directions_run

ยกระดับสมรรถนะและศักยภาพของผู้ดูแลเด็กปฐมวัยเพื่อการส่งเสริมสุขภาวะทางกายของเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็ก กรุงเทพมหานคร

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

จากการจัดโครงการฝึกอบรมหลักสูตรฝึกอบรมยกระดับสมรรถนะผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็ก กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 23 มิถุนายน 2564 ถึงวันที่ 18 กันยายน 2564 มีผู้เข้าฝึกอบรมทั้งสิ้น จำนวน 50 คน ดำเนินการจัดฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 285 ชั่วโมง ณ สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยที่ผู้เข้าอบรมสังกัด ภายใต้การนิเทศก์ของอาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และอาจารย์นิเทศก์ประจำกลุ่มศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนวชิรราชวิทยายนและโรงเรียนบางขุนเทียนศึกษา การฝึกอบรมแบ่งออกเป็น ภาคทฤษฎี 60 ชั่วโมง และภาคฝึกปฏิบัติ 225 ชั่วโมง โดยผู้เข้าร่วมอบรมสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ปฏฺิบัติงานจริงและก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาสมรรถนะและศักยภาพของตน และนำไปสู่การมีสุขภาวะทางกายที่ดีของเด็กปฐมวัย

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 50
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

หลักสูตรฝึกอบรมยกระดับสมรรถนะผู้ดูแลเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็ก กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับคุณภาพผู้ดูแลเด็กปฐมวัยให้มีสมรรถนะและศักยภาพสูงขึ้นในการส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย ให้ถึงพร้อมด้วยสุขภาวะ เพื่อเป็นการวางรากฐานชีวิตของการมีพัฒนาการที่ดีต่อไปในอนาคต มีผู้เข้าร่วมอบรมเป็นผู้ดูแลเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียน สำนักพัฒนาสังคม กรุงเทพมหานคร 30 คน และ ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร 20 คน ดำเนินการจัดฝึกอบรมในรูปแบบออนไลน์ จำนวน 285 ชั่วโมง แบ่งออกเป็น ภาคทฤษฎี 60 ชั่วโมง และภาคฝึกปฏิบัติ 225 ชั่วโมง โดยได้รับความรู้ ทักษะในการปฏิบัติงาน และเจตคติที่ดี ตามการอบรมในหัวข้อดังนี้ กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาและการพัฒนาเด็กปฐมวัย จรรยาบรรณและบทบาทผู้ดูแลเด็กปฐมวัย พัฒนาการและการเรียนรู้ พื้นอารมณ์และปัจจัยที่ผลต่อการเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กปฐมวัย ความเจ็บป่วยทางกายในเด็กปฐมวัยที่พบบ่อย โรคติดต่อที่รุนแรงในปัจจุบัน การช่วยชีวิตขั้นพื้นฐานในเด็กปฐมวัย การประเมินพัฒนาการเพื่อเฝ้าระวังและคัดกรอง ปัญหาสุขภาวะทางกายและความเจ็บป่วยของเด็กปฐมวัย การใช้คู่มือเฝ้าระวังและส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย (DSPM) สุขภาวะทางกาย การส่งเสริมสุขภาวะทางกายด้านโภชนาการ การส่งเสริมสุขภาวะทางกายด้านสมรรถภาพทางกายและด้านความปลอดภัย การส่งเสริมสุขภาวะทางกายด้านการดูแลสุขอนามัยของตนเอง การส่งเสริมสุขภาวะทางกายด้านสุนทรียทางอารมณ์และจิตใจ การออกแบบกิจกรรมส่งเสริมสุขภาวะทางกายด้านสุนทรียทางอารมณ์และจิตใจ และการจัดทำโครงการเพื่อการพัฒนาเด็กปฐมวัย ประเด็นข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เข้าอบรม ได้แก่ ความต้องการให้มีการจัดโครงการอบรมอย่างต่อเนื่อง

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh