directions_run

ศาสตร์และศิลป์การท่องเที่ยวเชิงนิเวศชีวภาพกับธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว (The Art and Science of Bio Innovative Tourism and A Green Campground Business) (หลักสูตร Non-Degree)

แบบการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ปัจจัยกำหนดความสำเร็จของโครงการ

การเปลี่ยนแปลงที่เกิดกับคน กลุ่มคน เครือข่าย (เช่น มีความรู้ มีทักษะ มีความชำนาญ มีศักยภาพและขีดความสามารถเพิ่มขึ้น)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

การประยุกต์ใช้ความรู้ด้านนวัตกรรมการท่องเที่ยวหลากชีวภาพเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในธุรกิจลานกางเต็นท์เพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว

1.ผู้เรียนสามารถประยุกต์องค์ความรู้ด้านนวัตกรรมการท่องเที่ยวหลากชีวภาพเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์เพื่อการออกแบบธุรกิจลานกางเต็นท์เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้า
2.ผู้เรียนสามารถออกแบบผลผลิตเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวสีเขียว เพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในธุรกิจลานกางเต็นท์ และสามารถสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์เส้นทางท่องเที่ยวเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในธุรกิจลานกางเต็นท์ได้ 3.ผู้เรียนสามารถออกแบบรายการอาหารและเครื่องดื่มสำหรับธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียวด้วยการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) 4. ผู้เรียนสามารถออกแบบรายการเครื่องดื่มและกาแฟสำหรับการสร้างรายได้เพื่อธุรกิจลานกางเต็นท์ได้ 5. ผู้เรียนสามารถประยุกต์องค์ความรู้และทักษะด้านการจัดการที่พักเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในการดำเนินการธุรกิจลานกางเต็นท์ได้อย่างมีคุณธรรมและจริยธรรมและใสใจกับสิ่งแวดล้อม
6. ผู้เรียนสามารถนำเสนอ Visual Tour เพื่อการนำเสนอธุรกิจลานกางเต็นท์เพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ได้ 7. ผู้เรียนสามารถสร้าง Marketing Channels เพื่อธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว และนำเสนอ Website Google Sheets, Google Forms, Google Sites, Social Medias, Chatbots DialogFlow เพื่อการดำเนินธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนทุกขั้นตอน 8. ผู้เรียนสามารถสร้างการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Marketing) เพื่อธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว และสามารถนำเสนอ เครื่องมือ Google และSearch Engine Optimization (SEO) เพื่อการดำเนินธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียวได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนทุกขั้นตอน 9. ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษระดับต้นในการสื่อสารในธุรกิจลานกางเต็นท์ได้อย่างถูกต้อง

การดำเนินกิจการลานกางเต็นท์ของผู้เรียนภายหลังจากการสำเร็จการศึกษา ได้แก่ 1. นางสาวสาลินี ไมตรีสวัสดิ์ P.P. Garden Home Private camping ground จังหวัดสุพรรณบุรี 2. นายถกลศักดิ์ สุขปลั่ง Love Tree Camp จังหวัดนครนายก 3. นางสาวสุนันท์ นุชประมูล ที่ตั้ง จังหวัดสมุทรปราการ (กำลังปรับพื้นที่) 4. นางสาวพรทิพย์ เจนหัตถการกิจ
ที่ตั้ง จังหวัดนครปฐม (กำลังปรับพื้นที่) 5. นายชัชวาลย์ ชัยชนะมงคล ที่ตั้ง จังหวัดเพชรบุรี (กำลังปรับพื้นที่) 6. นายนันทชัย ทับทิมสุวรรณ สวนสานฝันพ่อ ป่าละอู ป่าเต็ง ที่ตั้ง จังหวัดเพชรบุรี 7. นางสาวขวัญหทัย ศิริสินสุข รื่นรมย์ลานเต้นท์ จังหวัดพิษณุโลก (กำลังปรับพื้นที่) 8. นางสาวสุวดี เจียรนัย ลานกางเต็นท์ บ้านยิ้มละมัย จังหวัดเพชรบุรี 9. นางสาวรุจิรดา แก้วศิริ ลานกางเต็นท์ CHIRADA RELAX CAMPING ที่ตั้งจังหวัดขอนแก่น (กำลังปรับพื้นที่) 10. นายสุนทร บัวเทศ สุนทรการ์เดนท์ ที่ตั้ง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 11. นางสาววรรณรัตน์ วิวัฒนะ Banrai @ Chaykhao Camp ที่ตั้ง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี 12. นางสิริญากร ดาราเย็น Rim Kaeng Camp ที่ตั้ง แก่งเลิงจาน จังหวัดมหาสารคาม (กำลังปรับพื้นที่) 13. นางสาวรัชนีวรรณ คนหมั่น และนายเกรียงศักดิ์ โรจน์คุรีเสถียร สวนองุ่นคุณรัชนีวรรณ
ที่ตั้ง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 14. นายสิทธิชัย สำเภาพล ที่ตั้ง อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี (กำลังปรับพื้นที่) 15. นางพรรณปพร กาญจนชาติ และนางสาวณัฐชลัยย์ ชัยเธียร ดำเนินกิจการ Website: whatthecamp การจองและค้นหาแค้มป์ทั่วไทย

  1. ผู้เรียนควรเพิ่มทักษะและความรู้ด้านการออกแบบพื้นที่ลานกางเต็นท์ในรูปแบบพื้นที่ที่ดินที่แตกต่าง เช่น พื้นที่ที่เป็นที่ดินลุ่มรับน้ำ พื้นที่ภูเขาสูง ความรู้และทักษะด้านระบบการใช้พลังงานสะอาด การคำนวณขนาดและการออกแบบโซล่าเซลล์ ความรู้และทักษะการวางระบบน้ำธรรมชาติ
  2. ผู้เรียนควรเพิ่มความรู้ด้านอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการให้บริการลานกางเต็นท์

การเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (เช่น เกิดนโยบาย เกิดข้อตกลงชุมชน เกิดมาตรการทางสังคม)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้ความรู้และทักษะด้านนวัตกรรมการท่องเที่ยวหลากชีวภาพเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในธุรกิจลานกางเต็นท์เพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว

ผู้เรียนสามารถประยุกต์ความรู้และทักษะต่างๆตามหน่วยการเรียน ได้แก่ การออกแบบธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว การเป็นผู้ประกอบการธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว การจัดการนวัตกรรมท่องเที่ยวเชิงนิเวศชีวภาพเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ การออกแบบเส้นทางและกิจกรรมการท่องเที่ยวสีเขียวเพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ในธุรกิจลานกางเต็นท์ การออกแบบอาหารและเครื่องดื่มสำหรับธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียวด้วยการประยุกต์ใช้เศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) การสร้างรายได้จากธุรกิจลานกางเต็นท์ด้วยการประยุกต์ใช้แนวคิดเศรษฐกิจชีวภาพ (Bioeconomy) และการจัดการที่พักประเภทธุรกิจลานกางเต็นท์เพื่อการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

ภาพถ่ายรายงานการปรับปรุงพื้นที่และการดำเนินกิจการลานกางเต็นท์ด้วยการประยุกต์ใช้องค์ความรู้และทักษะด้านการปล่อยคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์และหลัก BCG ในการดำเนินกิจธุรกิจลานกางเต็นท์เพื่อส่งเสริมการประกอบธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว ได้แก่ การแยกประเภทขยะ การลดการปล่อย Carbon ในพื้นที่ การนำหลัก BCG มาออกแบบอาหาร อาหารว่าง เครื่องดื่มเพื่อสร้างรายได้ให้กับธุรกิจลานกางเต็นท์

  1. ผู้เรียนควรเพิ่มทักษะและความรู้ด้านการออกแบบพื้นที่ลานกางเต็นท์ในรูปแบบพื้นที่ที่ดินที่แตกต่าง เช่น พื้นที่ที่เป็นที่ดินลุ่มรับน้ำ พื้นที่ภูเขาสูง ความรู้และทักษะด้านระบบการใช้พลังงานสะอาด การคำนวณขนาดและการออกแบบโซล่าเซลล์ ความรู้และทักษะการวางระบบน้ำธรรมชาติ
  2. ผู้เรียนควรเพิ่มความรู้ด้านอุปกรณ์ที่จำเป็นสำหรับการให้บริการลานกางเต็นท์
  3. ผู้เรียนควรเพิ่มทักษะด้านการออกแบบภูมิทัศน์และการจัดวางระบบสาธารณูปโภคในพื้นที่ลานกางเต็นท์

ผู้เรียนได้ประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและภาษาอังกฤษไปใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว

  1. ผู้เรียนสามารถสร้าง Marketing Channels เพื่อธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว และนำเสนอ Website Google Sheets, Google Forms, Google Sites, Social Medias, Chatbots DialogFlow เพื่อการดำเนินธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว ได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนทุกขั้นตอน
  2. ผู้เรียนสามารถสร้างการตลาดดิจิทัล (Digital Marketing Marketing) เพื่อธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว และสามารถนำเสนอ เครื่องมือ Google และSearch Engine Optimization (SEO) เพื่อการดำเนินธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียวได้อย่างถูกต้องและครบถ้วนทุกขั้นตอน
  3. ผู้เรียนสามารถใช้ภาษาอังกฤษระดับต้นในการสื่อสารในธุรกิจลานกางเต็นท์ได้อย่างถูกต้อง

ผู้เรียนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิตอลและภาษาอังกฤษไปใช้ในการปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจลานกางเต็นท์สีเขียว ได้แก่ การออกแบบระบบการจองที่พัก การออกแบบ website ลานกางเต็นท์ การนำภาษาอังกฤษมาใช้ในการเขียนและการสื่อสารการตลาดลานกางงเต็นท์

การวางระบบการควบคุมการใช้พลังงานในพื้นที่กิจการลานกางเต็นท์

การเปลี่ยนกลไก และกระบวนการในชุมชนที่เอื้อต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ (เช่น เกิดกลุ่ม ชมรม เครือข่าย เกิดกระบวนการเรียนรู้ เกิดกระบวนการมีส่วนร่วม)

การเปลี่ยนแปลงทั้งที่คาดการณ์ไว้และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้ารายละเอียดหลักฐานแนวทางการพัฒนาต่อ

การรวมกลุ่มกันของผู้เรียนเพื่อเป็นกลุ่มผู้ประกอบการลานกางเต็นท์สีเขียว หรือเรียกในนาม SDU Green Camp Ground

กลุ่มผู้เรียนที่กำลังดำเนินการปรับปรุงพื้นที่และดำเนินการจดทะเบียนผู้ประกอบการที่พักประเภทมิใช่โรงแรม

การให้คำแนะนำในการดำเนินการจดทะเบียนผู้ประกอบกิจการที่พักประเภทมิใช่โรงแรม

มาตรฐานลานกางเต็นท์สีเขียวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมของมหาวิทยาลัยสวนดุสิต