directions_run

การออกแบบธุรกิจสุขภาพสำหรับการจัดการท่องเที่ยว (Wellness business designed for tourism)

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ชื่อหลักสูตร: การออกแบบธุรกิจสุขภาพสำหรับการจัดการท่องเที่ยว (Wellness business designed for tourism) รุ่นที่ 1 ชื่ออาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร (ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และ e-mail): ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไพริน เวชธัญญะกุล เบอร์โทรศัพท์ 089-4484489
                                          e-mail: kimmy_pairin@hotmail.com แผนการรับนักศึกษา: จำนวนนักศึกษาต่อรุ่น ......40.....คน  จำนวน ....2...รุ่น               ระยะเวลาในการจัดการศึกษา (ช่วงเวลาเริ่มต้นจนจบหลักสูตร) ....6.... เดือน           จำนวนชั่วโมงในการดำเนินการ ......285....ชม. (ทฤษฎี .....60.... ชม. , ปฏิบัติ ....225...ชม.)       จำนวนชั่วโมงในการดำเนินการสอนต่อไม่น้อยกว่า ...12..ชม.ต่อรายวิชา
              ระยะเวลาตลอดหลักสูตร 2 วัน/สัปดาห์ ระยะเวลา 6 เดือน (วัน/สัปดาห์/เดือน) ที่มาของการกำหนดแนวคิด เหตุผล และวัตถุประสงค์ของหลักสูตร:       การพัฒนาการท่องเที่ยวระดับโลกเพื่อการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและกลุ่มเชิงสุขภาพ เป็น กลุ่มเป้าหมายหลักที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อการยกระดับการท่องเที่ยวและคุณภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ดังพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคอีสานก็เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีศักยภาพด้านสมุนไพรและพืชท้องถิ่นที่มีสรรพคุณเป็นยา และสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบการประกอบอาหาร ตลอดจนภาคอีสานยังมีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เหมาะกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเพื่อการยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยควบคู่มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย ดังที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้กล่าวไว้ถึงความต้องการพัฒนาให้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภาคอีสาน (Isan Wellness Tourism) เพื่อการปรับตัวเพื่อวิธีการท่องเที่ยวแบบ new normal ภายหลังวิกฤตโควิด-19 บุคลากรและผู้ประกอบการในท้องถิ่นมีความจำเป็นจะต้องได้รับความรู้และทักษะเพื่อการเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งทักษะด้านสุขอนามัย การดูแลสุขภาพในรูปแบบต่างๆ โภชนาการ การจัดรูปแบบการท่องเที่ยว และการเป็นผู้ประกอบการ
วัตถุประสงค์ของหลักสูตรการออกแบบธุรกิจการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ประกอบด้วย
1. เพื่อผลิตบุคลากรให้มีความรู้ด้านธุรกิจและการท่องเที่ยวในการออกแบบการท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ
2. เพื่อผลิตบุคลากรให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านธุรกิจและการท่องเที่ยวในการออกแบบการท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ
3. เพื่อผลิตบุคลากรให้มีความรู้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 4. เพื่อผลิตบุคลากรให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ 5. เพื่อผลิตบุคลากรให้ใช้ภาษาอังกฤษในการปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้
การจัดการเรียนการสอน: การกำหนดเนื้อหาสาระและโครงสร้างหลักสูตรที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ วิชาพื้นฐานวิชาชีพ ได้แก่ 1) แนวคิดและหลักการการออกแบบธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 2) การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพ 3) การจัดการการท่องเที่ยว 4) การออกแบบรายการนำเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ (package tour) เพื่อส่งเสริมสุขภาพร่างกาย อารมณ์ จิตใจและความสุข 5) การออกแบบรายการอาหาร/เครื่องดื่มสำหรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความรู้เรื่องสมุนไพรท้องถิ่น 6) มาตรฐานสุขอนามัยและความปลอดภัย 7) การใช้เทคโนโลยีดิจิตอลเพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมสำหรับการออกแบบการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 8) ภาษาอังกฤษสำหรับธุรกิจสุขภาพ (การบรรยายผ่านระบบ Website: https://onlinecourse.dusit.ac.th/ ของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต )         วิชาภาคปฎิบัติ: 1) การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจสุขภาพ 2) มาตรฐานสุขอนามัยและความปลอดภัยสำหรับนักท่องเที่ยว 3) ทักษะหัตถเวชเพื่อการผ่อนคลายสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4) ทักษะสุคนธบำบัดสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 5) การออกแบบเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 6) คุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับการประกอบธุรกิจสุขภาพ 7)การออกแบบอาหารและเครื่องดื่มสำหรับธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและความรู้เรื่องสมุนไพรท้องถิ่นเพื่อการประกอบอาหาร จำนวนนักศึกษาที่เข้าร่วมหลักสูตรโครงการฯ 43 คน
ประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินการจัดการเรียนการสอน เชิงปริมาณ: ผู้เข้าอบรมสำเร็จการอบรมตามหลักสูตร จำนวน 43 คน และมีความพึงพอใจในการเข้าร่วมการอบรมกับหลักสูตร ร้อยละ 90 เชิงคุณภาพ: ผู้สำเร็จการอบรมสามารถนำความรู้ไปใช้หรือส่งเสริมในการประกอบอาชีพในด้านธุรกิจสุขภาพที่เกี่ยวเนื่องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและสุขภาพได้ ดังเช่น การได้งานทำที่เพิ่มขึ้นของผู้เข้าอบรมและการเปิดกิจการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ ความร่วมมือกับสถานประกอบการ: รุ่นที่ 1
- รายชื่อสถานประกอบการ สายสลิลนวดเพื่อสุขภาพ, บริษัทมณีนาคา สปา แอนด์ บิ้วตี้ จำกัด, ร้าน วันวาริน สปา (Onevarin spa) - ระยะเวลาในการศึกษาในสถานประกอบการการดำเนินการ ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม – 31 สิงหาคม 2565 - ความคิดเห็นจากสถานประกอบการต่อคุณภาพบัณฑิตแต่ละรุ่น: ผู้เข้าอบรมมีความรู้และทักษะด้านการออกแบบธุรกิจสุขภาพ สามารถออกแบบกิจการธุรกิจสุขภาพเพื่อการท่องเที่ยวได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความคิดสร้างสรรค์ในการนำวัตถุดิบและทรัพยากรที่แตกต่างของภูมิภาคตนมาปรับใช้ในการออกแบบธุรกิจเพื่อสุขภาพ - ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมจากสถานประกอบการ: ผู้เข้าอบรมควรเสริมทักษะเฉพาะทางด้านการดูแลสุขภาพ เช่น การนวดไทย การนวดสปา การทำอาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพเพื่อเพิ่มรายได้ในธุรกิจสุขภาพ และควรเพิ่มเติมทักษะด้านเทคโนโลยีด้านการออกแบบระบบออนไลน์ในการรับ-จอง ตอบคำถามผู้ที่ต้องการมาใช้บริการธุรกิจสุขภาพผ่านระบบออนไลน์

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 43
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

การพัฒนาการท่องเที่ยวระดับโลกเพื่อการรองรับนักท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและกลุ่มเชิงสุขภาพ เป็น กลุ่มเป้าหมายหลักที่สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยว เพื่อการยกระดับการท่องเที่ยวและคุณภาพการท่องเที่ยวในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ ดังพื้นที่กลุ่มจังหวัดภาคอีสานก็เป็นกลุ่มจังหวัดที่มีศักยภาพด้านสมุนไพรและพืชท้องถิ่นที่มีสรรพคุณเป็นยา และสามารถนำมาเป็นวัตถุดิบการประกอบอาหาร ตลอดจนภาคอีสานยังมีวิถีชีวิต ความเป็นอยู่ วัฒนธรรมท้องถิ่นที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ที่เหมาะกับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งการฟื้นฟูการท่องเที่ยวเพื่อการยกระดับมาตรฐานการท่องเที่ยวไทยควบคู่มาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขอนามัย ดังที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้กล่าวไว้ถึงความต้องการพัฒนาให้พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นพื้นที่การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภาคอีสาน (Isan Wellness Tourism) เพื่อการปรับตัวเพื่อวิธีการท่องเที่ยวแบบ new normal ภายหลังวิกฤตโควิด-19 บุคลากรและผู้ประกอบการในท้องถิ่นมีความจำเป็นจะต้องได้รับความรู้และทักษะเพื่อการเป็นการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ทั้งทักษะด้านสุขอนามัย การดูแลสุขภาพในรูปแบบต่างๆ โภชนาการ การจัดรูปแบบการท่องเที่ยว และการเป็นผู้ประกอบการ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อผลิตบุคลากรให้มีความรู้ด้านธุรกิจและการท่องเที่ยวในการออกแบบการท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ
2. เพื่อผลิตบุคลากรให้สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ด้านธุรกิจและการท่องเที่ยวในการออกแบบการท่องเที่ยวแบบเบ็ดเสร็จ
3. เพื่อผลิตบุคลากรให้มีความรู้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพอย่างมีคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ 4. เพื่อผลิตบุคลากรให้นำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ในการปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้ 5. เพื่อผลิตบุคลากรให้ใช้ภาษาอังกฤษในการปฎิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh