การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานในศตวรรษที่ 21 (หลักสูตร Non-Degree)
หัวข้อการคิดรวดเร็ว การคิดละเอียดละออ และการคิดเชื่อมโยง
1. วิทยากรอ่านจดหมายของบัดดี้
2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5 – 6 คน แต่ละกลุ่มนั่งเป็นวงกลม
3. ผู้สอนแจกแแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วให้แก่ผู้เรียนทุกคน
คำสั่งที่ให้กับผู้เรียน มีดังนี้ แบบฝึกหัดที่แจกให้มีวงกลมอยู่ 12 วง ให้ผู้เรียนนึกถึงวงกลมแล้ววาดภาพสิ่งของที่มีวงกลมเป็นส่วนประกอบให้มากที่สุด ภายในเวลา 3 นาที โดยวงกลมนั้นต้องแทนสิ่งของหนึ่งสิ่งเท่านั้น เช่น วงกลมวงที่ 1 วาดรูปหน้าคนยิ้ม วงกลมที่สองพระอาทิตย์ วงกลมที่สามป้ายห้ามจอด
4. เมื่อผู้สอนจับเวลาครบสามนาทีแล้ว ให้ผู้เรียนวางปากกา แล้วสำรวจว่ามีผู้วาดภาพครบทั้ง 12 วงหรือไม่ ถ้ามี มีจำนวนกี่คน หากไม่มีให้สำรวจจำนวนสูงสุดของชั้นเรียนได้เท่าใด ให้ผู้เรียนนำแบบฝึกหัดมาผู้สอนตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นสำรวจว่าค่าเฉลี่ยของห้องเป็นเท่าใด จำนวนต่ำสุดเป็นเท่าใด มีจำนวนกี่คน
5. มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกการคิดแบบละเอียดละออลงในแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็ว
หลังจากผู้เรียนได้สรุปและอธิบายการคิดแบบรวดเร็วแล้ว ให้ผู้เรียนวาดภาพเพิ่มเติมให้ครบทั้ง 12 วง และตกแต่งให้สวยงาม โดยกำหนดเวลา 30 นาที เมื่อครบเวลาแล้ว ให้ภายในกลุ่มแลกแบบฝึกหัดกันดูการคิดของสมาชิกในกลุ่ม สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ มีภาพทีซ้ำกันหรือไม่ ถ้ามี มีกี่ภาพ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการเขียนในแบบฝึกหัด เสร็จแล้วนำกลับคืนเจ้าของ
6. ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มคัดเลือกภาพในแบบฝึกหัดคิดแบบรวดเร็วที่ชอบที่สุด ใช้ปากกาวงล้อมรอบภาพไว้ และนำภาพที่เลือกไว้มาร้อยเรียงเชื่อมโยง วาดภาพในกระดาษแผ่นใหญ่ให้เป็นเรื่องราวนิทาน 1 เรื่อง โดยต้องมี ชื่อเรื่อง เนื้อเรื่องที่มีการดำเนินเรื่อง และคติสอนใจ
7. แต่ละกลุ่มออกมาเล่านิทานพร้อมแสดงภาพการเชื่อมโยงความคิดของภาพที่คัดเลือกไว้ภายในกลุ่ม รวมถึงแสดงแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วของทุกคนในกลุ่มให้ทุกคนในชั้นเรียน
9. หลังเล่านิทานเสร็จแล้วให้ภาพการเชื่อมโยงความคิด และแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วของทุกคนไปติดไว้ที่ผนังห้อง เพื่อทุกกลุ่มในชั้นเรียนสามารถไปศึกษาแนวคิดที่แตกต่างกันได้
10. เวลา 15 นาทีสุดท้ายของการเรียนการสอน ผู้สอนให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิดและบันทึกผลการเรียนรู้ โดยช่วงเวลาดังกล่าวต้องเป็นช่วงเวลาที่เงียบใช้สมาธิ ผู้สอนควรควบคุมห้องเรียนให้ไม่มีเสียงพูดคุยกัน และผู้สอนต้องไม่พูดแทรก ไม่อธิบายหรือสั่งงานอื่น ๆ ในช่วงเวลานี้
- ผลงานการคิดรวดเร็วเป็นรายบุคคล จำนวน 45 ผลงาน
- ผลงานการคิดเชื่อมโยง เป็นรายกลุ่ม จำนวน 9 กลุ่ม การสรุปเนื้อหา แบบฝึกหัดนี้เรียกว่า แบบฝึกหัดคิดแบบรวดเร็ว การคิดอย่างเร็ว (Quick Thinking ) เป็นการตัดสินใจแก้ไขปัญหารูปแบบหนึ่ง ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ซึ่งมีข้อจำกัดด้านเวลา การคิดอย่างรวดเร็ว จึงจัดว่าเป็นทักษะสำคัญในการเอาชีวิตรอดกล่าวได้ว่า ผู้ที่ตัดสินใจรวดเร็วและถูกต้องในเวลาคับขันก็คือ ผู้ที่มีไหวพริบ ปฏิภาณ นั่นเอง ผู้ที่มีไหวพริบ คิดเร็ว จะเป็นคนที่มีความรู้สึกไว สังเกตสิ่งผิดปกติได้ดีกว่าคนทั่วไป ผู้ เป็นอีกหนึ่งทักษะ ซึ่งแม้ว่าในสถานการณ์ทั่วไปอาจจะไม่ได้ใช้ เพราะเรามีเวลาสำหรับไตร่ตรองอย่างรอบคอบ แต่เมื่อเกิดเหตุวิกฤติ ชี้เป็นชี้ตายการคิดเร็วจะมีบทบาทสำคัญที่สุด ดังนั้นเราจึงควรฝึกการสังเกต หาความรู้ และเพิ่มประสบการณ์ สำหรับเหตุฉุกเฉินที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เตรียมเอาไว้ ซึ่งการคิดแบบรวดเร็วนี้เป็นทักษะหนึ่งที่นักคิดสร้างสรรค์ต้องมี การคิดอย่างรวดเร็วสามารถฝึกฝนได้ วิธีการฝึกฝนมีหลายแบบ อาจใช้วิธีการคิดคำนวนตัวเลขก็ได้ และแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วนี้สามารถนำไปฝึกเพิ่มเติมที่บ้านได้ การที่ไม่ได้กำหนดระยะเวลาในการทำแบบฝึกหัด ทำให้ผู้เรียนมีเวลาในการพิจารณาวาดรายละเอียดของภาพ มีการตกแต่งระบายสีให้สวยงาม สิ่งนี้เรียกว่า ความคิดละเอียดละออ (Elaboration) หมายถึง ความคิดในรายละเอียดเป็นขั้นตอน สามารถอธิบายให้เห็นภาพชัดเจน หรือเป็นแผนงานที่สมบูรณ์ขึ้น ความคิดละเอียดละออจัดเป็นรายละเอียดที่นำมาตกแต่ง ขยายความคิดครั้งแรกให้สมบูรณ์ขึ้น
การคิดเชื่อมโยง คือ ความสามารถในการคิดเอาเรื่องราว ประสบการณ์ ความรู้ต่าง ๆ จากหลากหลายแหล่งที่มา มาร้อยเรียงเป็นเรื่องราวเพื่อให้เห็นภาพใหญ่ของสิ่งที่เรากำลังต้องการศึกษา การเชื่อมโยงต้องมีการฝึกฝน หากเรามีความสามารถคิดเชื่อมโยงได้ดี เราจะจะสามารถใช้ความรู้และประสบการณ์ที่มีไปประยุกต์ใช้ได้ทันที การคิด เป็น เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในสมอง การคิดเป็นนามธรรมที่ไม่สามารถสัมผัสได้ด้วยตาเปล่าการที่จะรู้ว่ามนุษย์คิดอะไร คิดอย่างไร จะต้องสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดง และสามารถควบคุมให้คิดจนบรรลุเป้าหมายได้ การคิดมีหลายระดับชั้น ซึ่งการคิดพื้นฐานเป็นการคิดทั่วไป มีหลายประเภท ได้แก่ การคิดแบบรวดเร็ว การคิดคล่องแคล่ว การคิดละเอียดละออ การคิดเชื่อมโยง เป็นต้น ซึ่งการคิด มีวัตถุประสงค์ เพื่อแก้ปัญหาแสวงหาคำตอบตัดสินใจหรือสร้างสรรค์สิ่งใหม่