การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานในศตวรรษที่ 21

โมดูล 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ16 กันยายน 2566
16
กันยายน 2566รายงานจากพื้นที่ โดย หทัยชนก โทสินธิติ
circle
กิจกรรมที่ปฎิบัติรายละเอียดของการทำกิจกรรมที่ได้ปฎิบัติจริง
  1. วิทยากรอ่านจดหมายถึงบัดดี้และกิจกรรมเตรียมความพร้อมก่อนการเรียนการสอน
  2. ผู้เรียนนั่งตามกลุ่มเดิม
  3. ปฏิบัติการจัดทำแบบจำลองความคิดในการแก้ไขปัญหาต่อ
  4. วิทยากรพี่เลี้ยงประจำกลุ่มให้คำปรึกษา แนะนำอย่างใกล้ชิด เกี่ยวกับการออกแบบจำลองความคิด การเลือกใช้วัสดุ เป็นต้น
  5. วิทยากรสรุปบทเรียน และตรวจสอบผลงาน
  6. ผู้เรียนเขียนสะท้อนคิด
  7. ให้แต่ละกลุ่มออกแบบและสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูล เช่น แบบสัมภาษณ์ผู้เกี่ยวข้อง เพื่อหาความเป็นไปได้ในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์ตามที่ได้เสนอไว้ในสัปดาห์ที่แล้ว
  8. วิทยากรประจำกลุ่มให้คำปรึกษาอย่างใกล้ชิด
  9. เมื่อแต่ละกลุ่มสร้างเครื่องมือในการเก็บข้อมูลเพื่อหาความเป็นไปได้ในแนวทางแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์แล้ว ให้เวลา 60 นาที ให้ไปดำเนินการเก็บข้อมูล
  10. เมื่อได้ข้อมูลมาแล้วให้แต่ละกลุ่มฝึกการวิเคราะห์ สังเคราะห์ข้อมูลที่ได้มา แล้วนำมาปรับปรุงแนวทางการแก้ไขปัญหานั้นให้สมบูรณ์
  11. วิทยากรสรุป และสะท้อนคิด
circle
ผลที่เกิดขึ้นจริงผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome) / ผลสรุปที่สำคัญของกิจกรรม
  1. แบบจำลองความคิดจำนวน 6 กลุ่ม เนื่องจากผู้เรียนขอจับกลุ่มตามกลุ่มสังกัด ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่มครูเด็กเล็ก กลุ่มครูเทศบาล กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่ม อสม. และกลุ่มพนักงานเทศบาล
  2. ผู้เรียนสามารถออกแบบจำลองความคิดของตนเองได้