฝึกอบรมจะต้องลดช่องว่างความแตกต่าง ต่าง ๆ ของผู้เข้ารับการฝึกอบรม เมื่อผู้รับการฝึกอบรมลดความเครียดจะทำให้การฝึกทักษะความคิดสร้างสรรค์ต่าง ๆ ได้ดีขึ้น
|
|
ผู้เข้ารับการฝึกอบรมเป็นบุคลากร เจ้าหน้าที่ของเทศบาลตำบลบางกระทึก ได้แก่ ผู้บริหารหลายระดับ บุคลากรระดับปฏิบัติการ สท. ผู้นำชุมชน ซึ่งมีความหลากหลาย แตกต่างกันในด้านคุณวุฒิ วัยวุฒิ และตำแหน่งหน้าที่ในการทำงาน
1. ผล Pre-test จากแบบทดสอบระดับความคิดสร้างสรรค์ ส่วนใหญ่มีความคิดสร้างสรรค์อยู่ในระดับต่ำ
2. ผลจากการทำกิจกรรมในวันนี้ จากการสังเกต พบว่า ผู้บริหารให้การสนับสนุน ผู้รับการฝึกอบรม มีพฤติกรรมให้ความร่วมมือ
3. ผลจากการสะท้อนคิด พบว่า ผู้รับการฝึกอบรม มีความสนุกสนาน มีความสุข
|
|
โมดูล 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน |
19 ส.ค. 2566 |
19 ส.ค. 2566 |
|
หัวข้อการคิดรวดเร็ว การคิดละเอียดละออ และการคิดเชื่อมโยง
1. วิทยากรอ่านจดหมายของบัดดี้
2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5 – 6 คน แต่ละกลุ่มนั่งเป็นวงกลม
3. ผู้สอนแจกแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วให้แก่ผู้เรียนทุกคน
คำสั่งที่ให้กับผู้เรียน มีดังนี้ แบบฝึกหัดที่แจกให้มีวงกลมอยู่ 12 วง ให้ผู้เรียนนึกถึงวงกลมแล้ววาดภาพสิ่งของที่มีวงกลมเป็นส่วนประกอบให้มากที่สุด ภายในเวลา 3 นาที โดยวงกลมนั้นต้องแทนสิ่งของหนึ่งสิ่งเท่านั้น เช่น วงกลมวงที่ 1 วาดรูปหน้าคนยิ้ม วงกลมที่สองพระอาทิตย์ วงกลมที่สามป้ายห้ามจอด
4. เมื่อผู้สอนจับเวลาครบสามนาทีแล้ว ให้ผู้เรียนวางปากกา แล้วสำรวจว่ามีผู้วาดภาพครบทั้ง 12 วงหรือไม่ ถ้ามี มีจำนวนกี่คน หากไม่มีให้สำรวจจำนวนสูงสุดของชั้นเรียนได้เท่าใด ให้ผู้เรียนนำแบบฝึกหัดมาผู้สอนตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นสำรวจว่าค่าเฉลี่ยของห้องเป็นเท่าใด จำนวนต่ำสุดเป็นเท่าใด มีจำนวนกี่คน
5. มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกการคิดแบบละเอียดละออลงในแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็ว
หลังจากผู้เรียนได้สรุปและอธิบายการคิดแบบรวดเร็วแล้ว ให้ผู้เรียนวาดภาพเพิ่มเติมให้ครบทั้ง 12 วง และตกแต่งให้สวยงาม โดยกำหนดเวลา 30 นาที เมื่อครบเวลาแล้ว ให้ภายในกลุ่มแลกแบบฝึกหัดกันดูการคิดของสมาชิกในกลุ่ม สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ มีภาพทีซ้ำกันหรือไม่ ถ้ามี มีกี่ภาพ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการเขียนในแบบฝึกหัด เสร็จแล้วนำกลับคืนเจ้าของ
6. ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มคัดเลือกภาพในแบบฝึกหัดคิดแบบรวดเร็วที่ชอบที่สุด ใช้ปากกาวงล้อมรอบภาพไว้ และนำภาพที่เลือกไว้มาร้อยเรียงเชื่อมโยง วาดภาพในกระดาษแผ่นใหญ่ให้เป็นเรื่องราวนิทาน 1 เรื่อง โดยต้องมี ชื่อเรื่อง เนื้อเรื่องที่มีการดำเนินเรื่อง และคติสอนใจ
7. แต่ละกลุ่มออกมาเล่านิทานพร้อมแสดงภาพการเชื่อมโยงความคิดของภาพที่คัดเลือกไว้ภายในกลุ่ม รวมถึงแสดงแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วของทุกคนในกลุ่มให้ทุกคนในชั้นเรียน
9. หลังเล่านิทานเสร็จแล้วให้ภาพการเชื่อมโยงความคิด และแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วของทุกคนไปติดไว้ที่ผนังห้อง เพื่อทุกกลุ่มในชั้นเรียนสามารถไปศึกษาแนวคิดที่แตกต่างกันได้
10. เวลา 15 นาทีสุดท้ายของการเรียนการสอน ผู้สอนให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิดและบันทึกผลการเรียนรู้ โดยช่วงเวลาดังกล่าวต้องเป็นช่วงเวลาที่เงียบใช้สมาธิ ผู้สอนควรควบคุมห้องเรียนให้ไม่มีเสียงพูดคุยกัน และผู้สอนต้องไม่พูดแทรก ไม่อธิบายหรือสั่งงานอื่น ๆ ในช่วงเวลานี้
|
|
- ผลงานการคิดรวดเร็วเป็นรายบุคคล จำนวน 40 ผลงาน
- ผลงานการคิดเชื่อมโยง เป็นรายกลุ่ม จำนวน 4 กลุ่ม
|
|
โมดูล 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน |
26 ส.ค. 2566 |
26 ส.ค. 2566 |
|
ทฤษฎี : การคิดวิเคราะห์ เชิงภาษา ความสำคัญ วิธีการ และการประยุกต์ใช้
ปฏิบัติ : กิจกรรมการคิดวิเคราะห์เชิงภาษาและนำไปประยุกต์ใช้
ทฤษฎี : การสังเกต ลักษณะ วิธีการ ความสำคัญและการประยุกต์ใช้
ปฏิบัติ : กิจกรรมการสังเกต ลักษณะ วิธีการ ความสำคัญและการประยุกต์ใช้
|
|
ได้ฝึกการคิดวิเคราะห์ เชิงภาษา ความสำคัญ วิธีการ และการประยุกต์ใช้การคิดวิเคราะห์ และได้ฝึกการสังเกต โดยผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้ทราบลักษณะ วิธีการ ความสำคัญและการประยุกต์ใช้การสังเกตในชีวิต
|
|
โมดูล 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง |
31 ส.ค. 2566 |
31 ส.ค. 2566 |
|
ก่อนเริ่มกิจกรรมในวันนี้ มีพิธีลงนามความร่วมมือระหว่าง มหาวิทยาลัยและนายกเทศมนตรีตำบลบางกระทึก
1. กิจกรรมอ่านจดหมายถึงบัดดี้
2. บรรยาย ทักษะการคิดระดับสูงและการนำไปประยุกต์ใช้
3. กิจกรรมการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข
4. สะท้อนคิดการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
5. บรรยาย ทฤษฏีการคิดวิเคราะห์จากเรื่องราวและการนำไปประยุกต์ใช้
6. กิจกรรมการคิดวิเคราะห์จากเรื่องราวและการประยุกต์ใช้ ผ่านคลิปวิดีโอชุดโตไปไม่โกง เรื่อง โดนัท
7. นำเสนอผลการคิดวิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกลุ่ม
8. สรุป และสะท้อนคิด
|
|
ผลจากการเรียน พบว่า
1. มีผู้ผ่านกิจกรรมการคิดวิเคราะห์เชิงตัวเลข จำนวน 40 คน
2. มีผู้ผ่านกิจกรรมการคิดวิเคราะห์จากเรื่องราว จำนวน 40 คน
|
|
โมดูล 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง |
1 ก.ย. 2566 |
1 ก.ย. 2566 |
|
- อ่านจดหมายบัดดี้
- บรรยาย ทฤษฏีการคิดวิเคราะห์เชิงภาษา ความสำคัญ วิธีการและการประยุกต์ใช้
- ปฏิบัติ กิจกรรมการคิดวิเคราะห์เชิงภาษาและการนำไปประยุกต์ใช้
- สะท้อนคิด
- บรรยาย ทฤษฏี การสังเกต ลักษณะ วิธีการ ความสำคัญและการประยุกต์ใช้
- ปฏิบัติกิจกรรมการสังเกต ลักษณะ วิธีการ และการประยุกต์ใช้
- สะท้อนคิด
|
|
มีผู้ผ่านการฝึกอบรมด้านการคิดวิเคราะห์เชิงภาษาและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ จำนวน 40 คน
มีผู้ผ่านการฝึกอบรมด้านการสังเกตและสามารถประยุกตใช้ได้ จำนวน 40 คน
|
|
โมดูล 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ |
15 ก.ย. 2566 |
15 ก.ย. 2566 |
|
หัวข้อการคิดบวก และการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
1.วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้
2. วิทยากรบรรยายเนื้อหาทฤษฎีการคิดบวก วิธีการ และการนำไปใช้ในการทำงาน
3. ผู้เรียนฝึกปฏิบัติกิจกรรมการคิดบวก ด้วยการยกตัวอย่างสถานการณ์และแนวความคิดเชิงบวก
4. วิทยากรสรุปและผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
หัวข้อ การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
1. วิทยากรแบ่งกลุ่มผู้เรียนทำกิจกรรมเตรียมความพร้อมแล้วนั่งเป็นวงกลมวงใหญ่
2. ผู้เรียนทำกิจกรรมคุณน้้นยอดเยี่ยมมาก โดยวิทยากรแจกกระดาษรูปหัวใจ ให้เขียนชื่อของผู้เรียนไว้ที่มุมด้านขวา แล้วให้ส่งกระดาษนั้นไปให้เพื่อนที่อยู่ทางซ้ายมือ ให้ผู้เรียนอ่านชื่อที่มุมขวาบน แล้วเขียนข้อดีของเจ้าของกระดาษหัวใจนั้นให้มากที่สุด เมื่อวิทยากรให้สัญญาณก็ส่งกระดาษหัวใจนั้นไปเรื่อย ๆ จนครบรอบ
3. เมื่อครบรอบแล้วให้เจ้าของกระดาษอ่านข้อความที่ทุกคนเขียนข้อดี
4. วิทยากรสรุปกิจกรรมการสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง
5. วิทยากรบรรยายเนื้อหาการวิเคราะห์ตนเอง มุมมองบวก การสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง มุมมองที่ตนเองมองตนเอง และการประยุกต์ใช้
6. ผู้เรียนสรุปร่วมกับวิทยากร และเขียนสะท้อนคิด
|
|
- มีผู้เรียนที่ปฏิบัติการคิดระดับสูงได้ 45 คน
- มีผู้เรียนที่เกิดความเชื่อมั่นในตนเอง 45 คน
- การคิดบวกจะช่วยสร้างความเชื่อมั่นในตนเอง กิจกรรมคุณนั้นยอดเยี่ยมมาก ช่วยให้ผู้เรียนได้พบว่า เรามักจะคิดไปเองว่าเราไม่เก่ง ไม่ดี เน้นที่จุดด้อยของตนเอง ทำให้เกิดความไม่มั่นใจในตนเอง แต่มุมมองที่ผู้อื่นมองตัวเรานั้นมีข้อดีมากมายที่เราอาจคิดไม่ถึง เมื่อใดที่รู้สึกไม่มั่นใจในตนเองให้มาอ่านข้อความในกระดาษหัวใจ ดูข้อดีของตัวเราเพื่อสร้างกำลังใจและความเชื่อมั่นต่อไป
|
|
โมดูล 7 การฝึก ประสบกาณ์ ในองค์กร |
26 ก.ย. 2566 |
26 ก.ย. 2566 |
|
ปฏิบัติ ให้คำปรึกษา แนะนำ ปรับปรุงการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ใน
สถานการณ์จริง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
|
|
ได้ข้อเสนอแนะในการ ปรับปรุงการนำนวัตกรรมที่สร้างขึ้นไปใช้ในสถานการณ์จริง เป็นรายบุคคลและรายกลุ่ม
|
|