directions_run

การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการทำงานในศตวรรษที่ 21

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ผลิตนวัตกรที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1.1. มีทักษะในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 1.2. มีทักษะในการทำงานกับผู้อื่น 1.3. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และทักษะในการแก้ปัญหา 1.4. มีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ และ 2.เพื่อสร้างนวัตกรที่มีความสามารถสร้างต้นแบบนวัตกรรมในการยกระดับหรือพัฒนางานของตนได้ ซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรมให้กับบุคลากรของเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 45 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มครูเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม อสม. กลุ่มเจ้าหน้าที่เทศบาล และกลุ่มครูเทศบาล ผลการประเมิน พบว่า หลักสูตรบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 เป็นหลักสูตรที่ดีมากทางเทศบาลเมืองกระทุ่มแบนมีความพึงพอใจอย่างยิ่งต่อการส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ บุคลากรมีทักษะและสมรรถนะตามที่คาดหลัง บุคลากรมีความเต็มใจ ตระหนักในความสำคัญของหลักสูตรโดยมีความสนใจ กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการฝึกอบรมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นโครงการเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน กิจกรรมในการฝึกอบรมมีความใหม่ มีการบูรณาการความรู้ระหว่างกลุ่มหน่วยงานภายในองค์กร ทักษะที่ฝึกอบรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง ทำให้บุคลากรสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาพัฒนางานได้ และนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนั้นเป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการในท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการพัฒนาชุมชนได้จริงและนำโครงการนวัตกรรมไปต่อยอดได้อย่างหลากหลายวิธีการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยโครงการบัณฑิตพันธ์ุใหม่ Non-degree ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และ สำนักงานเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน (2) ฝึกอบรมโมดูลที่ 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน (2) ฝึกอบรมโมดูลที่ 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง (3) ฝึกอบรมโมดูลที่ 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 (4) ฝึกอบรมโมดูลที่ 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ (5) ฝึกอบรมโมดูลที่ 5 การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาองค์กร (6) ฝึกอบรมโมดูลที่ 6 การประเมินผลนวัตกรรมสร้างสรรค์และเสนอนำผลงาน (7) ฝึกอบรมโมดูลที่ 7 การฝึกทักษะในองค์กร ผลการสร้างต้นแบบนวัตกรรมเพื่อยกระดับหรือพัฒนางานของตน พบว่า มีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น 6 นวัตกรรม คือ โครงการแพลูกบวบกำจัดขยะ โดยกลุ่มผู้นำชุมชนโครงการแยกขยะสำหรับเด็กอนุบาล โดยกลุ่มครูเด็กเล็ก โครงการส่งเสริมและพัฒนาจิตใจผู้สูงอายุตามวิถีพุทธ โดยกลุ่มผู้สูงอายุ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบออนไลน์ โดย กลุ่ม อสม. โครงการแก้ปัญหาการบริการภายในเทศบาล (Smart กระทุ่มแบน) โดยกลุ่มเจ้าหน้าที่เทศบาล โครงการเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยโรงเรียนเทศบาลดอนไก่ดี ผลจากการฝึกอบรมเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน ได้จัดตั้งชมรมแลกยิ้มสร้างรัก และจัดทำระเบียบขึ้นมารองรับการนำโครงการนวัตกรรมทั้ง 6 เรื่อง ไปใช้จริงและสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการโดยบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติงานประจำปี 2567

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 45
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ผลิตนวัตกรที่มีคุณลักษณะ ดังต่อไปนี้ 1.1. มีทักษะในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น 1.2. มีทักษะในการทำงานกับผู้อื่น 1.3. มีทักษะในการคิดวิเคราะห์และทักษะในการแก้ปัญหา 1.4. มีทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์ และ 2.เพื่อสร้างนวัตกรที่มีความสามารถสร้างต้นแบบนวัตกรรมในการยกระดับหรือพัฒนางานของตนได้ ซึ่งได้ดำเนินการฝึกอบรมให้กับบุคลากรของเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 45 คน ประกอบด้วย กลุ่มผู้นำชุมชน กลุ่มครูเด็กเล็ก กลุ่มผู้สูงอายุ กลุ่ม อสม. กลุ่มเจ้าหน้าที่เทศบาล และกลุ่มครูเทศบาล ผลการประเมิน พบว่า หลักสูตรบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาทักษะการทำงานในศตวรรษที่ 21 เป็นหลักสูตรที่ดีมากทางเทศบาลเมืองกระทุ่มแบนมีความพึงพอใจอย่างยิ่งต่อการส่งบุคลากรเข้าร่วมโครงการ บุคลากรมีทักษะและสมรรถนะตามที่คาดหลัง บุคลากรมีความเต็มใจ ตระหนักในความสำคัญของหลักสูตรโดยมีความสนใจ กระตือรือร้น ให้ความร่วมมือในการฝึกอบรมเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นโครงการเรื่องใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน กิจกรรมในการฝึกอบรมมีความใหม่ มีการบูรณาการความรู้ระหว่างกลุ่มหน่วยงานภายในองค์กร ทักษะที่ฝึกอบรมสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการทำงานได้จริง ทำให้บุคลากรสามารถสร้างนวัตกรรมเพื่อนำมาพัฒนางานได้ และนวัตกรรมที่พัฒนาขึ้นนั้นเป็นนวัตกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการในท้องถิ่น เพิ่มศักยภาพการพัฒนาชุมชนได้จริงและนำโครงการนวัตกรรมไปต่อยอดได้อย่างหลากหลายวิธีการ

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) การลงนามบันทึกความร่วมมือว่าด้วยโครงการบัณฑิตพันธ์ุใหม่ Non-degree ระหว่างมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และ สำนักงานเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน (2) ฝึกอบรมโมดูลที่ 1 การพัฒนาทักษะการคิดพื้นฐาน (2) ฝึกอบรมโมดูลที่ 2 การพัฒนาทักษะการคิดขั้นสูง (3) ฝึกอบรมโมดูลที่ 3 เครื่องมือในการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเทคโนโลยีสารสนเทศในศตวรรษที่ 21 (4) ฝึกอบรมโมดูลที่ 4 การประยุกต์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ในชีวิตประจำวันและงานอาชีพ (5) ฝึกอบรมโมดูลที่ 5 การบูรณาการความคิดสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาองค์กร (6) ฝึกอบรมโมดูลที่ 6 การประเมินผลนวัตกรรมสร้างสรรค์และเสนอนำผลงาน (7) ฝึกอบรมโมดูลที่ 7 การฝึกทักษะในองค์กร ผลการสร้างต้นแบบนวัตกรรมเพื่อยกระดับหรือพัฒนางานของตน พบว่า มีนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้น 6 นวัตกรรม คือ โครงการแพลูกบวบกำจัดขยะ โดยกลุ่มผู้นำชุมชนโครงการแยกขยะสำหรับเด็กอนุบาล โดยกลุ่มครูเด็กเล็ก โครงการส่งเสริมและพัฒนาจิตใจผู้สูงอายุตามวิถีพุทธ โดยกลุ่มผู้สูงอายุ โครงการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุแบบออนไลน์ โดย กลุ่ม อสม. โครงการแก้ปัญหาการบริการภายในเทศบาล (Smart กระทุ่มแบน) โดยกลุ่มเจ้าหน้าที่เทศบาล โครงการเครื่องกำจัดขยะเศษอาหารและผลิตปุ๋ยอินทรีย์ โดยโรงเรียนเทศบาลดอนไก่ดี ผลจากการฝึกอบรมเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน ได้จัดตั้งชมรมแลกยิ้มสร้างรัก และจัดทำระเบียบขึ้นมารองรับการนำโครงการนวัตกรรมทั้ง 6 เรื่อง ไปใช้จริงและสนับสนุนงบประมาณการดำเนินการโดยบรรจุไว้ในแผนปฏิบัติงานประจำปี 2567

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ (1) ข้อเสนอแนะจากเทศบาลเมืองกระทุ่มแบน แบ่งเป็น 3 ด้าน ดังนี้
ด้าน ข้อเสนอแนะด้านเนื้อหาของหลักสูตรและรูปแบบการฝึกอบรม พบว่า เนื้อหาหลักสูตรและกิจกรรมในหลักสูตร ตรงกับวัตถุประสงค์ในระดับดีมาก ระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก หลักสูตรเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับดีมาก และสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมาก จึงกล่าวได้ว่าด้านการจัดอบรมได้รับความพึงพอใจในระดับที่ดีมาก และข้อเสนอแนะที่ได้รับคือเป็นหลักสูตรที่มีการสอนและประยุกต์หลายรายวิชา ทั้งในภาคทฤษฎีและปฎิบัติ เรียนจากง่ายไปยาก และใช้วิธีการสอนผ่านกิจกรรม จึงเหมาะสมสำหรับผู้เข้าอบรมครั้งนี้เป็นอย่างยิ่ง
ด้านวิทยากร พบว่า วิทยากรความสามารถในการถ่ายทอด/สื่อสาร/ความเข้าใจของวิทยากร การเรียงลำดับบรรยายเนื้อหาได้ครบถ้วน การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น การตอบคำถามได้ตรงประเด็นและชัดเจน มีเทคนิคการสอนที่ดีทำให้ไม่น่าเบื่อ เข้าใจง่าย ถ่ายทอดความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงตามการปฏิบัติงาน ทำให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถสร้างนวัตกรรมได้ ด้านอื่น ๆ พบว่า เป็นโครงการที่ทำให้เกิดความร่วมมือ และลดช่องว่างระหว่างเทศบาลและชุมชน เกิดความสามัคคี นวัตกรรมที่สร้างขึ้นเกิดจากการสะท้อนปัญหาของชุมชน และเป็นความต้องการของชุมชนอย่างแท้จริง จึงสามารถนำนวัตกรรมไปพัฒนาท้องถิ่นได้อย่างตรงเป้าหมาย และจะสนับสนุนนำไปบรรจุไว้ในแผนการพัฒนาท้องถิ่นในปีถัดไป (2) ข้อเสนอแนะจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม มีดังนี้ เป็นกิจกรรมที่ดีมาก มีประโยชน์ นำไปใช้ได้จริง อยากให้จัดฝึกอบรมแบบนี้อีกบ่อย ๆ เป็นกิจกรรมที่รอคอยอยากให้ถึงเวลาฝึกอบรมไวไว ได้หัวเราะได้ออกกำลังกาย ได้เข้าสังคมรู้จักเพื่อนเพิ่มขึ้น มีเครือข่ายในการทำกิจกรรมเพื่อพัฒนาท้องถิ่น ได้ฝึกความคิดสร้างสรรค์แบบไม่รู้ตัวจากง่ายไปยาก เอาไปประยุตก์ใช้ในชีวิตประจำวันได้จริง ๆ (3) ข้อเสนอแนะในการพัฒนาโครงการ มีดังนี้-วิทยากรเป็นส่วนสำคัญในการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์ และให้คำปรึกษาในการพัฒนานวัตกรรม จึงควรมีโครงการพัฒนาวิทยากรให้มีทักษะ เพิ่มพูนสมรรถนะด้านการจัดกิจกรรมสร้างสรรค์เชี่ยวชาญมากยิ่งขึ้น และศึกษาดูงานให้ทันสมัยอยู่เสมอ ควรส่งเสริมและสนับสนุนสิ่งอำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ เช่น อุปกรณ์และเครื่องมือสารสนเทศที่ทันสมัย การเดินทางสำหรับผู้เข้าอบรมเพื่ออำนวยความสะดวกและเพิ่มจำนวนผู้เข้าอบรมในอนาคต
ควรจัดสรรงบประมาณสำหรับการเริ่มต้นพัฒนานวัตกรรมของผู้เข้ารับการฝึกอบรมนอกเหนือจากค่าวัสดุการจัดทำแบบจำลองความคิด ควรมีการติดตามผลการนำนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์หลังการฝึกอบรมอย่างน้อย 1 ปี

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh