ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

หลักสูตรเกษตรกรอัจฉริยะและชุมชนอัจฉริยะ เชื่อว่า “เราสามารถพัฒนาเกษตรกรให้มีความเป็นเกษตรกรอัจฉริยะได้ ถ้าเรามีเกษตรกรอัจฉริยะที่มากพอเราก็จะได้ชุมชนเกษตรอัจฉริยะ” หลักสูตรนี้เป็นการดำเนินงานเพื่อให้เกษตรกรที่มีทุนความเชี่ยวชาญด้านการเกษตรเดิมได้มีการ Upskill การทำการเกษตรด้วยการใช้เทคโนโลยีแบบสมาร์ทฟาร์ม มีการตรวจวัดค่าที่ได้จากอุปกรณ์ตรวจวัดแบบอัตโนมัติ ได้แก่ ความชื้นในดิน ความชื้นในอากาศ อุณหภูมิ ค่าการนำไฟฟ้าของดิน การเปิดปิดน้ำอัตโนมัติ มาประยุกต์ใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเอง มีการบูรณาการองค์วามรู้ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ ความรู้ทางด้านการเกษตรจากผู้เชี่ยวชาญ การประกอบการดิจิทัลที่เน้นไปที่การสร้างดิจิทัลคอนเทนต์ด้วยสื่อมัลติมีเดียผ่านแอปพลิเคชัน TikTok การสร้างความเข้าใจด้านบัญชีการเงินและระบบโลจิสติกส์ เพื่อสร้างความเข้าใจในมิติของการคำนวณต้นทุนการผลิตสินค้าของตนเอง การอ่านและตีความแผนที่การใช้ที่ดินข้อมูลดาวเทียม Google Earth และการกำหนดตำแหน่งบนโลกด้วยพิกัดทางภูมิศาสตร์เพื่อการปักหมุดพื้นที่เกษตรของตนเองบน Google Map เพื่อการประกอบธุรกิจด้านการเกษตร การดำเนินในรุ่นที่ 1 นี้มีผู้เข้าร่วมทั้งสิ้น 43 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มเกษตรวิสาหกิจชุมชนคนเกษตรปลูกพืชผักและผลไม้ปลอดภัย ในพื้นที่ตำบลบ่อหลวง - ตำบลบ่อสลี จำนวน 39 คน ครูโรงเรียนในเขตพื้นที่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 5 จำนวน 2 คน และ เกษตรกรในพื้นที่อำเภอจอมทองจำนวน 2 คน โดยผู้เรียนทุกคนมีพื้นฐานการทำการเกษตรเป็นทุนเดิม มีการปลูกผัก พืชล้มลุก ผักในโรงเรือน องุ่น และบางส่วนได้มีการปลูกเมล่อน ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจและพืชทางเลือกที่ให้ผลตอบแทนที่ดี เนื่องจากมีราคาขายค่อนข้างสูง และสามารถเพาะปลูกได้ง่าย เกษตรกรผู้เรียนมีทักษะการปลูกพืช มีการรวมกลุ่มกันเป็นเครือข่ายทางด้านการเกษตรที่เข้มแข็ง ตั้งอยู่ในสภาพภูมิประเทศที่เอื้อต่อการทำการเกษตร ที่สามารถดำเนินกิจกรรมหลักสูตรเกษตรกรอัจฉริยะและชุมชนอัจฉริยะ Smart Farming ให้เกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม รูปแบบการจัดกิจกรรมได้มีการดำเนินเป็นภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ณ ฟาร์มสเตย์ เมล่อน จุ๋ย ต.บ่อหลวง อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ พิกัดทางภูมิศาสตร์ ละติจูด ลองกิจูด 18.1050797,98.3682604 มีระยะห่างจากมหาวิทยาลัยฟาร์อีสเทอร์น 150 กิโลเมตร (รูปที่ 1) ผลการดำเนินกิจกรรมในหลักสูตร พบว่า เกษตรกร Upskill เป็นเกษตรกรแบบอัจฉริยะ หรือ Smart Farmer มีผู้ผ่านหลักสูตรจำนวน 40 คน และไม่ผ่านหลักสูตรจำนวน 3 คน พบว่ามีเกษตรกรได้เริ่มดำเนินการด้วยการนำเอาอุปกรณ์อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (Internet of Things) มาประยุกต์ใช้ในกิจกรรมทางการเกษตรในพื้นที่ของตนเอง ปัจจุบันอยู่ระหว่างการดำเนินงานติดตั้งระบบ ได้แก่ ระบบควบคุมการเปิดปิดเพื่อแจกจ่ายน้ำเข้าโรงเรือน ระบบตรวจวัดอุณหภูมิ ความชื้นในดิน ความชื้นในอากาศ ระบบการแสดงผลการสถานะการทำงาน จำนวนทั้งสิ้น 27 คน จากผู้เข้าร่วมทั้งหมด 43 คน คิดเป็นร้อยละ 62.79 ถือได้ว่าผ่าน 3 เกณฑ์ตัวชี้วัด 3 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความรู้ ทักษะ และเจตคติ จัดอยู่ในกลุ่ม “ดีมาก” และมีเกษตรกรจำนวน 13 คน ผ่าน 2 ตัวบ่งชี้ ได้แก่ ความรู้ และทักษะ คิดเป็นร้อยละ 30.23 และมีจำนวน 3 คนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ คิดเป็นร้อยละ 6.98

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh