directions_run

หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (หลักสูตรประกาศนียบัตร 70 ชั่วโมง)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า


“ หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (หลักสูตรประกาศนียบัตร 70 ชั่วโมง) ”



หัวหน้าโครงการ

ชื่อโครงการ หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (หลักสูตรประกาศนียบัตร 70 ชั่วโมง)

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ FN64/0015 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2565


กิตติกรรมประกาศ

"หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (หลักสูตรประกาศนียบัตร 70 ชั่วโมง) จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต วิทยาเขตร่มเกล้า ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (หลักสูตรประกาศนียบัตร 70 ชั่วโมง)



บทคัดย่อ

หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (190 ชั่วโมง) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้อย่างปลอดภัย มีรูปแบบการเรียนการสอนทั้งแบบ onsite และ online

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ 1. แผนการท่องเที่ยว one day trip ในการฝึกปฏิบัติในแหล่งท่องเที่ยวจริง และ 2. Final Project
มีประเด็นความรู้สำคัญในการอบรมดังนี้ (1) บทบาท จริยธรรมและกฎหมายในการดูแลผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพ (บรรยายและทดลอง) (2) แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21และการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุ การประเมินสัญญาณชีพและการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล(บรรยายและทดลอง) (3) การดูแลผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: ฝึกปฏิบัติสัมภาษณ์ความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุในการเดินทาง: การวางแผนการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุรายบุคคลและรายกลุ่ม (4) การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในผู้สูงอายุ และ การดูแลสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ (5) ฝึกภาคปฏิบัติในแหล่งท่องเที่ยวจริง (6) การฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง (Coaching experiential learning)

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานและหลักสูตร
  จุดที่ควรพัฒนา จากการนำผลการประเมินของผู้สำเร็จการอบรมรุ่นที่ 1 และคณะทำงานบริหารหลักสูตรมาพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร โดยสรุปดังนี้   1. ปรับชั่วโมงการอบรม โดยเพิ่มชั่วโมง onsite จาก 70 ชั่วโมงเป็น 90 ชั่วโมง และลดชั่วโมง online จาก 120 ชั่วโมงเหลือ 100 ชั่วโมง ซึ่งจำนวนชั่วโมงทั้งหมดของหลักสูตรยังคง 190 ชั่วโมงเท่าเดิม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกภาคปฏิบัติ onsite มากขึ้นในด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมมาจากหลากหลายอาชีพซึ่งมีพื้นฐานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ต่างกัน   2. จัดให้มีการสัมภาษณ์ในขั้นกลั่นกรองผู้สมัคร เพื่อให้ได้ผู้เข้ารับการอบรมที่มีคุณสมบัติสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรมากขึ้น   3. สร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการเอกชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและ/หรือการท่องเที่ยวทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้สนใจและเพิ่มโอกาสให้ผู้สำเร็จการอบรมสร้างงานที่นำไปสู่การสร้างรายได้ ทั้งยังยกระดับภาพลักษณ์และคุณภาพในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. การเรียนการสอน onsite
  2. การเรียนการสอน online
  3. บทบาท จริยธรรมและกฎหมายในการดูแลผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพ (บรรยายและทดลอง)
  4. แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21และการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุ การประเมินสัญญาณชีพและการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล(บรรยายและทดลอง)
  5. การดูแลผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: ฝึกปฏิบัติสัมภาษณ์ความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุในการเดินทาง: การวางแผนการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุรายบุคคลและรายกลุ่ม
  6. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในผู้สูงอายุ และ การดูแลสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ
  7. ฝึกภาคปฏิบัติในแหล่งท่องเที่ยวจริง
  8. การฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง (Coaching experiential learning)

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. บทบาท จริยธรรมและกฎหมายในการดูแลผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพ (บรรยายและทดลอง)

วันที่ 7 พฤษภาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

-บรรยายแบบมีส่วนร่วม -การวิเคราะห์กรณีศึกษา (case study analysis) -ฝึกปฏิบัติและสาธิตย้อนกลับการให้การดูแลผู้สูงอายุโดยคำนึงถึงบทบาท จริยธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ และสิทธิผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ดูแลผู้สูงอายุโดยคำนึงถึงบทบาท จริยธรรม กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ดูแลผู้สูงอายุ และสิทธิผู้สูงอายุตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้สูงอายุได้จริง ทั้งในขณะฝึกปฏิบัติและในสถานการณ์จริง

 

40 0

2. แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21และการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุ การประเมินสัญญาณชีพและการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล(บรรยายและทดลอง)

วันที่ 14 พฤษภาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • การบรรยายร่วมกับกิจกรรมกลุ่มผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 กระบวนการชรา การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ -บรรยายร่วมกับสาธิตย้อนกลับการประเมินสัญญาณชีพและการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ -การบรรยายร่วมกับการวิเคราะห์กรณีศึกษา (case study analysis)การจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

-สามารถอธิบาย/ตอบคำถาม/สอบผ่านข้อเขียน ในเรื่องแนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21 กระบวนการชรา การเปลี่ยนแปลงในวัยสูงอายุ และความจำเป็นในการดูแลผู้สูงอายุได้ -สามารถอธิบาย/ตอบคำถาม/สอบผ่านข้อเขียน/ปฏิบัติในสถานการณ์จริง ในเรื่องการประเมินสัญญาณชีพ การดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล
การปฐมพยาบาลเบื้องต้นและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุได้ -สามารถอธิบาย/ตอบคำถาม/สอบผ่านข้อเขียน ในเรื่องการจัดสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมและการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุได้

 

40 0

3. การดูแลผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: ฝึกปฏิบัติสัมภาษณ์ความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุในการเดินทาง: การวางแผนการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุรายบุคคลและรายกลุ่ม

วันที่ 21 พฤษภาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • การบรรยายร่วมกับกิจกรรมกลุ่ม การฝึกปฏิบัติและสาธิตย้อนกลับการให้การดูแลผู้สูงอายุตามความต้องการทางสุขภาพ
  • การบรรยายร่วมกับกิจกรรมกลุ่มการใช้คอมพิวเตอร์เบื้องต้น
    การใช้งาน application ผ่านโทรศัพท์มือถือ และ ความต้องการ การดูแลของผู้สูงอายุในการเดินทาง
  • ฝึกปฏิบัติและสาธิตย้อนกลับการดูแลผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ โดยใช้ application
    ผ่านโทรศัพท์มือถือในการวางแผนการดโุแลและจัดแผนการท่องเที่ยวตามความต้องการของผู้สูงอายุ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • ดูแลผู้สูงอายุตามความต้องการทางสุขภาพเป็นรายบุคคลไ้ด้
  • สามารถใช้ application ผ่านโทรศัพท์มือถือในการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุและจัดแผนการท่องเที่ยวตามความต้องการของผู้สูงอายุได้

 

40 0

4. การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในผู้สูงอายุ และ การดูแลสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ

วันที่ 28 พฤษภาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

  • บรรยายร่วมกับสาธิตย้อนกลับการประเมินสัญญาณชีพและการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคลการปฐมพยาบาลเบื้องต้นและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ
  • การใช้บทบาทสมมติ (role play) ในการอธิบายการดูแลสุขภาพจิตในผู้สูงอายุได้

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

  • สามารถปฐมพยาบาลเบื้องต้นแก่ผู้สูงอายุในการเดินทางท่องเที่ยวได้
  • สามารถการดูแลสุขภาพจิตในผู้สูงอายุได้

 

40 0

5. ฝึกภาคปฏิบัติในแหล่งท่องเที่ยวจริง

วันที่ 4 มิถุนายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

การพาผู้สูงอายุ(standardized patient) ท่องเที่ยวตามแผนการท่องเที่ยวที่จัดไว้ ในแหล่งท่องเที่ยวจริง -การเตรียมผู้สูงอายุก่อนการท่องเที่ยว -การดูแลผู้สูงอายุระหว่างการท่องเที่ยว -การส่งผู้สูงอายุกลับบ้านอย่างปลอดภัย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

การพาผู้สูงอายุ (standardized patient) ท่องเที่ยวตามแผนการท่องเที่ยวที่จัดไว้ ในแหล่งท่องเที่ยวจริง ณ ตลาดโก้งโค้ง บ้านแสงโสม  และวัดใหญ่ชัยมงคล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้เข้ารับการอบรมสามารถนำเที่ยวผู้สูงอายุได้ถูกต้องเหมาะสมตามแผนการท่องเที่ยว และดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเฉพาะบุคคลได้อย่างถูกต้อง ปลอดภัย

 

40 0

6. การฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง (Coaching experiential learning)

วันที่ 6 มิถุนายน 2565

กิจกรรมที่ทำ

การฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริงที่ได้จากการเรียน on site ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ มาจัดทำ Final Project ให้กลุ่มผู้สูงอายุท่องเที่ยวในประเทศไทย แบบพักค้าง 3-5 วัน โดยจัดทำเป็นเล่มโครงการและนำเสนอ
-Coaching จากวิทยากรด้านการพยาบาลในการดุูแลผู้สูงอายุสุขภาพดีที่อาจมีโรคประจำตัว ให้ท่องเที่ยวได้อย่างปลอดภัย -Coaching จากวิทยากรด้านการท่องเที่ยว ในการจัดแผนการท่องเที่ยวได้อย่างเหมาะสมและปลอดภัย -Coaching จากวิทยากรด้านการพยาบาลในการจัดทำโครงการให้ถูกต้องและนำเสนอได้อย่างน่าสนใจ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

Final Project ให้กลุ่มผู้สูงอายุท่องเที่ยวในประเทศไทย แบบพักค้าง 3-5 วัน โดยจัดทำเป็นเล่มโครงการและนำเสนอ 4 โครงการ ที่สามารถนำไปจัดแผนการท่องเที่ยวจริงได้ 1. โครงการเปิดประสบการณ์สุด Exclusive เหมือนดั่งเจ้าชาย เจ้าหญิงที่ได้เดินทางท่องเที่ยว
สู่ดินแดนสปาและเมืองต้องมนต์ (เพชรบุรี – ประจวบคีรีขันธ์) 2. โครงการสุขใจวัยเก๋า เที่ยวเขาใหญ่ สุขภาพสดใส กระจายรายได้สู่ชุมชน 3. โครงการน่าน เนิบ เนิบ 4. โครงการสุขเกษม วัยเกษียณ เที่ยวปลอดภัย อบอุ่นใจ ด้วย caregiver เคียงกาย

 

40 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

บทสรุปผู้บริหาร หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (190 ชั่วโมง) Caregiver of Seniors for Health Tourism Purposes Program (190 hours) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ความเป็นมาของหลักสูตร       มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตมีแผนพัฒนาความเป็นเลิศของสถาบันอุดมศึกษาและแผนการผลิตกำลังคนระดับสูงเฉพาะทางตามความต้องการของประเทศ ประจำปีการศึกษา 2565-2569 ในยุทธศาสตรกลุ่มที่ 5 ว่าด้วยการผลิตและพัฒนาบุคลากรวิชาชีพและสาขาจำเพาะ (Development of Professionals and Specialists) ในแผนปฏิบัติการรายปีประจำปี 2565 ของยุทธศาสตร์ที่ 1 ซึ่งมุ่งพัฒนาหลักสูตรให้ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของประเทศและโลกอนาคต ภายใต้โครงการเฉพาะด้านเพื่อพลิกโฉมมหาวิทยาลัยฯ ในด้านอุตสาหกรรมดูแลสุขภาพแบบองค์รวมและการบริการที่มีมูลค่าสูง (Holistic Wellness Industry & High Value Services) นับเป็นแผนพลิกโฉมที่ตอบสนองต่อวิกฤตการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนาสายพันธุใหม่ 2019 (COVID-19) ที่ส่งผลกระทบทุกภาคส่วนทำให้สถานประกอบการหลายแห่งต้องหยุดหรือเลิกกิจการก่อเกิดภาวการณ์ว่างงาน       มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิตเล็งเห็นถึงปัญหาจากผลกระทบดังกล่าวว่าเป็นความจำเป็นเร่งด่วนอย่างมากที่จะต้องช่วยแบ่งเบาภาระของรัฐในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะกำลังคนของประเทศให้มีความพร้อมในการรองรับการทำงานในอนาคตหลังวิกฤตการระบาดของ COVID-19 จึงมอบหมายให้คณะพยาบาลศาสตร์      จัดทำหลักสูตรระยะสั้นแบบ non-degree เกี่ยวกับการดูแลผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
    คณะพยาบาลศาสตร์ตระหนักถึงความจำเป็นดังกล่าว จึงจัดทำหลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยว เชิงสุขภาพ เป็นหลักสูตรประกาศนียบัตร 190 ชั่วโมง ที่มีเป้าหมายหลักให้ผู้สำเร็จการอบรมมีทักษะในการดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ เป็นหลักสูตรที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ที่ 1 ของมหาวิทยาลัยฯ และอยู่ในกลุ่มหลักสูตรผู้สูงอายุที่ได้รับทุนสนับสนุนจากโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ฯ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม

ประกาศนียบัตรที่ได้รับเมื่อสำเร็จการอบรม ประกาศนียบัตร: หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (190 ชั่วโมง) Certificate: Caregiver of Seniors for Health Tourism Purposes Program (190 hours)

มหาวิทยาลัยพี่เลี้ยงและพี่เลี้ยง อาจารย์ธิติมา แก้วมณี รองคณบดีโรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประธานหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต เบอร์โทรศัพท์: 0864156519 e-mail: thitital@hotmail.com อาจารย์จารุณี วิเทศน์ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต โรงเรียนการเรือน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต เบอร์โทรศัพท์: 0863396186 e-mail: charunee@gmail.com

อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร
รศ.ดร.รัตนา จารุวรรโณ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และประธานหลักสูตร เบอร์โทรศัพท์: 0899648820 e-mail: ratana.cha@kbu.ac.th อ.ดร.จารุภา จิรโสภณ อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร และผู้ประสานงานหลักสูตร เบอร์โทรศัพท์: 0897997051 e-mail: jarupa.chi@kbu.ac.th

ผลการประเมินจากผู้สำเร็จการอบรมรุ่นแรก
1. การประเมิน output เมื่อสิ้นสุดการอบรมทันที ผลการประเมินภาพรวมของหลักสูตรอยู่ในระดับมากที่สุด โดยมีคะแนนเฉลี่ย 4.70 จากคะแนนเต็ม 5 การนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ ผู้สำเร็จการอบรมส่วนใหญ่ร้อยละ 70 ต้องการนำไปใช้ในการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวและญาติในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ร้อยละ 22.5 นำไปใช้เสริมสรรถนะในการดูแลผู้สูงอายุเนื่องจากเป็นผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีด้านการพยาบาล ร้อยละ 7.5 นำไปใช้เพิ่มพูนสมรรถนะที่ต่างไปจากเดิมเนื่องจากอาชีพปัจจุบันเป็นมัคคุเทศก์ 2. การประเมิน outcome วางแผนติดตามผู้สำเร็จการอบรมรุ่นแรก ในการนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการอบรมไปใช้ 2 ระยะ คือ 3 เดือนและ 6 เดือนหลังสิ้นสุดการอบรม

จุดเด่นของหลักสูตร 1. เป็นหลักสูตรแรกที่นำศาสตร์การดูแลผู้สูงอายุมาบูรณาการกับศาสตร์การท่องเที่ยว ในโครงการบัณฑิตพันธุ์ใหม่ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม 2. เป็นหลักสูตรที่เปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายมีความหลากหลายทางประสบการณ์ ได้แก่ 1) ผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. หรือปริญญาตรีสาขาต่าง ๆ 2) ผู้ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี 3) ผู้ที่ผ่านการอบรมหลักสูตรการดูแลผู้สูงอายุแล้วแต่ต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะ และ 4) ผู้ที่ทำงานด้านการท่องเที่ยวแล้ว เช่น มัคคุเทศก์ แต่ต้องการเพิ่มพูนสมรรถนะที่ต่างไปจากเดิม

แนวปฏิบัติที่ดีของหลักสูตร 1. มีแบบฟอร์มการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Elderly Caregiving for Health Tourism Purposes Plan) ที่สามารถใช้ 1) เป็นแบบฟอร์มในการวางแผนการดูแลผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 2) เป็นแบบอย่างให้หลักสูตรอื่นนำไปใช้เพื่อการพัฒนา 2. มีคู่มือจัดการอบรม ที่หลักสูตรอื่นสามารถใช้เป็นแบบอย่างเพื่อการพัฒนา 3. มีการฝึกภาคปฏิบัติในแหล่งท่องเที่ยวจริง โดยใช้ standardized patients

จุดที่ควรพัฒนาที่สำคัญ     1. ปรับชั่วโมงการอบรม โดยเพิ่มชั่วโมง onsite จาก 70 ชั่วโมงเป็น 90 ชั่วโมง และลดชั่วโมง online จาก 120 ชั่วโมงเหลือ 100 ชั่วโมง ซึ่งจำนวนชั่วโมงทั้งหมดของหลักสูตรยังคง 190 ชั่วโมงเท่าเดิม
    2. สร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการเอกชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและ/หรือการท่องเที่ยวทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (190 ชั่วโมง) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการดูแลกิจวัตรประจำวันของผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพได้อย่างปลอดภัย มีรูปแบบการเรียนการสอนทั้งแบบ onsite และ online

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ 1. แผนการท่องเที่ยว one day trip ในการฝึกปฏิบัติในแหล่งท่องเที่ยวจริง และ 2. Final Project
มีประเด็นความรู้สำคัญในการอบรมดังนี้ (1) บทบาท จริยธรรมและกฎหมายในการดูแลผู้สูงอายุ การส่งเสริมสุขภาพ (บรรยายและทดลอง) (2) แนวคิดเกี่ยวกับผู้สูงอายุในศตวรรษที่ 21และการจัดกิจกรรมนันทนาการเพื่อผู้สูงอายุ การประเมินสัญญาณชีพและการดูแลสุขวิทยาส่วนบุคคล(บรรยายและทดลอง) (3) การดูแลผู้สูงอายุในการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ: ฝึกปฏิบัติสัมภาษณ์ความต้องการการดูแลของผู้สูงอายุในการเดินทาง: การวางแผนการท่องเที่ยวสำหรับผู้สูงอายุรายบุคคลและรายกลุ่ม (4) การปฐมพยาบาลเบื้องต้นในผู้สูงอายุ และ การดูแลสุขภาพจิตในผู้สูงอายุ (5) ฝึกภาคปฏิบัติในแหล่งท่องเที่ยวจริง (6) การฝึกปฏิบัติจากประสบการณ์จริง (Coaching experiential learning)

ข้อเสนอแนะในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานและหลักสูตร
  จุดที่ควรพัฒนา จากการนำผลการประเมินของผู้สำเร็จการอบรมรุ่นที่ 1 และคณะทำงานบริหารหลักสูตรมาพัฒนาปรับปรุงหลักสูตร โดยสรุปดังนี้   1. ปรับชั่วโมงการอบรม โดยเพิ่มชั่วโมง onsite จาก 70 ชั่วโมงเป็น 90 ชั่วโมง และลดชั่วโมง online จาก 120 ชั่วโมงเหลือ 100 ชั่วโมง ซึ่งจำนวนชั่วโมงทั้งหมดของหลักสูตรยังคง 190 ชั่วโมงเท่าเดิม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมได้ฝึกภาคปฏิบัติ onsite มากขึ้นในด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุเนื่องจากผู้เข้ารับการอบรมมาจากหลากหลายอาชีพซึ่งมีพื้นฐานด้านการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ต่างกัน   2. จัดให้มีการสัมภาษณ์ในขั้นกลั่นกรองผู้สมัคร เพื่อให้ได้ผู้เข้ารับการอบรมที่มีคุณสมบัติสอดคล้องตามเจตนารมณ์ของหลักสูตรมากขึ้น   3. สร้างความร่วมมือกับสถานประกอบการเอกชนและส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและ/หรือการท่องเที่ยวทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้สนใจและเพิ่มโอกาสให้ผู้สำเร็จการอบรมสร้างงานที่นำไปสู่การสร้างรายได้ ทั้งยังยกระดับภาพลักษณ์และคุณภาพในการท่องเที่ยวของผู้สูงอายุให้ดียิ่งขึ้น

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


หลักสูตรผู้ดูแลผู้สูงอายุเพื่อการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (หลักสูตรประกาศนียบัตร 70 ชั่วโมง) จังหวัด

รหัสโครงการ FN64/0015

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด