แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ


“ การซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า ”



หัวหน้าโครงการ

ชื่อโครงการ การซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ FN64/0029 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 31 ตุลาคม 2565


กิตติกรรมประกาศ

"การซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
การซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เพิ่มการเรียนรู้ที่เติมเต็มความรู้และทักษะ ตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการและการพัฒนาประเทศ ทั้งยังเป็นการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะทางการการซ่อมบํารุงยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมีคุณภาพตรงตามหลักทางวิชาการ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) Module 1 พื้นฐานวิศวกรรมยานยนต์ (2) Module 2 วิศวกรรมความปลอดภัยและการบำรุงรักษายานยนต์
(3) Module 3 พื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์สมัยใหม่ (4) Module 4 เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่

ข้อเสนอแนะ จากแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าอบรบโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) หลักสูตรการซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า สามารถรวบรวมข้อเสนอแนะได้ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการอบรม พบว่าเนื้อหาในการฝึกอบรมตรงกับวัตถุประสงค์ในระดับดีมาก ระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี หลักสูตรเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับดีมาก และสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมาก ข้อเสนอแนะที่ได้รับคือเป็นโครงการฝึกอบรมที่ดี เหมาะสม ทันสมัย กับการเริ่มเปลี่ยนถ่ายระบบเครื่องยนต์สันดาปเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า สามารถวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น
2) ด้านวิทยากร พบว่าความสามารถในการถ่ายทอด/สื่อสาร/ความเข้าใจของวิทยากร การเรียงลำดับบรรยายเนื้อหาได้ครบถ้วน การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น การตอบคำถามได้ตรงประเด็นและชัดเจนทั้งหมดอยู่ในระดับดีมาก และข้อเสนอแนะที่ได้รับคือวิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
3) ด้านสถานที่และการบริการ พบว่าสถานที่จัดอบรมเหมาะสม เจ้าหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกได้ตามความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. Module 1 - Module 4
  2. การซ่อมบํารุงยานยนต์ไฟฟ้า

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. การซ่อมบํารุงยานยนต์ไฟฟ้า

วันที่ 11 มิถุนายน 2565 เวลา 08:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

โครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะเพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิต ตามนโยบายการปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) ปีงบประมาณ 2564 เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตรระยะสั้น (Non-Degree) ที่มีรูปแบบการจัดการศึกษาลักษณะให้ใบรับรอง (Certificate) คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มีความร่วมมือทางวิชาการกับ บริษัท สามล้อไทย จำกัด และ บริษัท เรียล บีพีเอ็ม จำกัด ซึ่งร่วมกันออกแบบหลักสูตรให้ตรงตามความต้องการของสถานประกอบการภาคอุตสาหกรรม โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางวิชาการ งานวิจัย และร่วมกันพัฒนาบุคลากร ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพัฒนาอุตสาหกรรมไทยในยุค 4.0 โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ภายใต้ภารกิจสำคัญคือ “สร้างผู้นำแห่งการถ่ายทอดเทคโนโลยี และนวัตกรรมวิชาชีพเชิงสร้างสรรค์”
ดังนั้นเพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายรัฐทางหนึ่งในการพัฒนาบุคลากรภายในประเทศ ที่จะออกไปสู่ตลาดแรงงานด้วยบทบาทและหน้าที่ของสถาบันอุดมศึกษา โดยคณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ ได้ตระหนักถึงการเปลี่ยนแปลงทางด้านอุตสาหกรรมยานยนต์ไปสู่อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ ประกอบกับมีความพร้อมทางด้านบุคลากร เครื่องมือและอุปกรณ์ ในการพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอนที่รองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ จึงเสนอหลักสูตรประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) โดยการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เพิ่มการเรียนรู้ที่เติมเต็มความรู้และทักษะ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการและการพัฒนาประเทศ ทั้งยังเป็นการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะทางการการซ่อมบํารุงยานยนต์ไฟฟ้า ได้อย่างมีคุณภาพตรงตามหลักทางวิชาการ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม วันเวลาอบรม
1) ภาคทฤษฎี รูปแบบออนไลน์ เวลา 18.00 น. – 21.00 น. 2) ภาคปฏิบัติ อบรมวันเสาร์และวันอาทิตย์ เวลา 8.00 น. – 18.00 น. สถานที่ฝึกอบรม
1) ภาคทฤษฎี ใช้การอบรมออนไลน์ 2) ภาคปฏิบัติ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ และสถานประกอบการ
เนื้อหาหลักสูตร การฝึกอบรม 42 วัน (330 ชม.) 1) ภาคทฤษฎี รูปแบบออนไลน์ 2) ภาคปฏิบัติ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ
และสถานประกอบการ
3) การศึกษาดูงาน สถาบันยานยนต์ จำนวน 1 วัน โดยเนื้อหาหลักสูตรประกอบด้วย 4 โมดูล จำนวนชั่วโมงการเรียนทั้งหมด 330 ชั่วโมง
(60 ชั่วโมงทฤษฎี : 270 ชั่วโมงปฏิบัติ) โดยมีรายละเอียดด้านล่างนี้ 1 พื้นฐานวิศวกรรมยานยนต์
1.1 พื้นฐานยานยนต์ 1.2 หลักการเทคโนโลยีเครื่องมือวัดและทดสอบยานยนต์ 1.3 ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดทางยานยนต์ 1.4 ฝึกปฏิบัติทดสอบวัดสมรรถนะเครื่องยนต์ 1.5 ฝึกปฏิบัติทดสอบระบบเบรก 1.6 ฝึกปฏิบัติระบบระบายความร้อน 2 วิศวกรรมความปลอดภัยและการบำรุงรักษายานยนต์
2.1 หลักการการบำรุงรักษายานยนต์ 2.2 ฝึกปฏิบัติการบำรุงรักษายานยนต์และแก้ปัญหาในกรณีฉุกเฉิน 2.3 ฝึกปฏิบัติระบบส่งกำลัง 2.4 ฝึกปฏิบัติระบบเครื่องล่าง 2.5 ฝึกปฏิบัติระบบบังคับเลี้ยว 2.6 ฝึกปฏิบัติระบบเครื่องปรับอากาศ 3 พื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับ ยานยนต์สมัยใหม่
3.1 หลักการวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 3.2 หลักการระบบดิจิตอลและไมโครคอนโทรเลอร์ 3.3 หลักการเครื่องมือวัดและการทดสอบทางไฟฟ้า 3.4 หลักการความปลอดภัยและอุปกรณ์ป้องกันทางไฟฟ้า 3.5 ฝึกปฏิบัติวงจรไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์กำลัง 3.6 ฝึกปฏิบัติการวงจรดิจิตอลและไมโครคอนโทรเลอร์ 3.7 ฝึกปฏิบัติการใช้เครื่องมือวัดทางไฟฟ้า 4 เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ 4.1 หลักการเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้นและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับยานยนต์ไฟฟ้า 4.2 หลักการขับเคลื่อนมอเตอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 4.3 หลักการกักเก็บพลังงานและการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 4.4 หลักการบำรุงรักษารถจักรยานยนต์ไฟฟ้า 4.5 ฝึกปฏิบัติการทางยานยนต์ไฟฟ้า 4.6 ฝึกปฏิบัติการขับเคลื่อนมอเตอร์สำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 4.7 ฝึกปฏิบัติการกักเก็บพลังงานและการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า 4.8 ฝึกปฏิบัติการบำรุงรักษายานยนต์ไฟฟ้า

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

1 ด้านความรู้ 1) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านพื้นฐานยานยนต์และวิศวกรรมความปลอดภัย 2) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านวิศวกรรมความปลอดภัยและการบำรุงรักษายานยนต์ 3) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านพื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์สมัยใหม่ 4) ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจด้านหลักการเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าเบื้องต้น 5) ผู้เข้าอบรมสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ร่วมกับการฝึกทักษะการปฏิบัติงานด้านพื้นฐานยานยนต์ การบำรุงรักษายานยนต์ พื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ และเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้าอย่างเหมาะสม 6) ผู้เข้าอบรมสามารถการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหาในการบำรุงรักษายานยนต์ไฟฟ้า 2 ด้านปัญญา 1) ผู้เข้าอบรมสามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ปัญหาในการปฏิบัติงานด้านการบำรุงรักษายานยนต์ไฟฟ้าได้ 2) ผู้เข้าอบรมสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานจริงได้

 

40 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

โครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่และกำลังคนที่มีสมรรถนะ เพื่อตอบโจทย์ภาคการผลิตตามนโยบาย การปฏิรูปการอุดมศึกษาไทย ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) ปีงบประมาณ 2564 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ หลักสูตรการซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า ดำเนินการตั้งแต่วันที่ 11 มิถุนายน 2565 ถึง 25 กันยายน 2565 จำนวนชั่วโมงการเรียนทั้งหมด 330 ชั่วโมง (60 ชั่วโมงทฤษฎี : 270 ชั่วโมงปฏิบัติ) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เพิ่มการเรียนรู้ที่เติมเต็มความรู้และทักษะ เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการและการพัฒนาประเทศ ทั้งยังเป็นการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะทางการการซ่อมบํารุงยานยนต์ไฟฟ้า ได้อย่างมีคุณภาพตรงตามหลักทางวิชาการ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม
ผู้เข้าร่วมอบรมโครงการทั้งสิ้น 40 คน มีผู้ตอบแบบสอบถาม 21 คน เป็นเพศชาย 18 คน หญิง 3 คน ระดับการศึกษา มัธยมศึกษาตอนปลาย/ปวช. 1 คน ปวส./อนุปริญญา 2 คน ปริญญาตรี 16 คน สูงกว่าปริญญาตรี 2 คน ประกอบอาชีพ ลูกจ้าง/พนักงานบริษัท 10 คน ธุรกิจส่วนตัว 8 คน พนักงานราชการ 2 คน เกษียณอายุราชการ 1 คน เป็นศิษย์เก่าของมทร.กรุงเทพ 11 คน การรับทราบข่าวสารของโครงการ เพื่อน/คนรู้จัก 13 คน สื่อสังคมออนไลน์ 7 คน ข่าวประชาสัมพันธ์จากบริษัท 1 คน ผู้เข้าร่วมได้รับความรู้ความเข้าใจการออกแบบและผลิตชิ้นงานอุตสาหกรรมควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ (CNC) เพิ่มขึ้นจากการเข้าร่วมโครงการ 22 คน
จากผลการสำรวจความคิดพึงพอใจของผู้เข้าร่วมอบรมต่อการจัดโครงการ พบว่า ค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการจัดโครงการ ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.68 รายละเอียดดังนี้ ด้านเนื้อหา โมดูล 1 พื้นฐานวิศวกรรมยานยนต์ มีความเหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มาก ค่าเฉลี่ย = 4.38 โมดูล 2 วิศวกรรมความปลอดภัยและการบำรุงรักษายานยนต์ มีความเหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย
= 4.67 โมดูล 3 พื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์สมัยใหม่ มีความเหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.81 โมดูล 4 เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ มีความเหมาะสมตรงกับวัตถุประสงค์ของโครงการ ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.81 เนื้อหาความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรม ตรงตามที่คาดหวัง ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มาก ค่าเฉลี่ย = 4.48 สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการฝึกอบรมไปใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงานได้ ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มาก ค่าเฉลี่ย = 4.48 ระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.62
ด้านวิทยากร ความสามารถในการถ่ายทอดความรู้/สื่อสาร/ความเข้าใจ ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.67 การเรียงลำดับเนื้อหาได้ครบถ้วน ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.52 การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.90 การตอบคำถามและแก้ปัญหาได้ตรงประเด็นและชัดเจน ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.81
ด้านสถานที่และการบริการ สถานที่จัดการฝึกอบรม มีความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.62 อาหารและเครื่องดื่ม มีความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.95 เครื่องมืออุปกรณ์/สิ่งอำนวยความสะดวก มีความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.62 เจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ มีความเหมาะสม ระดับความพึงพอใจอยู่ในเกณฑ์มากที่สุด ค่าเฉลี่ย = 4.86

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เน้นการเรียนรู้จากประสบการณ์ ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ เพิ่มการเรียนรู้ที่เติมเต็มความรู้และทักษะ ตอบสนองต่อความต้องการของสถานประกอบการและการพัฒนาประเทศ ทั้งยังเป็นการฝึกอบรมให้แก่ประชาชนผู้สนใจทั่วไป และผู้ที่ต้องการเพิ่มพูนทักษะทางการการซ่อมบํารุงยานยนต์ไฟฟ้าได้อย่างมีคุณภาพตรงตามหลักทางวิชาการ สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ (1) Module 1 พื้นฐานวิศวกรรมยานยนต์ (2) Module 2 วิศวกรรมความปลอดภัยและการบำรุงรักษายานยนต์
(3) Module 3 พื้นฐานเทคโนโลยีไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์สำหรับยานยนต์สมัยใหม่ (4) Module 4 เทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่

ข้อเสนอแนะ จากแบบสำรวจความพึงพอใจของผู้เข้าอบรบโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ประเภทประกาศนียบัตร (Non-Degree) หลักสูตรการซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า สามารถรวบรวมข้อเสนอแนะได้ออกเป็น 3 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการอบรม พบว่าเนื้อหาในการฝึกอบรมตรงกับวัตถุประสงค์ในระดับดีมาก ระยะเวลาในการฝึกอบรมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับดี หลักสูตรเอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้และพัฒนาความสามารถของผู้เข้าอบรมอยู่ในระดับดีมาก และสามารถนำสิ่งที่ได้รับจากโครงการนี้ไปใช้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับดีมาก ข้อเสนอแนะที่ได้รับคือเป็นโครงการฝึกอบรมที่ดี เหมาะสม ทันสมัย กับการเริ่มเปลี่ยนถ่ายระบบเครื่องยนต์สันดาปเป็นมอเตอร์ไฟฟ้า สามารถวิเคราะห์ปัญหาเบื้องต้น
2) ด้านวิทยากร พบว่าความสามารถในการถ่ายทอด/สื่อสาร/ความเข้าใจของวิทยากร การเรียงลำดับบรรยายเนื้อหาได้ครบถ้วน การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น การตอบคำถามได้ตรงประเด็นและชัดเจนทั้งหมดอยู่ในระดับดีมาก และข้อเสนอแนะที่ได้รับคือวิทยากรได้ถ่ายทอดความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริง
3) ด้านสถานที่และการบริการ พบว่าสถานที่จัดอบรมเหมาะสม เจ้าหน้าที่ดูแลอำนวยความสะดวกได้ตามความเหมาะสมอยู่ในระดับดีมาก

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

ผู้เข้าร่วมอบรมมีพื้นฐานความรู้ไม่เท่ากัน

ผู้เข้าร่วมอบรมบางท่านไม่มีพื้นฐานทางด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

ควรสอนพื้นฐานด้านไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ก่อน


การซ่อมบำรุงยานยนต์ไฟฟ้า จังหวัด

รหัสโครงการ FN64/0029

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด