directions_run

การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานในศตวรรษที่ 21 (หลักสูตร Non-Degree)

โมดูล 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน19 สิงหาคม 2566
19
สิงหาคม 2566รายงานจากพื้นที่ โดย หทัยชนก โทสินธิติ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง

หัวข้อการคิดรวดเร็ว การคิดละเอียดละออ และการคิดเชื่อมโยง 1. วิทยากรอ่านจดหมายของบัดดี้
2. แบ่งกลุ่มผู้เรียน กลุ่มละ 5 – 6 คน แต่ละกลุ่มนั่งเป็นวงกลม 3. ผู้สอนแจกแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วให้แก่ผู้เรียนทุกคน
คำสั่งที่ให้กับผู้เรียน มีดังนี้ แบบฝึกหัดที่แจกให้มีวงกลมอยู่ 12 วง ให้ผู้เรียนนึกถึงวงกลมแล้ววาดภาพสิ่งของที่มีวงกลมเป็นส่วนประกอบให้มากที่สุด ภายในเวลา 3 นาที โดยวงกลมนั้นต้องแทนสิ่งของหนึ่งสิ่งเท่านั้น เช่น วงกลมวงที่ 1 วาดรูปหน้าคนยิ้ม วงกลมที่สองพระอาทิตย์ วงกลมที่สามป้ายห้ามจอด
4. เมื่อผู้สอนจับเวลาครบสามนาทีแล้ว ให้ผู้เรียนวางปากกา แล้วสำรวจว่ามีผู้วาดภาพครบทั้ง 12 วงหรือไม่ ถ้ามี มีจำนวนกี่คน หากไม่มีให้สำรวจจำนวนสูงสุดของชั้นเรียนได้เท่าใด ให้ผู้เรียนนำแบบฝึกหัดมาผู้สอนตรวจสอบความถูกต้อง จากนั้นสำรวจว่าค่าเฉลี่ยของห้องเป็นเท่าใด จำนวนต่ำสุดเป็นเท่าใด มีจำนวนกี่คน 5. มอบหมายให้ผู้เรียนฝึกการคิดแบบละเอียดละออลงในแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็ว หลังจากผู้เรียนได้สรุปและอธิบายการคิดแบบรวดเร็วแล้ว ให้ผู้เรียนวาดภาพเพิ่มเติมให้ครบทั้ง 12 วง และตกแต่งให้สวยงาม โดยกำหนดเวลา 30 นาที เมื่อครบเวลาแล้ว ให้ภายในกลุ่มแลกแบบฝึกหัดกันดูการคิดของสมาชิกในกลุ่ม สิ่งที่ต้องพิจารณา คือ มีภาพทีซ้ำกันหรือไม่ ถ้ามี มีกี่ภาพ พร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับแนวคิดการเขียนในแบบฝึกหัด เสร็จแล้วนำกลับคืนเจ้าของ 6. ให้ผู้เรียนแต่ละคนในกลุ่มคัดเลือกภาพในแบบฝึกหัดคิดแบบรวดเร็วที่ชอบที่สุด ใช้ปากกาวงล้อมรอบภาพไว้ และนำภาพที่เลือกไว้มาร้อยเรียงเชื่อมโยง วาดภาพในกระดาษแผ่นใหญ่ให้เป็นเรื่องราวนิทาน 1 เรื่อง โดยต้องมี ชื่อเรื่อง เนื้อเรื่องที่มีการดำเนินเรื่อง และคติสอนใจ
7. แต่ละกลุ่มออกมาเล่านิทานพร้อมแสดงภาพการเชื่อมโยงความคิดของภาพที่คัดเลือกไว้ภายในกลุ่ม รวมถึงแสดงแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วของทุกคนในกลุ่มให้ทุกคนในชั้นเรียน 9. หลังเล่านิทานเสร็จแล้วให้ภาพการเชื่อมโยงความคิด และแบบฝึกหัดการคิดแบบรวดเร็วของทุกคนไปติดไว้ที่ผนังห้อง เพื่อทุกกลุ่มในชั้นเรียนสามารถไปศึกษาแนวคิดที่แตกต่างกันได้ 10. เวลา 15 นาทีสุดท้ายของการเรียนการสอน ผู้สอนให้ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิดและบันทึกผลการเรียนรู้ โดยช่วงเวลาดังกล่าวต้องเป็นช่วงเวลาที่เงียบใช้สมาธิ ผู้สอนควรควบคุมห้องเรียนให้ไม่มีเสียงพูดคุยกัน และผู้สอนต้องไม่พูดแทรก ไม่อธิบายหรือสั่งงานอื่น ๆ ในช่วงเวลานี้

circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. ผลงานการคิดรวดเร็วเป็นรายบุคคล จำนวน 40 ผลงาน
  2. ผลงานการคิดเชื่อมโยง เป็นรายกลุ่ม จำนวน 4 กลุ่ม