แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์
รายงานฉบับสมบูรณ์
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
“ การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา ”
หัวหน้าโครงการ
ชื่อโครงการ การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา
ที่อยู่ จังหวัด
รหัสโครงการ FN65/0118 เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
กิตติกรรมประกาศ
"การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา
บทคัดย่อ
โครงการผลิตบัณฑิตพันธ์ใหม่ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี มีการสื่อสารที่ดี รู้จักการบริโภคสิ่งต่างๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีสติในการควบคุมจิตใจตนเองในการแสดงพฤติกรรมต่อผู้อื่น ตื่นตัวในการเรียนรู้ และทำความเข้าใจสถานการณ์ทางสังคม สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน และเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับภาคปฏิบัติแบ่งเป็น 3 โมดูล คือ โมดูลที่ 1 การพัฒนาตนเอง โมดูลที่ 2 การพัฒนาจิตและปัญญา โมดูลที่ 3 การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เช่น โยนิโสมนสิการ จริต กุศลกรรมบถ ขันธ์ สาราณียธรรม อคติ กาลามสูตร และการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน ในการจัดกิจกรรมได้ดำเนินการทั้งสิ้น 15 สัปดาห์ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2566 มีผู้ผ่านการอบรมจำนวน 35 คน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เกิดผลลัพธ์กับผู้เข้าอบรม คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นคนมีจิตใจมั่นคง มีพฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ ผู้ผ่านการอบรมเป็นคนคิดรอบคอบมากขึ้น ไม่ด่วนตัดสินใจ ควบคุมความโกรธของตนเองได้ ไม่อ่อนไหว ไม่หงุดหงิดง่าย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เกิดผลลัพธ์กับผู้เข้าอบรม คือ การมีสิต ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น มีพฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ เมื่อเจอสถานการณ์ก็มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เกิดผลลัพธ์กับผู้เข้าอบรม คือ ผู้ผ่านการอบรมลดอัตตาได้โดยไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างสมดุล พฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ มีความเสียสละ มีน้ำใจ มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาหลักสูตร คือ 1) ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาเนื้อหาในส่วนที่เป็นทฤษฎีเป็นคู่มือ/หนังสือ/ตำรา ที่สามารถใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ 2) ควรสนับสนุนให้มีสังเคราะห์ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม 3) ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนารูปแบบการวัดผลและประเมินผลที่สะท้อนพัฒนาการการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงของผู้รับการอบรมอย่างต่อเนื่อง
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ
บทคัดย่อ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
กลุ่มเป้าหมาย
ผลลัพธ์ที่ได้
การประเมินผล
ปัญหาและอุปสรรค
ข้อเสนอแนะ
เอกสารประกอบอื่นๆ
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- การรับนักศึกษา
- การเตรียมพร้อมจัดการศึกษา
- การจัดทำรายละเอียดหลักสูตร และวางแผนดำเนินงาน
- กิจกรรมการเรียนรู้ในโมดูล 1 : การพัฒนาตนเอง
- กิจกรรมการเรียนรู้ในโมดูล 2 : การพัฒนาจิตและปัญญา
- กิจกรรมการเรียนรู้ในโมดูลที่ 3 : การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ปัจฉิมนิเทศ จบหลักสูตร
- การรับนักศึกษา (รุ่นที่ 2)
- การประเมินผลหลักสูตร
- การเตรียมพร้อมจัดการศึกษา (รุ่นที่ 2)
- การเรียนรู้ในโมดูล 1 : การพัฒนาตนเอง (รุ่นที่ 2)
- การเรียนรู้ในโมดูล 2 : การพัฒนาจิตและปัญญา (รุ่นที่ 2)
- การเรียนรู้ในโมดูลที่ 3 : การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น (รุ่นที่ 2)
- การประเมินผลหลักสูตร
- กิจกรรมปัจฉิมนิเทศปิดการศึกษาในหลักสูตร (รุ่นที่ 2)
- การประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าศึกษา
- ประชุมวางแผนการจัดการศึกษา
- จัดประชุมจัดทำคู่มือ และจัดเตรียมของที่ระลึก
- ประชุมคณะทำงาน วางแผนจัดการศึกษา
- การจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน
- ประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับภาระกิจการอบรมของวิทยากร
- การปฐมนิเทศ
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1 “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2 “การสร้างคนให้เป็นผู้เสียสละ”
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 3 "การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 4 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต”
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 5 “การพัฒนาการดำรงชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งความดีงาม”
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 6 “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : การโอบอุ้มความเปราะบาง”
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 7 “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 8 "พุทธปัญญาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 9 "เทคนิคการจัดการอารมณ์"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 10 "การแปรทุกข์เป็นความหวัง"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 11 “การบริหารจิตและเจริญปัญญา"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 12 “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน”
- การประชุมคณะทำงานเพื่อประเมินกิจกรรม
- กิจกรรมการเรียนรู้ ในสัปดาห์ที่ 13 "สุนทรียปรัศนีย์"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 14 "การพัฒนาสัมพันธ์ภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 15 "การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ"
- กิจกรรมปัจฉิมนิเทศปิดการศึกษาในหลักสูตร
- การประชุมสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ
- ประชุมคัดเลือกผู้เข้าร่วมเรียนรู้
- การประชุมพัฒนาคู่มือ
- ประชุมเตรียมพร้อมเปิดการศึกษา
- การปฐมนิเทศ และกิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 1 “ไตร่ตรองมองตน : การวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 2 “การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 3 “กุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งชีวิตที่ดีงามความดี”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 4 “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : โอบอุ้มความเปราะบาง”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 5 “การออกแบบพัฒนาชีวิตที่ดีงามตามหลักกุศลกรรมบถ”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 6 “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 7 “เทคนิคการจัดการความคิดด้วย Theory U”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 8 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 9 “การเรียนรู้เพื่อแปรเปลี่ยนความทุกข์เป็นความหวัง”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 10 “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว"
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 11 “ก้าวย่างที่เราต่างเป็นผู้รักษ์โลก”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 12 “การสื่อสารอย่างสันติ”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 13 “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน”
- จัดนิทรรศการแสดงผลงานในงาน 136 ปี มจร
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 14 “การพัฒนาสัมพันธภาพในการอยู่รวมกับผู้อื่น”
- การประชุมถอดบทเรียนและประเมินกิจกรรม
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 15 “การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ”
- ประชุมถอดบทเรียนและพัฒนาชุดความรู้
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 16 “Meditation ความสุข ความสงบ ที่เข้าถึงได้”
- ปัจฉิมนิเทศและมอบประกาศนียบัตร
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ ผลผลิต* ผลผลิตที่ตั้งไว้ ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง
1. การประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าศึกษา
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-การจัดทำระบบรับสมัครผู้เข้าศึกษา โดยใช้ Google Forms
-การจัดทำสื่อและประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าศึกษา
-การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์รับสมัครผู้เข้าศึกษาทั้งที่วิทยาลัยสงฆ์และผ่านสื่อออนไลน์ต่างๆ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
-มีผู้ลงทะเบียนสมัครเข้าศึกษาผ่านระบบ Google Forms จำนวน 65 ท่าน
35
0
2. จัดประชุมจัดทำคู่มือ และจัดเตรียมของที่ระลึก
วันที่ 1 มกราคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1.ประชุมยกร่างคู่มือ
2.ประชุมวิพากย์คู่มือ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
1.ร่างคู่มือประกอบการเรียนรู้ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา
23
0
3. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน
วันที่ 10 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
-ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนจัดกิจกรรมตลอดหลักสูตร
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
แผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร
13
0
4. ประชุมและเตรียมพร้อมจัดการศึกษา
วันที่ 13 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
-ประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อจัดทำคู่มือและจัดเตรียมของที่ระลึก
-ร่วมกันออกแบบของที่ระลึก และจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการอบรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
1.คู่มือประกอบการเรียนรู้ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา จำนวน 50 เล่ม
2.แผนการจัดอบรมจำนวน 16 สัปดาห์
3.เสื้อที่ระลึก จำนวน 50 ตัว
4.กระเป๋าที่ระลึก จำนวน 50 ใบ
23
0
5. ประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับภาระกิจการอบรมของวิทยากร
วันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
-การประชุมคณะทำงานและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภาระกิจการอบรมของวิทยากร การเชิญวิทยากรพิเศษในกิจกรรม
-ประสานงานเชิญวิทยากร
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
-แผนการจัดกิจกรรม และวิทยากรประจำกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร
23
0
6. การจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน
วันที่ 20 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
การจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
การจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน
23
0
7. การปฐมนิเทศ
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ร่วมงาน
2.พิธีเปิดปฐมนิเทศโครงการหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ “หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา” รุ่นที่ ๑
3. บรรยายพิเศษเรื่อง “การดำรงชีวิตให้มีความสุขด้วยศาสนธรรม”
3.บรรยายพิเศษ เรื่อง "ความคาดหวังของสังคมของประกาศนียบัตรหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่"
4.กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ “รู้เขารู้เรา”
5. กิจกรรมแนะนำหลักสูตร
6.กิจกรรม “แนะนำวิทยากร”
7.กิจกรรม สวดมนต์ เจริญจิตภาวนา
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
-ผู้อบรมได้รับความรู้เรื่อง “การดำรงชีวิตให้มีความสุขด้วยศาสนธรรม” , "ความคาดหวังของสังคมของประกาศนียบัตรหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่",
-ผู้เข้าอบรมได้เข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตร และวิธีการศึกษา การเตรียมตัว
-ผู้เข้าอบรมมีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการเจริญจิตภาวนา
ผลลัพธ์
-ผู้เข้าอบรมเกิดความสัมพันธ์แบบเครือข่าย
-ผู้เข้าอบรมมีทัศนคติที่ดีต่อการพัฒนาตน
50
0
8. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1 “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- บรรยาย เรื่อง “โลกทัศน์กับบุคลิกภาพ : ชีวิตกับพฤติกรรม (จริต 6)”
- กิจกรรมปฏิบัติการ “การวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6”
- กิจกรรมปฏฺิบัติการ “ค้นหาคุณค่า เริ่มตั้งเป้าหมายการพัฒนาบุคลิกภาพ”
-แบ่งกลุ่ม 6 กลุ่ม /สมาชิกในกลุ่มแชร์ประสบการ(เล่า/เลือก/หาวิธีรับมือ)
-แต่ละกลุ่มแชร์ประสบการณ์การเผชิญปัญหาและวิธีรับมือ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจในเรื่องจริต 6 ตามหลักพระพุทธศาสนา
2.ผู้เข้าอบรมได้เทคนิคในการเผชิญปัญหาและวิธีการรับมือกับปัญหาต่าง ๆ
ผลลัพธ์ (Outcome)
กิจกรรมการวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6 ตามหลักพระพุทธศาสนา ส่งผลให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การพิจารณาตนเองและผู้อื่นตรงกับจริต 6 และเกิดความเข้าใจในการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงได้จากการประเมินพฤติกรรม การอยู่ร่วมกันกับคนต่างจริต โดยผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และหากพิจารณาถึงความเข้าใจในเรื่องจริต 6 ก็พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเกินร้อยละ 80 สะท้อนว่าผู้เข้าอบรมมีการเปลี่ยนทั้งด้านความรู้และพฤติกรรม โดยมีทัศนะผู้เข้าอบรมต่อกิจกรรม ดังนี้
กรณีที่ 1 นางสภาวดี ได้รู้จักตัวเองมากขึ้นว่าเป็นคนจริตไหน และได้เรียนรู้ว่าจริตมี 6 แบบ ".ไม่เคยรู้เลยว่าเราเป็นคนโทสะจริต พอมาเรียนรู้แล้วก็ทำให้เข้าใจลูกน้องมากขึ้น ดังนั้น เวลาที่อยู่ในที่ทำงานก็จะเอาจริตที่ได้เรียนรู้มามาปรับใช้ในที่ทำาน ทำให้เห็นว่าถ้าเรารู้จักที่เค้าเป็นจริงๆ ก็จะทำให้อยู่กันง่ายขึ้นและการสั่งงานก็มีประสิทธิภาพ"
กรณีที่ 2 นายฉลอง จากที่ไม่เคยรู้มาก่อนว่าคนมีกี่จริจต เมื่อไ้ดมาเรียนในหลักสูตรนี้ ทำให้รู้จักคนมากขึ้น "ลดความคาดหวังจากน้อๆลงมาก เพราะที่ผ่านมาเราเอาตัวเอเป็นมาตรฐานมาวัดเคา้ตลอดเวลา ใจเย็นขึ้น เวลาสั่งงานก็ดูประมาณงาน และดูกำลังของน้องๆ และทำใจเผื่อเวลาผิดหวัง"
กรณีที่ 3 นางสุรัสวดี ถึงจะเป็นโค้ชมาก่อน แต่สิ่งที่เรียนรู้มาในการรู้จักคนจะรู้จักคนอื่น สัตว์ 4 ทิศ เมื่อมาใช้เครื่องมือทางพุทธศาสนา ทำให้รู้ว่ามีการแบ่งคนที่ละเอียดไปกว่าสิ่งที่ตะวันตกบอกไว้ รู้สึกทึ่งมากๆ "สิ่งที่ได้ไปปรับใช้คือ การนำไปใช้กับครอบครัว ลูกและสามีเห็นว่า ผู้พูดมีการเปลี่ยนแปลง ดูเข้าอกเข้าใจคนในครอบครัวมากขึ้น นั่นก็เป็นเพราะเราเอาเรื่องจริตที่พระอาจารย์สอนไปใช้"
35
0
9. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2 “การสร้างคนให้เป็นผู้เสียสละ”
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
- บรรยาย เรื่อง “การสร้างคนให้เป็นผู้เสียสละ”
- กิจกรรมศึกษาดูงานต้นแบบการเสียสละเพื่อส่วนรวมของพระราชธรรมนิเทศ (หลวงพ่อพยอม กลฺยาโณ) ณ วัดสวนแก้ว จังหวัดนนทบุรี
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้รูปแบบการเสียสละและต้นแบบบุคคลผู้เสียสละในการทำงานเพื่อส่วนรวม
2.ผู้เข้าอบรมได้แนวคิดในการทำงานด้านการเสียสละ
3.ผู้เข้าอบรมได้ความรู้เรื่องการบริหารจัดการ คน เงิน วัสดุ แบบเพื่อประโยชน์แก่ส่วนรวม
4.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้แบบอย่างการทำงานเพื่อส่วนรวม
5.ผู้เข้าอบรมได้แนวทางในการทำงานเพื่อส่วนร่วม และความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินพฤติกรรม "กิจกรรมการศึกษาดูงานต้นแบบการเสียสละเพื่อส่วนรวม" พบว่าผู้เข้ารับการอบรมผ่านเกณฑ์ประเมินอยู่ในระดับดีมาก ผู้เข้าอบรมได้แสดงให้เห็นถึงพฤติกรรมการลดความเห็นแก่ตัว มีจิตสาธารณะ และเสียสละเพื่อผู้อื่นให้ปรากฏชัด โดยภายหลังจากการเข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ นายณพงศ์ และผู้เข้ารับการอบรมท่านอื่นๆ ได้จัดกิจกรรมนอกเหนือจากการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภายในหลักสูตร ได้รวบรวมสิ่งของของตนนำไปบริจาคร่วมกับโครงการของวัดสวนแก้ว นอกจากนี้จากการสังเกตุพฤติกรรมพบว่าผู้เข้ารับการอบรมยังได้จัดกิจกรรมดังกล่าวเป็นระยะตลอดเวลาที่อยู่ในระหว่างการอบรม รวมทั้งในระหว่างการอบรมผู้เข้ารับการอบรมมีการนำอาหาร เครื่องดื่มและของใช้อื่นๆ มาแบ่งปันกับเพื่อนผู้เข้ารับการอบรมท่านอื่นเสมอ
ในเวทีที่ทำการสะท้อนในกระบวนการกลุ่ม ผู้ข้ารับการอบรมเกิดเจตคติ และเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังคำกล่าวที่ว่า .......................
35
0
10. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 3 "การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ"
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
- บรรยาย เรื่อง “โยนิโสมนสิการกับการพัฒนาชีวิต”
- กิจกรรมปฏิบัติการ “ออกแบบการพัฒนาบุคลิกภาพตามวิธีคิดโยนิโสมนสิการ”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ วัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องโยนิโสมนสิการกับการพัฒนาชีวิต
2.ผู้เข้าอบรมได้เทคนิคเกี่ยวกับการพัฒนาตนเองในการเป็นผู้คิดอย่างรอบครอบ
ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจ ในวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการ เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องโยนิโสมนสิการกับการพัฒนาชีวิต พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมาก
โดยผู้เข้ารับการอบรมได้สะท้อนความเปลี่ยนแปลงทางความคิดจากเดิมที่มีพฤติกรรมการคิดและตัดสินใจรวดเร็ว ตามอัตโนมัติและตามฐานคติของตน มักจะเกิดความผิดพลาด เมื่อได้เข้ารับการอบรม ทำให้เกิดการเรียนรู้ ทำให้เข้าใจว่าจะต้องมีความระมัดระวังยั้งคิดในการใช้ชีวิตให้มากขึ้น และได้นำไปใช้จริงในชีวิตประจำวัน สะท้อนให้เห็นจากบทสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้
นายณพงศ์ : ใช้ได้เยอะ เรื่องงานจะโฟกัสที่ลูกค้า ลูกน้องตีความคาดหวังของลูกค้าต่ำไป พอเข้ามาศึกษาเริ่มเข้าใจในวิถีชีวิตของน้องๆ ก็มาปรับวิธีการสอนใหม่ เราคิดเองว่าน้องๆ เค้ารู้ ก็มาปรับวิธีคิดใหม่ว่า ใช้แนวอริยสัจจ์ 4 ก่อนเรียนไม่สามารถแยกอะไรได้ ว่าไปตามสถานการณ์ ตอนมาเรียนแล้วใส่ตัวกรองเข้ามา ทำให้เรื่องราวช้าลง มีการใช้สติก่อนที่วาจาจะลั่น
นางสุรัชวดี : การคิดแบบแยกองค์ประกอบ ทำให้เราหยุดคิดก่อน คิดแบบใช้เหตุผลทำให้เราใจเย็นขึ้น ช้าลง การมีเพื่อนที่ดี กัลยาณมิตร คนที่เราคบมันส่งเสริมเรา มีพี่ ๆ เพื่อนๆ ที่ดี เรามีกัลยาณมิตร เป็นวิธีคิดแบบมีเหตุผล มีสติ
35
0
11. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 4 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต”
วันที่ 5 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1.กิจกรรมปฏิบัติการ “ไตร่ตรองมองตน : สิ่งดีๆ ที่เกิดกับฉันในเจ็ดวันที่ผ่านมา”
2.กิจกรรมปฏิบัติการ “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต : คิดอย่างไรให้ชีวิตเป็นสุข”
-ฐานกายกรรม
-ฐานวจีกรรม
-ฐานมโนกรรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมเกิดทักษะการคิดแบบโยนิโสมนสิการในการอยู่ร่วมกับคนในครอบครัว
2.ผู้เข้าอบรมได้สะท้อนวิธีคิดของตนเองเกี่ยวกับวิธีรับมือเมื่อเจอเหตุการณ์ต่าง ๆ
3.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้วิธีคิดในการใช้โยนิโสมนสิการ
-ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิคการวิเคราะห์พฤติกรรมของตนเอง
ผลลัพธ์ (Outcome)
จากกิจกรรมปฏิบัติ "ไตร่ตรองมองตน" และ "ตื่นรู้เบิกบานสานต่อสมดุลย์ชีวิต" ทำให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสขยายผลความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการให้แก่สมาชิกในครอบครัว เป็นการทบทวนความรู้และฝึกปฏิบัติการพัฒนาความคิดให้กับคนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีผลการประเมินพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมาก และจากการสะท้อนให้เห็นจากบทสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้
พี่หลอง : โอ้โห....สุดยอดมากเลย มองว่าทำให้เราหนักแน่นขึ้นมาก มีการทบทวนก่อนที่จะทำอะไรลงไป จากที่เราเป็นผู้ใหญ่อยู่แล้ว ก็เป็นมากขึ้น .....ลูกน้องชมว่า ก่อนที่จะพูดไม่สวนกลับ เป็นพูดช้าลง คิดมากขึ้น
พี่หนึ่ง : การคิดแบบแยกองค์ประกอบ ทำให้เราหยุดคิดก่อน คิดแบบใช้เหตุผลทำให้เราใจเย็นขึ้น ช้าลง การมีเพื่อนที่ดี กัลยาณมิตร คนที่เราคบมันส่งเสริมเรา มีพี่ ๆ เพื่อนๆ ที่ดี เรามีกัลยาณมิตร เป็นวิธีคิดแบบมีเหตุผล มีสติ
35
0
12. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 5 “การพัฒนาการดำรงชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งความดีงาม”
วันที่ 12 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
1.บรรยาย เรื่อง “กุศลกรรมบถ เส้นทางแห่งความดีงาม”
ขอบคุณ / ชื่นชม /
2.กิจกรรมปฏิบัติการ “การออกแบบการพัฒนาชีวิตที่ดีงาม”
3. กิจกรรมปฏิบัติการ “การพัฒนาชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถ”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมเกิดความรู้ ความเข้าใจในหลักการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวกุศลกรรมบถ 10
2.ผู้เข้าอบรมมีเทคนิคการวิเคราะห์พฤติกรรมตนเองทั้งด้านกาย วาจา ใจ ตามหลักกุศลกรรมบถ
ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องหลักการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวกุศลกรรมบถ 10 เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวกุศลกรรมบถ 10 พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจเรื่องหลักการดำเนินชีวิตที่ดีงามตามแนวกุศลกรรมบถ 10 มากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมาก โดยผู้เข้ารับการอบรมได้สะท้อนความเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม ดังนี้
นางขวัญใจ "เมื่อก่อนเมื่อลูกทำอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็จะบ่นๆๆๆ เมื่อมาเรียนรู้แล้ว นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาใข้คือ การสร้างกติกาในบ้าน โดยการพูดดีๆ และใช้เหตุผลกับลูก เป็นการลงโทษ แบบที่ให้ลูกเลือกวิธีการลงโทษตัวเอง เมื่อเราเปลี่ยนวิธีการพูดกับลูก เราก็เปลี่ยนทั้งความคิดและพฤติกรรม ลูกก็เปลี่ยนพฤติกรรมไป เราไม่เลือกใช้คำพูดที่รุนแรง ใช้คำพูดที่ดีกว่าเดิม บรรยากาศในครอบครัวก็ดีขึ้น มีการพูดคุยกันมากขึ้น"
นางสาวธนาวัลย์ : "พยายามปรับคำพูดให้เหมาะสมกับพระนิสิต ในแต่ละระดับ มีการวาตัวในที่ทำงานเหมาะสมในสถานการณ์ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งเช่น ในวันปฐมนิเทศปฏิบัติศาสนกิจ ระบบอินเทอร์เน็ตขัดข้อง ก็สามารถพูโแก้สถานการณ์ให้เกิดความเข้าใจและนำไปสู่การแก้ปัญหาได้"
35
0
13. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 6 “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : การโอบอุ้มความเปราะบาง”
วันที่ 19 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
กิจกรรมบรรยายเชิงปฏิบัติการ : เทคนิคการ เรื่อง เทคนิคการจัดการอารมณ์: โอบอุ้มความเปราะบาง
-กิจกรรม : สะท้อนคิดเพื่อการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกตนเองและรู้จักการรับฟังผู้อื่นอย่างเข้าใจ โดยไม่มีอคติ
-เก้าอี้สะท้อนอารมณ์
-ไพ่แห่งความเข้าใจผู้อื่น
-กระดุมแห่งความคาดหวัง
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การสะท้อนพฤติกรรมของตนเอง และความเปราะบางในชีวิตตนเอง
2.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการปฏิบัติต่อความเปราะบางของตนเอง
ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมกล้าสะท้อนสภาวะอารมณ์เปราะบางของตนเอง ในขณะเดียวกันก็เกิดความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น พร้อมที่จะรับฟังผู้อื่นแบบไม่ตัดสิน รู้สึกเห็นคุณค่าของตนเอง เกิดความเข้มแข็งทางจิตใจ วิเคราะห์หาทางออกจากสภาวะอารมณ์ที่เปราะบางได้ด้วยตนเองอย่างมั่นใจ สะท้อนให้เห็นได้จาก บทสัมภาษณ์ของคุณกมลพร ดังนี้ "ที่ผ่านมาไม่รู้จะคุยกับใคร ไม่รู้จะหันไปทางไหน พอได้เข้าร่วมกิจกรรม ในวันนั้นกระบวนการทำให้รู้สึกปลอดภัย ก็เกิดความกล้าจะเล่าเรื่องที่เปราะบางของเราให้ผู้อื่นฟัง เมื่อก่อนไม่กล้าพูดให้คนอื่นฟัง กลัวว่าเค้าจะเอาไปพูดที่ไหน แต่กระบวนการวันนั้นเป็นพื้นที่ปลอดภัยจริงๆ วันนั้นเมื่อพูดมาแล้วมันโล่ง เหมือนได้ปลดปล่อย เรารู้สึกเข้มแข็งขึ้น เริ่มที่จะอยู่กับตัวเองได้ ตอนนี้เริ่มปฏิบัติการแบบที่เรียนมา สวดมนต์ และฟังธรรม มากขึ้น จากที่เมื่อก่อนก็ฟังบ้าง แต่เดี๋ยวนี้ฟังทุกวัน ทำสมาธิก็มีบ้างแต่ก็ไม่ทุกวัน ตอนนี้ก็เริ่มกลับมาออกกำลังกายเหมือนเดิม ..จริงๆ มันอยู่ที่ใจคือทางออก อยู่ที่ใจจริงๆ ไม่ต้องไปหาทางออกแบบอื่น ที่เป็นรูปแบบอะไร ...ชุมชนนี้เป็นชุมชนแห่งกัลยาณมิตรจริงๆ มีการเกื้อกูลกัน ทำให้เรารู้สึกปลอดภัย... รู้สึกเห็นคุณค่าของตนเองมากขึ้น ได้กลับมาทำในสิ่งที่เราชอบ สิ่งที่เป็นเรา ใช่คำพูดของพระอาจารย์ที่ว่า "เดี๋ยวมันก็ผ่านไป"
35
0
14. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 7 “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)"
วันที่ 26 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
บรรยาย เรื่อง "การสร้าง mindset สู่การเป็นผู้ชนะ 10 คิด (Great mindset)"
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้มุมมอง แนวคิดของนักคิดระดับโลก เปิดโลกทัศน์ในการมองประเด็นความเปลี่ยนแปลงระดับมหภาค เป็นฐานในการพัฒนาวิธีคิดและชีวิตของตนเอง
ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้ mindset เป็นฐานในการพัฒนาวิธีคิดและชีวิตของตนเอง ได้สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ดังนี้
นายณพงศ์ : เป็นวิธีคิดที่สามารถนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเวลาคุยกับลูกน้องปกติจะมีความขัดแย้ง ฟังแล้วค่อยๆ มาปรับจูนบางเรื่อง ไม่ต้องเอาชนะคะคานกันแต่ก็สามารถอยู่ด้วยกันได้ แต่เดิมมีความรู้อยู่บ้าง แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เมื่อได้ฟังเทคนิควิธีการ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเอามาใช้ในเรื่องงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เป็นฝ่ายขาย ที่ผ่านมาสถานการณ์อารมณ์ จะประมาณเถียงกันมากกว่า จากการให้ประเมินตนเอง คิดว่าเปลี่ยนไป 7 จาก 10
นายฉลอง : ได้เรียนรู้มามาก ก็เป็นการเติมเต็ม ช่วยให้เน้นย้ำเรื่องมุมมอง แนวคิด ให้ชัดเจนมากขึ้น
นางสาวจิณณรัตน์ : กลับมาย้อนคิดว่าถ้าเราไม่ปรับเปลี่ยนมุมมองของตนเอง ว่าเราทำได้ๆ จากที่เราทำไม่ได้ๆๆ ถ้าเราไม่ปรับมันก็จะวนอยู่อย่างนี้ เราก็ต้องคิดบวก ก่อนมาเรียนก็แค่ได้ยิน แต่พอท่านมาแนะนำเทคนิควิธีการใช้ทำให้สามารถนำไปใช้ได้ การที่เป็นคนที่เสียสละทำเพื่อคนส่วนมาก
นางสุรัชวดี : ตอกย้ำมากขึ้นว่า Growth Mindset มันใหม่เสมอ สิ่งที่อาจารย์นำเสนอเป็นการย้ำเตือนว่า “คิดดีอย่างไรมันก็ดี”
35
0
15. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 8 "พุทธปัญญาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม"
วันที่ 2 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
บรรยาย เรื่อง "พุทธปัญญาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม"
กิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อ "การจัดการความคิดด้วย Theory U"
กิจกรรม "วิเคราะห์ Case study ชาวนากับพังพอน"
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการกรองอคติ ก่อนตัดสินใจเรื่องต่างๆ
2. ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงคุณโทษของการตัดสินใจบนฐานของอคติ
ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องอคติ เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องอคติ พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินประเมินทักษะการคิดแบบรอบด้านและการวิเคราะห์เหตุผลเชิงบวก อยู่ในระดับดีมาก
จากการประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้เรื่องอคติ ได้สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ดังนี้
นางจงกลณี : ก็ได้วิธีการกรองอคติ แบบที่ง่ายมากๆ เพียงแต่เราไม่เอาอารมณ์มาใส่ในความคิด ก่อนที่จะออกมาเป็นคำพูด ถ้าเราทำได้แบบนี้ก็ไม่เกิดปัญหา และ Theory U ที่พระอาจารย์ได้สอน ก็ทำให้เราช้าลงในความคิดของเราเอง ปัญหามันก็ไม่เกิด
นายเอก : ปกติผลเป็นคนในร้อน พอได้เรียนรู้แบบนี้ผมก็ผ่อนตนเองลง
นางสุรัชวดี : เมื่อก่อนเป็นคนตัดสินใจอะไรเร็ว แต่มาได้เครื่องมือนี้ของพระอาจารย์ ทำให้การตัดสินใจช้าลง และก็ใจเย็นลงมากๆ ปรับใช้ได้ทั้งที่บ้านและที่ทำงาน
35
0
16. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 9 "เทคนิคการจัดการอารมณ์"
วันที่ 9 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1.กิจกรรมบรรยาย เรื่อง "ขันธ์ 5 : การจัดการอารมณ์เพื่อสร้างสมดุลของชีวิต"
2.กิจกรรมปฏิบัติการ "ถอดบทเรียนชีวิต ตามแนวคิดขันธ์ 5"
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมรู้ เข้าใจเกี่ยวกับขันธ์ 5
2.ผู้เข้าอบรมได้เทคนิคการจัดการอารมณ์ ตามหลักขันธ์ 5
ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินประเมินพฤติกรรมด้านเทคนิคการจัดการอารมณ์ ตามหลักขันธ์ 5 อยู่ในระดับดีมาก สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ดังนี้
นายณพงศ์ : สลดมาก ทำให้เห็นคุณค่าของชีวิต ทำให้เกิดการตระหนักรู้ถึงวัฎสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด ทำให้รู้จักที่อยู่กับปัจจุบัน ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน อย่าอะไรมากไปกับชีวิต ใช้ชีวิตง่ายๆ เพื่อเข้าใจตนเองมากขึ้น
นางสาวสุกัญญา : สิ่งที่คิดอาจจะไม่ใช่สิ่งที่เป็นก็ได้ ประสบการณ์แต่ละคนแตกต่างกัน ทำให้การสะท้อนแตกต่าง การรับมือกับความต่างก็ได้เรียนรู้ผ่านเพื่อนที่เข้าร่วมกิจกรรม
35
0
17. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 10 "การแปรทุกข์เป็นความหวัง"
วันที่ 16 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
กิจกรรมปฏิบัติการ "การเปลี่ยนตัวตนเพื่อเป็นคนสมดุล"
วิเคราะห์และประเมินพฤติกรรมที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ 10 ด้าน ได้แก่
-ชอบด่วนตัดสินใจ
-โกรธง่าย
-หงุดหงิดง่าย
-ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้
-ไม่ฟังผู้อื่น
-เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง
-พูดก่อนคิด
-โทษผู้อื่น
-สติไม่อยู่ในร่องรอย
-คิดแค้นวางไม่ลง
จากนั้นหาวิธี/เทคนิคการแก้ไขพฤติกรรมให้เป็นทางบวก
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมเกิดทักษะในการสะท้อนความคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นคนสมดุล
ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้เข้ารับการอบรมได้ประเมินพฤติกรรมที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ เปรียบเทียบก่อนอบรม กับหลังเข้ารับการอบรม ได้เห็นพัฒนาการของการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงความคิดและการจัดการอารมณ์ตนเองอย่างชัดเจน มีกำลังใจในการพัฒนาทักษะการสะท้อนความคิดเพื่อการเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นคนสมดุลทั้ง 10 ด้าน สอดคล้องกับผลการประเมินพฤติกรรม ที่อยู่ในระดับดีมาก โดยมีตัวอย่างการสะท้อนพัฒนาการ ของผู้เข้ารับการอบรม ดังนี้
นางวัชพร : ทำให้เรารู้ว่าตัวเราก็สร้างความเปราะบางให้กับคนใกล้ชิดเรามาก กับคนข้างนอกเราดีหมด กับคนในบ้านเราก็มักจะไม่แคร์ ความเกรงใจของเราก็น้อย รู้จักความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงของตนเองมากขึ้น และจะพูดอะไร หรือทำอะไร เราจะคิดก่อน ว่ามันจะส่งผลกระทบกับคนอื่นอย่างไร เหมือนตะปูที่ตอกไปแล้วมันก็เป็นรูเป็นรอย เอาไปปรับใช้ กับชีวิตจริง ผลที่เกิดขึ้น ก็ดีขึ้น เรานิ่งขึ้น พอเค้าจะแรงเค้าก็เบาลง
นางดารณี : สิ่งที่เอาไปใช้ คือ รับฟัง ไม่ตัดสิน ไม่แนะนำ เสนอทางเลือก ทำให้เราได้มองตัวเอง เวลาเกิดปัญหาเราใช้วิธีการทำอย่างไร ระวังมากขึ้นไม่ดิ่งกับความคิดของตัวเอง มีสติในการหยุดคิดก่อน ทำที่ตัวเองก่อน....เราเปลี่ยน เช่น เราพูดสวนกลับ พอเรานิ่ง คนรอบข้างเปลี่ยน ความสัมพันธ์มันดีขึ้นมาก
35
0
18. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 11 “การบริหารจิตและเจริญปัญญา"
วันที่ 22 เมษายน 2566 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำ
กิจกรรมปฏฺบัติการ ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นเวลา 3 วัน
- กิจกรรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
- กิจกรรมฟังธรรมะบรรยาย / สนทนาธรรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1. ผู้เข้าอบรมได้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารจิตและเจริญปัญญาตามหลักสติปัฏฐาน 4
2. ได้ทักษะการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เน้นในอริยาบถนั่ง การเดินจงกรม
ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของผู้เข้าอบรม พบว่าผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก และประมวลความคิดเห็นการปฏิบัติปัสสนากรรมฐาน โดยการสนทนากลุ่ม พบว่า ผู้เข้าอบรม
นางสุภาวดี : กรรมฐาน คำที่ประทับใจคือ “เปลี่ยนวิธีคิด” ได้เรื่อง “จิต” ทำให้เราอ่านจิตตัวเองมากขึ้น และสามารถมีสติรู้ตัวตลอดเวลา และมีสมาธิด้วย เพราะอาจารย์บอกว่าทำได้ทุกที่ทุกเวลา ก็เลยลองมาทำตอนขับรถ ทำให้เรารู้จิตของตัวเราได้ดีขึ้น
นายชันนรินทร์ : ปกติไม่เคยเดินจงกรม หรือนั่งกรรมฐาน รู้สึกว่าอิ่ม จะได้ปีติทุกครั้งรู้สึกสดชื่น ไม่น่าเชื่อว่านั่งเฉยๆ ก็รู้สึกดีได้ ตอนนี้เริ่มมาทำให้ชีวิตประจำวัน จาก 20 นาที ตอนนี้กำลังจะเพิ่มเวลามากขึ้น ...การเดินจงกรม เอามาใช้ในการผ่อนคลายความเครียด ถ้ามีความรู้สึกเครียด ก็จะเดินจงกรม
นายฉลอง : เดินจงกรม ที่ทำงานที่มีห้องเล็กๆ ที่ปิดไว้เฉยๆ ก็เข้าไปเดิน แค่เข้าไปเดินกำหนดรู้ว่ากำลังคิดอะไร ...ไม่เคยรู้จักเดินจงกรม และปฏิบัติสมาธิมาก่อน...ก็มักจะสอดแทรกไปกับลูกน้อง ไม่พูดตรงๆ เอาเทคนิคทักษะที่ได้มาไปสอนต่อ ... 3-4 อาทิตย์ที่ผ่านมา เอามาขยายผลค่อนข้างมากแต่ยังไม่เป็นทางการ “ให้อยู่กับปัจจุบัน”
นางเกษร : ปกติไม่เคยเดินจงกรม หรือนั่งกรรมฐาน ปกติก็แค่ทำบุญตักบาตร แต่ที่พระอาจารย์วิปัสสนาท่านพูดบรรยาย เราเป็นคนธรรมดา แต่ก็ต้องค่อยๆ ปรับ ให้มันสมดุลย์กับชีวิต สวดมนต์มากขึ้น จากเดิมไม่เคยทำเลย ก็ทำได้หลายวันในอาทิตย์
นางสาวกชกร : ได้ประสบการณ์ใหม่ ไม่เคยปฏิบัติที่ไหนมาก่อน เมื่อปฏิบัติแล้วรู้สึกว่า มีสมาธิได้เร็วขึ้น มีคามอดทนมากขึ้น
35
0
19. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 12 “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน”
วันที่ 30 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1.บรรยาย เรื่อง “การนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้ง"
2.กิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อง "การสร้างสัมพันธภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น"
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1. ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจหลักธรรรมเกี่ยวกับความขัดแย้ง ได้แก่ หลักเมตตาธรรม ศีล 5 สาราณียธรรม
2. ผู้เข้าอบรมได้เทคนิคการใช้เครื่องมือในการจัดการความขัดแย้ง
ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้เข้ารับการอบรมเห็นคุณค่า และสามารถประยุกต์หลักเมตตาธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งในที่ทำงานและที่บ้านของตนเอง โดยกิจกรรมที่ทำอย่างต่อเนื่องหลังจากอบรม คือการแผ่เมตตา และการควบคุมอารมณ์ตนเองต่อสถานการณ์ที่เข้ามากระทบในที่ทำงานหรือที่บ้าน
นางสาวธนาวัลย์ : เมื่อก่อนทำงานผิดพลาดบ่อยก็โดนดุบ่อย ก็มีปัญหากับคนที่ทำาน แต่พอมาอบรมในโครงการนี้ ทำให้มีสติในการทำงานมากขึ้น เพราะงานที่ทำเป็นงานที่มีความละเอียด เมื่อมี "สติ" ในการทำงานมากขึ้น งานก็ผิดพลาดน้อยลง ทำให้โนดุน้อยลง และมีเรื่องของการจัดการกับปัญหาความขัดแย้ง โดยเฉพาะเรื่องความขัดแย้งในใจตนเอง ก็เป็นประโยชน์มากๆ ที่ได้มาเรียนรู้
นางกมลพร : ใช้หลักสติ และการอยู่กับปัจจุบัน ทำให้สามารถประคองตนเองจากสถานการณ์ที่เปราะบางของตนเองได้ เป็นความขัดแย้งในใจของเราเอง ที่ไม่มีใครจะมาแก้ปัญหาได้ เมื่อมาโครงการนี้ทำให้ได้เครื่องมือในการจัดการกับความขัดแย้งโดยเฉพาะความขัดแย้งในใจ
35
0
20. การประชุมคณะทำงานเพื่อประเมินกิจกรรม
วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันการออกแบบเครื่องมือประเมินกิจกรรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เครื่องมือเพื่อประเมินกิจกรรม
13
0
21. กิจกรรมการเรียนรู้ ในสัปดาห์ที่ 13 "สุนทรียปรัศนีย์"
วันที่ 7 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1.บรรยาย เรื่อง "สุนทรียปรัศนีย์"
2.กิจกรรมปฏิบัติการ "การขอโทษ การให้อภัย"
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจหลักการ"สุนทรียปรัศนีย์"
2.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิค "การขอโทษ การให้อภัย" ได้เรียนรู้กระบวนการในการตั้งคำถาม กับการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening)
ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจเรื่อง"สุนทรียปรัศนีย์"เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่อง"สุนทรียปรัศนีย์" พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินประเมินพฤติกรรมด้านเทคนิค "การขอโทษ การให้อภัย" อยู่ในระดับดีมาก สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ดังนี้ ผู้เข้ารับการอบรมได้เรียนรู้กระบวนการในการตั้งคำถาม เพื่อถอดปมในใจ กับการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) คือการใช้วิธีการฟังด้วยการสบตาขณะที่ฟัง มีเสียงตอบรับให้รับรู้ถึงสิ่งที่คู่สนทนาพยายามสื่อสาร มีการใช้กระบวนการทวนคำถาม ตั้งคำถาม ในระหว่างการสนทนา
นางสาวศิริขวัญ : จากการที่อาจารย์ได้ให้ประเด็นคำถามมา แล้วให้ช่วยกันวิเคราะห์ และแสดงบทบาทสมมติ ทำให้เห็นภาพของความขัดแย้งว่าเกิดจากอะไร และจะมีวิธีในการตั้งรับในเรื่องนั้นๆ อย่างไร
35
0
22. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 14 "การพัฒนาสัมพันธ์ภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น"
วันที่ 13 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1.บรรยายเรื่อง “สัมพันธภาพของมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา : กฎแห่งความสัมพันธ์ (Action = Reaction)"
2.กิจกรรมปฏิบัติการ "เทคนิคการพัฒนาสัมพันธภาพ"
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับ การสร้างสัมพันธภาพตามหลักสาราณียธรรมและกฏแห่งความสัมพันธ์ 4 ข้อ ประกอบด้วย
1) พฤติกรรมที่ต่ำกว่าความคาดหวัง ความไว้วางใจจะไม่เกิด
2) พฤติกรรมที่ตรงกว่าความคาดหวัง ความไว้วางใจพอรับได้
3) พฤติกรรมที่เกินความคาดหวัง ความไว้วางใจจะยั่งยืน
4) พฤติกรรมที่เกินความคาดหวังและความสัมพันธ์ที่เกื้อหนุนจะเกิดความจงรักภักดี
ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้เข้าอบรมได้เข้ากระบวนการฝึกการใช้กฏความสัมพันธ์ ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ของตนเองที่มีต่อผู้อื่น ในการอยู่ร่วมกันจำเป็นจะต้องมีการแสดงบทบาทให้เกิดความไว้วางใจต่อคนรอบข้าง และต้องประเมินความคาดหวังของผู้อื่นที่มีต่อพฤติกรรมของตนเองเพื่อไม่ให้เกิดความไม่ไว้วางใจต่อกัน จากการสะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ในการนำกฏแห่งความสัมพันธ์ไปใช้กับคนในครอบครัว และเพื่อนร่วมงาน พบว่า ผู้เข้ารับการอบรมเข้าใจ เห็นคุณค่า และตระหนักถึงการพัฒนาตัวเองในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นบนพื้นฐานกฏแห่งความสัมพันธ์ 4 ประการ
35
0
23. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 15 "การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ"
วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
1.บรรยาย เรื่อง “เทคนิคการรู้เท่าทันสื่อด้วยพุทธปัญญา”
2.บรรยาย เรื่อง “ มิจฉาชีพดิจิทัล”
3.กิจกรรมปฏิบัติการ "การวิเคราะห์สื่อ"
4.กิจกรรมปฏิบัติการ "เทคนิคการรับมือมิจฉาชีพดิจิทัล"
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
1. ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจในเทคนิคการรู้เท่าทันสื่อ และการเลือกบริโภคสื่อได้อย่างเหมาะสม
2. ผู้เข้ารับการอบรมมีทักษะในการประยุกต์ใช้หลักกาลามสูตรเพื่อการรับสื่ออย่างรู้เท่าทัน
ผลลัพธ์ (Outcome)
ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงความสำคัญในการบริโภคสื่อที่มีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต มีความตั้งใจในการใช้วิจารณญาณเพื่อการเรียนรู้ และรับรู้สื่อต่างๆ บนฐานของเทคนิคและหลักธรรม
35
0
24. กิจกรรมปัจฉิมนิเทศปิดการศึกษาในหลักสูตร
วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
กิจกรรมถอดบทเรียน ตื่นรู้ตื่นคิดพัฒนาชีวิตสู่สมดุล
กิจกรรมช่วงเวลาแห่งความทรงจำ
กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ-สัมพันธ์มนุษย์พุทธปัญญา
กิจกรรมบรรยาย "แนวทางการพัฒนาตนบนฐานพุทธธรรม" โดย ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
เกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม และได้แสดงความรู้สึกถึงคุณค่าที่เกิดในระหว่างการอบรมที่มีต่อกัน ได้แสดงตนในการขออโหสิกรรมในสิ่งที่ได้ล่วงเกินกันในระหว่างการอบรม
55
0
25. การประชุมสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ
วันที่ 5 มิถุนายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
ประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันสรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลการดำเนินโครงการทั้งหมด ได้นำเข้าสู่ระบบเพื่อรายงานปิดโครงการต่อไป
13
0
26. ประชุมคัดเลือกผู้เข้าร่วมเรียนรู้
วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 12:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-การเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมเรียนรู้ (ออนไลน์ผ่านระบบ Google Forms)
-การคัดเลือกผู้ร่วมเรียนรู้โดยการสัมภาษณ์ (ออนไลน์ ผ่านระบบ zoom meeting)
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต
-มีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนรู้จำนวน 40 คน
0
0
27. การประชุมพัฒนาคู่มือ
วันที่ 9 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
-การประชุมสะท้อนผลจากการจัดกิจกรรมในรุ่นที่ 1
-การประชุมเพื่อพัฒนาคู่มือประกอบการฝึกอบรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-คู่มือประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร "การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา" รุ่นที่ 2
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ได้คู่มือประกอบการฝึกอบรมหลักสูตร "การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา" ได้มีการนำผลการประเมินหลักสูตรในรุ่นที่ 1 มาปรับปรุง รวมถึงที่ได้มีการปรับปรุงกิจกรรมการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้ร่วมเรียนรู้ ระยะเวลา มากยิ่งขึ้น
12
0
28. ประชุมเตรียมพร้อมเปิดการศึกษา
วันที่ 16 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
-ประชุมเตรียมพร้อมเปิดการศึกษา วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดวิทยากรในแต่ละกิจกรรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในโครงการผลิตบัณฑิตพันธุใหม่ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา รุ่นที่ 2 จำนวน 16 ครั้ง
12
0
29. การปฐมนิเทศ และกิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 1 “ไตร่ตรองมองตน : การวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6”
วันที่ 22 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-บรรยายพิเศษ เรื่อง “การดำรงชีวิตให้มีความสุขด้วยศาสนธรรม”
-บรรยายพิเศษ เรื่อง "ความคาดหวังของสังคมจากหลักสูตร “การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา”
-กิจกรรมแนะนำหลักสูตร และ ทีมงานประจำโครงการ
-กิจกรรมการเรียนรู้ “ไตร่ตรองมองตน : การวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6”
-กิจกรรม สวดมนต์ เจริญจิตภาวนา
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 40 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้รู้จักตนเองและมีความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ประเมินได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง มีความรอบคอบในการตัดสินใจเมื่อเผชิญสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า รู้จักรับฟังและมีความเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
80
0
30. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 2 “การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ”
วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิดการพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 38 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้รู้จักตนเองและมีความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ประเมินได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง มีความรอบคอบในการตัดสินใจเมื่อเผชิญสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า รู้จักรับฟังและมีความเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
100
0
31. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 3 “กุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งชีวิตที่ดีงามความดี”
วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “กุศลกรรมบถ : เกณฑ์ชี้วัดชีวิตที่ดีงามความดี”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “ไตรตรองมองตน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิด “กุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งชีวิตที่ดีงามความดี”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 40 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้รู้จักตนเองและมีความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ประเมินได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง มีความรอบคอบในการตัดสินใจเมื่อเผชิญสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า รู้จักรับฟังและมีความเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
50
0
32. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 4 “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : โอบอุ้มความเปราะบาง”
วันที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : โอบอุ้มความเปราะบาง”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิดเทคนิคการจัดการอารมณ์
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 37 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้รู้จักตนเองและมีความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ประเมินได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง มีความรอบคอบในการตัดสินใจเมื่อเผชิญสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า รู้จักรับฟังและมีความเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
50
0
33. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 5 “การออกแบบพัฒนาชีวิตที่ดีงามตามหลักกุศลกรรมบถ”
วันที่ 6 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “กรรมลิขิต เพราะชีวิตที่ดีนั้นออกแบบได้”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อชีวิตที่ดีงาม”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิด “การออกแบบพัฒนาชีวิตที่ดีงามตามหลักกุศลกรรมบถ”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 40 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้รู้จักตนเองและมีความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ประเมินได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง มีความรอบคอบในการตัดสินใจเมื่อเผชิญสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า รู้จักรับฟังและมีความเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
50
0
34. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 6 “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)”
วันที่ 19 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “Growth Mindset : เทคนิคการจัดการความคิด”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “มหัศจรรย์แห่งพลังคิดบวก”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิด “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 37 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้มีความรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมและบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นในการเผชิญปัญหาชีวิตได้
50
0
35. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 7 “เทคนิคการจัดการความคิดด้วย Theory U”
วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “เทคนิคการจัดการความคิดด้วย Theory U”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “ไตรตรอง มองตน และวิธีการสร้างสุขจากภายใจ”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิด “เทคนิคการจัดการความคิดด้วย Theory U”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 38 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้มีความรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมและบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นในการเผชิญปัญหาชีวิตได้
50
0
36. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 8 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต
วันที่ 26 สิงหาคม 2566 เวลา 08:00 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรม “เพลินธรรมนำชม นำชมภาพปริศนาธรรม”
-กิจกรรม “การเรียนรู้ธรรมะ จากภาพปริศนาธรรม”
-กิจกรรม “เรียนรู้ธรรมะอย่างเพลิดเพลินธรรม”
-กิจกรรม “Mandala Art ฝึกสมาธิด้วยศิลปะระบายสีน้ำ”
-กิจกรรมสะท้อนความคิด กิจกรรมการเรียนรู้ "ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 38 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้มีความรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมและบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นในการเผชิญปัญหาชีวิตได้
50
0
37. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 9 “การเรียนรู้เพื่อแปรเปลี่ยนความทุกข์เป็นความหวัง”
วันที่ 27 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “แผนที่คนทุกข์”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “เทคนิคการแปรเปลี่ยนความทุกข์เป็นความหวัง”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิด “การเรียนรู้เพื่อแปรเปลี่ยนความทุกข์เป็นความหวัง”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 37 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้มีความรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมและบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นในการเผชิญปัญหาชีวิตได้
50
0
38. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 10 “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว"
วันที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรมการเรียนรู้ “สักการะหลวงพ่อวัดไร่ขิง และ ชมพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชุมชนบ้านคลองผีเสื้อ”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “ศูนย์การเรียนรู้ปลูกผักเกษตรอินทรีย์ไร่ขิง”
-กิจกรรม “ปลูกต้นไม้พื้นถิ่น ลดคาร์บอน”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิด “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 35 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
50
0
39. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 11 “ก้าวย่างที่เราต่างเป็นผู้รักษ์โลก”
วันที่ 3 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “สัมพันธภาพระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “ลมหายใจของธรรมชาติ”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิด “ก้าวย่างที่เราต่างเป็นรักษ์โลก”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 36 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
50
0
40. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 12 “การสื่อสารอย่างสันติ”
วันที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “เทคนิคการสื่อสารอย่างสันติ”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “เทคนิคการสื่อสารอย่างสันติ”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 35 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
50
0
41. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 13 “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน”
วันที่ 10 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “อคติ ต้นเหตุของความขัดแย้งกับผู้อื่น”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “เทคนิคการการจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิด “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 36 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
50
0
42. จัดนิทรรศการแสดงผลงานในงาน 136 ปี มจร
วันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-นำเสนอผลงาน
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-นิทรรศการแสดงผลงานหลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมงานได้รู้จักและทราบถึงผลการดำเนินงานของหลักสูตรฯ
0
0
43. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 14 “การพัฒนาสัมพันธภาพในการอยู่รวมกับผู้อื่น”
วันที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “การพัฒนาสัมพันธ์ภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิด “การพัฒนาสัมพันธ์ภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 37 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
50
0
44. การประชุมถอดบทเรียนและประเมินกิจกรรม
วันที่ 17 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-การประชุมถอดบทเรียนและประเมินกิจกรรม
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผลการถอดบทเรียน
-ผลการประเมินกิจจกรรม
25
0
45. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 15 “การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ”
วันที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรม Homeroom
-กิจกรรมการเรียนรู้ “เทคนิคการรู้เท่าทันสื่อด้วยพุทธปัญญา”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “เทคนิคการรับมือภัยมิจฉาชีพดิจิทัล”
-กิจกรรมร่วมสะท้อน “การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 35 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
50
0
46. ประชุมถอดบทเรียนและพัฒนาชุดความรู้
วันที่ 24 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
ประชุมถอดบทเรียนและพัฒนาชุดความรู้
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้เข้าร่วม 10 คน
-ชุดความรู้ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา 1 ชุด
25
0
47. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 16 “Meditation ความสุข ความสงบ ที่เข้าถึงได้”
วันที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
-กิจกรรมสัมพันธ์ “ตื่นรู้ ตื่นคิด พัฒนาชีวิตอย่างสมดุล”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “Meditation ความสุข ความสงบ ที่เข้าถึงได้”
-กิจกรรม “อธิษฐานจิต เติมพลังชีวิต ด้วยพุทธปัญญา”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “Meditation พลังแห่งความสงบ”
-กิจกรรม KM Plus “สัมผัสพลังธรรมชาติ ความสุข ความสงบ ที่เข้าถึงได้”
-กิจกรรมร่วมเจริญเมตตาภาวนา “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
-กิจกรรมเจริญจิตภาวนา “รุ่งอรุณแห่งชีวิต”
-กิจกรรม “Meditation พลังแห่งความสงบ ความสุขที่เข้าถึงได้”
-กิจกรรมร่วมสะท้อนคิด “Meditation ความสุข ความสงบ ที่เข้าถึงได้”
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 39 คน
-คณะวิทยากรและทีมงาน 10 คน
ผลลัพธ์ (Outcome)
-ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
50
0
48. ปัจฉิมนิเทศและมอบประกาศนียบัตร (7 ตุลาคม 2566)
วันที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
ปัจฉิมนิเทศและมอบประกาศนียบัตร
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น
ผลผลิต (Output)
-ผู้ร่วมเรียนรู้ 40 คน
-คณะผู้บริหาร คณะวิทยากรและทีมงาน 20 คน
60
0
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ สถานการณ์ เป้าหมาย ผลผลิต อธิบาย
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด
กลุ่มเป้าหมาย จำนวนที่วางไว้(คน) จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค สาเหตุ ข้อเสนอแนะ
การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา จังหวัด
รหัสโครงการ FN65/0118
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
................................
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
“ การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา ”
หัวหน้าโครงการ
ชื่อโครงการ การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา
ที่อยู่ จังหวัด
รหัสโครงการ FN65/0118 เลขที่ข้อตกลง
ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 30 กันยายน 2566
กิตติกรรมประกาศ
"การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน
คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป
คณะทำงานโครงการ
การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา
บทคัดย่อ
โครงการผลิตบัณฑิตพันธ์ใหม่ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีบุคลิกภาพที่ดี มีการสื่อสารที่ดี รู้จักการบริโภคสิ่งต่างๆ โดยคำนึงถึงประโยชน์ต่อสุขภาพและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นผู้มีสติในการควบคุมจิตใจตนเองในการแสดงพฤติกรรมต่อผู้อื่น ตื่นตัวในการเรียนรู้ และทำความเข้าใจสถานการณ์ทางสังคม สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นได้อย่างเท่าทัน และเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข มีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ภาคทฤษฎีควบคู่กับภาคปฏิบัติแบ่งเป็น 3 โมดูล คือ โมดูลที่ 1 การพัฒนาตนเอง โมดูลที่ 2 การพัฒนาจิตและปัญญา โมดูลที่ 3 การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น โดยประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมที่สอดคล้องกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง เช่น โยนิโสมนสิการ จริต กุศลกรรมบถ ขันธ์ สาราณียธรรม อคติ กาลามสูตร และการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐานตามหลักสติปัฏฐาน ในการจัดกิจกรรมได้ดำเนินการทั้งสิ้น 15 สัปดาห์ ระหว่างเดือนมกราคม ถึง เดือนพฤษภาคม 2566 มีผู้ผ่านการอบรมจำนวน 35 คน
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 1 เกิดผลลัพธ์กับผู้เข้าอบรม คือ การเปลี่ยนแปลงเป็นคนมีจิตใจมั่นคง มีพฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ ผู้ผ่านการอบรมเป็นคนคิดรอบคอบมากขึ้น ไม่ด่วนตัดสินใจ ควบคุมความโกรธของตนเองได้ ไม่อ่อนไหว ไม่หงุดหงิดง่าย การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เกิดผลลัพธ์กับผู้เข้าอบรม คือ การมีสิต ควบคุมอารมณ์ของตนเองได้ดีขึ้น มีพฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ เมื่อเจอสถานการณ์ก็มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามวัตถุประสงค์ข้อที่ 3 เกิดผลลัพธ์กับผู้เข้าอบรม คือ ผู้ผ่านการอบรมลดอัตตาได้โดยไม่เอาตัวเองเป็นศูนย์กลาง สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับคนอื่นได้อย่างสมดุล พฤติกรรมที่สังเกตได้ คือ มีความเสียสละ มีน้ำใจ มีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น
ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาหลักสูตร คือ 1) ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนาเนื้อหาในส่วนที่เป็นทฤษฎีเป็นคู่มือ/หนังสือ/ตำรา ที่สามารถใช้อ้างอิงได้ในทางวิชาการ 2) ควรสนับสนุนให้มีสังเคราะห์ ออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายที่เข้ารับการอบรม 3) ควรสนับสนุนให้มีการพัฒนารูปแบบการวัดผลและประเมินผลที่สะท้อนพัฒนาการการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงของผู้รับการอบรมอย่างต่อเนื่อง
หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"
สารบัญ
กิตติกรรมประกาศ | |
บทคัดย่อ | |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล | |
วัตถุประสงค์โครงการ | |
กิจกรรม/การดำเนินงาน | |
กลุ่มเป้าหมาย | |
ผลลัพธ์ที่ได้ | |
การประเมินผล | |
ปัญหาและอุปสรรค | |
ข้อเสนอแนะ | |
เอกสารประกอบอื่นๆ |
ความเป็นมา/หลักการเหตุผล
สถานการณ์
วัตถุประสงค์โครงการ
กิจกรรม/การดำเนินงาน
- การรับนักศึกษา
- การเตรียมพร้อมจัดการศึกษา
- การจัดทำรายละเอียดหลักสูตร และวางแผนดำเนินงาน
- กิจกรรมการเรียนรู้ในโมดูล 1 : การพัฒนาตนเอง
- กิจกรรมการเรียนรู้ในโมดูล 2 : การพัฒนาจิตและปัญญา
- กิจกรรมการเรียนรู้ในโมดูลที่ 3 : การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น
- ปัจฉิมนิเทศ จบหลักสูตร
- การรับนักศึกษา (รุ่นที่ 2)
- การประเมินผลหลักสูตร
- การเตรียมพร้อมจัดการศึกษา (รุ่นที่ 2)
- การเรียนรู้ในโมดูล 1 : การพัฒนาตนเอง (รุ่นที่ 2)
- การเรียนรู้ในโมดูล 2 : การพัฒนาจิตและปัญญา (รุ่นที่ 2)
- การเรียนรู้ในโมดูลที่ 3 : การใช้ชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่น (รุ่นที่ 2)
- การประเมินผลหลักสูตร
- กิจกรรมปัจฉิมนิเทศปิดการศึกษาในหลักสูตร (รุ่นที่ 2)
- การประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าศึกษา
- ประชุมวางแผนการจัดการศึกษา
- จัดประชุมจัดทำคู่มือ และจัดเตรียมของที่ระลึก
- ประชุมคณะทำงาน วางแผนจัดการศึกษา
- การจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน
- ประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับภาระกิจการอบรมของวิทยากร
- การปฐมนิเทศ
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1 “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน”
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2 “การสร้างคนให้เป็นผู้เสียสละ”
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 3 "การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 4 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต”
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 5 “การพัฒนาการดำรงชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งความดีงาม”
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 6 “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : การโอบอุ้มความเปราะบาง”
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 7 “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 8 "พุทธปัญญาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 9 "เทคนิคการจัดการอารมณ์"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 10 "การแปรทุกข์เป็นความหวัง"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 11 “การบริหารจิตและเจริญปัญญา"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 12 “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน”
- การประชุมคณะทำงานเพื่อประเมินกิจกรรม
- กิจกรรมการเรียนรู้ ในสัปดาห์ที่ 13 "สุนทรียปรัศนีย์"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 14 "การพัฒนาสัมพันธ์ภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น"
- กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 15 "การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ"
- กิจกรรมปัจฉิมนิเทศปิดการศึกษาในหลักสูตร
- การประชุมสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ
- ประชุมคัดเลือกผู้เข้าร่วมเรียนรู้
- การประชุมพัฒนาคู่มือ
- ประชุมเตรียมพร้อมเปิดการศึกษา
- การปฐมนิเทศ และกิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 1 “ไตร่ตรองมองตน : การวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 2 “การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 3 “กุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งชีวิตที่ดีงามความดี”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 4 “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : โอบอุ้มความเปราะบาง”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 5 “การออกแบบพัฒนาชีวิตที่ดีงามตามหลักกุศลกรรมบถ”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 6 “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 7 “เทคนิคการจัดการความคิดด้วย Theory U”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 8 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 9 “การเรียนรู้เพื่อแปรเปลี่ยนความทุกข์เป็นความหวัง”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 10 “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว"
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 11 “ก้าวย่างที่เราต่างเป็นผู้รักษ์โลก”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 12 “การสื่อสารอย่างสันติ”
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 13 “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน”
- จัดนิทรรศการแสดงผลงานในงาน 136 ปี มจร
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 14 “การพัฒนาสัมพันธภาพในการอยู่รวมกับผู้อื่น”
- การประชุมถอดบทเรียนและประเมินกิจกรรม
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 15 “การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ”
- ประชุมถอดบทเรียนและพัฒนาชุดความรู้
- กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 16 “Meditation ความสุข ความสงบ ที่เข้าถึงได้”
- ปัจฉิมนิเทศและมอบประกาศนียบัตร
กลุ่มเป้าหมาย
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้ |
---|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน
วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์** กิจกรรมของโครงการ | ผลผลิต* | |
---|---|---|
ผลผลิตที่ตั้งไว้ | ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง | |
1. การประชาสัมพันธ์และรับสมัครผู้เข้าศึกษา |
||
วันที่ 1 พฤศจิกายน 2565 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-การจัดทำระบบรับสมัครผู้เข้าศึกษา โดยใช้ Google Forms ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น-มีผู้ลงทะเบียนสมัครเข้าศึกษาผ่านระบบ Google Forms จำนวน 65 ท่าน
|
35 | 0 |
2. จัดประชุมจัดทำคู่มือ และจัดเตรียมของที่ระลึก |
||
วันที่ 1 มกราคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ1.ประชุมยกร่างคู่มือ 2.ประชุมวิพากย์คู่มือ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น1.ร่างคู่มือประกอบการเรียนรู้ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา
|
23 | 0 |
3. ประชุมวางแผนการดำเนินงาน |
||
วันที่ 10 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ-ประชุมคณะทำงานเพื่อวางแผนจัดกิจกรรมตลอดหลักสูตร ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแผนจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร
|
13 | 0 |
4. ประชุมและเตรียมพร้อมจัดการศึกษา |
||
วันที่ 13 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ-ประชุมคณะกรรมการ/คณะทำงาน เพื่อจัดทำคู่มือและจัดเตรียมของที่ระลึก -ร่วมกันออกแบบของที่ระลึก และจัดเตรียมอุปกรณ์สำหรับการอบรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต 1.คู่มือประกอบการเรียนรู้ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา จำนวน 50 เล่ม 2.แผนการจัดอบรมจำนวน 16 สัปดาห์ 3.เสื้อที่ระลึก จำนวน 50 ตัว 4.กระเป๋าที่ระลึก จำนวน 50 ใบ
|
23 | 0 |
5. ประชุมเตรียมความพร้อมสำหรับภาระกิจการอบรมของวิทยากร |
||
วันที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ-การประชุมคณะทำงานและผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับภาระกิจการอบรมของวิทยากร การเชิญวิทยากรพิเศษในกิจกรรม -ประสานงานเชิญวิทยากร ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น-แผนการจัดกิจกรรม และวิทยากรประจำกิจกรรมการเรียนรู้ตลอดหลักสูตร
|
23 | 0 |
6. การจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน |
||
วันที่ 20 มกราคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำการจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นการจัดเตรียมสถานที่ และคณะทำงาน
|
23 | 0 |
7. การปฐมนิเทศ |
||
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ1.ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้ร่วมงาน
2.พิธีเปิดปฐมนิเทศโครงการหลักสูตรประกาศนียบัตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่ “หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา” รุ่นที่ ๑ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต
-ผู้อบรมได้รับความรู้เรื่อง “การดำรงชีวิตให้มีความสุขด้วยศาสนธรรม” , "ความคาดหวังของสังคมของประกาศนียบัตรหลักสูตรบัณฑิตพันธุ์ใหม่",
|
50 | 0 |
8. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 1 “รักผู้อื่น ตื่นรู้คุณค่าตน” |
||
วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome)
กิจกรรมการวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6 ตามหลักพระพุทธศาสนา ส่งผลให้ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การพิจารณาตนเองและผู้อื่นตรงกับจริต 6 และเกิดความเข้าใจในการปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ ซึ่งสามารถวัดการเปลี่ยนแปลงได้จากการประเมินพฤติกรรม การอยู่ร่วมกันกับคนต่างจริต โดยผลการประเมินภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก และหากพิจารณาถึงความเข้าใจในเรื่องจริต 6 ก็พบว่า ผู้เข้าอบรมมีความเข้าใจเกินร้อยละ 80 สะท้อนว่าผู้เข้าอบรมมีการเปลี่ยนทั้งด้านความรู้และพฤติกรรม โดยมีทัศนะผู้เข้าอบรมต่อกิจกรรม ดังนี้
กรณีที่ 1 นางสภาวดี ได้รู้จักตัวเองมากขึ้นว่าเป็นคนจริตไหน และได้เรียนรู้ว่าจริตมี 6 แบบ ".ไม่เคยรู้เลยว่าเราเป็นคนโทสะจริต พอมาเรียนรู้แล้วก็ทำให้เข้าใจลูกน้องมากขึ้น ดังนั้น เวลาที่อยู่ในที่ทำงานก็จะเอาจริตที่ได้เรียนรู้มามาปรับใช้ในที่ทำาน ทำให้เห็นว่าถ้าเรารู้จักที่เค้าเป็นจริงๆ ก็จะทำให้อยู่กันง่ายขึ้นและการสั่งงานก็มีประสิทธิภาพ"
|
35 | 0 |
9. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 2 “การสร้างคนให้เป็นผู้เสียสละ” |
||
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome)
|
35 | 0 |
10. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 3 "การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ" |
||
วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ
ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome)
|
35 | 0 |
11. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 4 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต” |
||
วันที่ 5 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ1.กิจกรรมปฏิบัติการ “ไตร่ตรองมองตน : สิ่งดีๆ ที่เกิดกับฉันในเจ็ดวันที่ผ่านมา” ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome)
จากกิจกรรมปฏิบัติ "ไตร่ตรองมองตน" และ "ตื่นรู้เบิกบานสานต่อสมดุลย์ชีวิต" ทำให้ผู้เข้าอบรมได้มีโอกาสขยายผลความรู้ความเข้าใจในการพัฒนาวิธีคิดแบบโยนิโสมนสิการให้แก่สมาชิกในครอบครัว เป็นการทบทวนความรู้และฝึกปฏิบัติการพัฒนาความคิดให้กับคนที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นรูปธรรม โดยมีผลการประเมินพฤติกรรมอยู่ในระดับดีมาก และจากการสะท้อนให้เห็นจากบทสัมภาษณ์ ดังต่อไปนี้
พี่หลอง : โอ้โห....สุดยอดมากเลย มองว่าทำให้เราหนักแน่นขึ้นมาก มีการทบทวนก่อนที่จะทำอะไรลงไป จากที่เราเป็นผู้ใหญ่อยู่แล้ว ก็เป็นมากขึ้น .....ลูกน้องชมว่า ก่อนที่จะพูดไม่สวนกลับ เป็นพูดช้าลง คิดมากขึ้น
|
35 | 0 |
12. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 5 “การพัฒนาการดำรงชีวิตตามหลักกุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งความดีงาม” |
||
วันที่ 12 มีนาคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ1.บรรยาย เรื่อง “กุศลกรรมบถ เส้นทางแห่งความดีงาม”
ขอบคุณ / ชื่นชม / ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) นางขวัญใจ "เมื่อก่อนเมื่อลูกทำอะไรที่ไม่ได้ดั่งใจ ก็จะบ่นๆๆๆ เมื่อมาเรียนรู้แล้ว นำสิ่งที่ได้เรียนรู้มาใข้คือ การสร้างกติกาในบ้าน โดยการพูดดีๆ และใช้เหตุผลกับลูก เป็นการลงโทษ แบบที่ให้ลูกเลือกวิธีการลงโทษตัวเอง เมื่อเราเปลี่ยนวิธีการพูดกับลูก เราก็เปลี่ยนทั้งความคิดและพฤติกรรม ลูกก็เปลี่ยนพฤติกรรมไป เราไม่เลือกใช้คำพูดที่รุนแรง ใช้คำพูดที่ดีกว่าเดิม บรรยากาศในครอบครัวก็ดีขึ้น มีการพูดคุยกันมากขึ้น" นางสาวธนาวัลย์ : "พยายามปรับคำพูดให้เหมาะสมกับพระนิสิต ในแต่ละระดับ มีการวาตัวในที่ทำงานเหมาะสมในสถานการณ์ที่จะนำไปสู่ความขัดแย้งเช่น ในวันปฐมนิเทศปฏิบัติศาสนกิจ ระบบอินเทอร์เน็ตขัดข้อง ก็สามารถพูโแก้สถานการณ์ให้เกิดความเข้าใจและนำไปสู่การแก้ปัญหาได้"
|
35 | 0 |
13. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 6 “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : การโอบอุ้มความเปราะบาง” |
||
วันที่ 19 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำกิจกรรมบรรยายเชิงปฏิบัติการ : เทคนิคการ เรื่อง เทคนิคการจัดการอารมณ์: โอบอุ้มความเปราะบาง -กิจกรรม : สะท้อนคิดเพื่อการเข้าใจอารมณ์ความรู้สึกตนเองและรู้จักการรับฟังผู้อื่นอย่างเข้าใจ โดยไม่มีอคติ -เก้าอี้สะท้อนอารมณ์ -ไพ่แห่งความเข้าใจผู้อื่น -กระดุมแห่งความคาดหวัง ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome)
|
35 | 0 |
14. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 7 “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)" |
||
วันที่ 26 มีนาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำบรรยาย เรื่อง "การสร้าง mindset สู่การเป็นผู้ชนะ 10 คิด (Great mindset)" ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) นายณพงศ์ : เป็นวิธีคิดที่สามารถนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะเวลาคุยกับลูกน้องปกติจะมีความขัดแย้ง ฟังแล้วค่อยๆ มาปรับจูนบางเรื่อง ไม่ต้องเอาชนะคะคานกันแต่ก็สามารถอยู่ด้วยกันได้ แต่เดิมมีความรู้อยู่บ้าง แต่ไม่สามารถนำมาใช้ได้ เมื่อได้ฟังเทคนิควิธีการ สามารถนำมาปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น โดยเฉพาะเอามาใช้ในเรื่องงาน โดยเฉพาะการทำงานที่เป็นฝ่ายขาย ที่ผ่านมาสถานการณ์อารมณ์ จะประมาณเถียงกันมากกว่า จากการให้ประเมินตนเอง คิดว่าเปลี่ยนไป 7 จาก 10
นายฉลอง : ได้เรียนรู้มามาก ก็เป็นการเติมเต็ม ช่วยให้เน้นย้ำเรื่องมุมมอง แนวคิด ให้ชัดเจนมากขึ้น
|
35 | 0 |
15. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 8 "พุทธปัญญาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม" |
||
วันที่ 2 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำบรรยาย เรื่อง "พุทธปัญญาเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม" กิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อ "การจัดการความคิดด้วย Theory U" กิจกรรม "วิเคราะห์ Case study ชาวนากับพังพอน" ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) 1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้ในการกรองอคติ ก่อนตัดสินใจเรื่องต่างๆ 2. ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงคุณโทษของการตัดสินใจบนฐานของอคติ ผลลัพธ์ (Outcome) จากการประเมินด้วยการสังเกตพฤติกรรมการแสดงออกระหว่างการเข้าร่วมกิจกรรม ผู้เข้าร่วมกิจกรรมเรียนรู้เรื่องอคติ ได้สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ดังนี้
|
35 | 0 |
16. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 9 "เทคนิคการจัดการอารมณ์" |
||
วันที่ 9 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ1.กิจกรรมบรรยาย เรื่อง "ขันธ์ 5 : การจัดการอารมณ์เพื่อสร้างสมดุลของชีวิต" 2.กิจกรรมปฏิบัติการ "ถอดบทเรียนชีวิต ตามแนวคิดขันธ์ 5" ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินผู้เข้าอบรมได้ความรู้ ความเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 เมื่อวัดด้วยแบบทดสอบความรู้ความเข้าใจเรื่องขันธ์ 5 พบว่าผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจมากกว่าร้อยละ 80 และผลการประเมินประเมินพฤติกรรมด้านเทคนิคการจัดการอารมณ์ ตามหลักขันธ์ 5 อยู่ในระดับดีมาก สะท้อนสิ่งที่ได้เรียนรู้ ดังนี้
นายณพงศ์ : สลดมาก ทำให้เห็นคุณค่าของชีวิต ทำให้เกิดการตระหนักรู้ถึงวัฎสงสาร การเวียนว่ายตายเกิด ทำให้รู้จักที่อยู่กับปัจจุบัน ได้เรียนรู้ที่จะอยู่กับปัจจุบัน อย่าอะไรมากไปกับชีวิต ใช้ชีวิตง่ายๆ เพื่อเข้าใจตนเองมากขึ้น
|
35 | 0 |
17. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 10 "การแปรทุกข์เป็นความหวัง" |
||
วันที่ 16 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำกิจกรรมปฏิบัติการ "การเปลี่ยนตัวตนเพื่อเป็นคนสมดุล" วิเคราะห์และประเมินพฤติกรรมที่ทำให้ตนเองเป็นทุกข์ 10 ด้าน ได้แก่ -ชอบด่วนตัดสินใจ -โกรธง่าย -หงุดหงิดง่าย -ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้ -ไม่ฟังผู้อื่น -เอาตนเองเป็นศูนย์กลาง -พูดก่อนคิด -โทษผู้อื่น -สติไม่อยู่ในร่องรอย -คิดแค้นวางไม่ลง จากนั้นหาวิธี/เทคนิคการแก้ไขพฤติกรรมให้เป็นทางบวก ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) 1.ผู้เข้าอบรมเกิดทักษะในการสะท้อนความคิดเพื่อเปลี่ยนแปลงตนเองเป็นคนสมดุล ผลลัพธ์ (Outcome) นางวัชพร : ทำให้เรารู้ว่าตัวเราก็สร้างความเปราะบางให้กับคนใกล้ชิดเรามาก กับคนข้างนอกเราดีหมด กับคนในบ้านเราก็มักจะไม่แคร์ ความเกรงใจของเราก็น้อย รู้จักความรู้สึกและความต้องการที่แท้จริงของตนเองมากขึ้น และจะพูดอะไร หรือทำอะไร เราจะคิดก่อน ว่ามันจะส่งผลกระทบกับคนอื่นอย่างไร เหมือนตะปูที่ตอกไปแล้วมันก็เป็นรูเป็นรอย เอาไปปรับใช้ กับชีวิตจริง ผลที่เกิดขึ้น ก็ดีขึ้น เรานิ่งขึ้น พอเค้าจะแรงเค้าก็เบาลง นางดารณี : สิ่งที่เอาไปใช้ คือ รับฟัง ไม่ตัดสิน ไม่แนะนำ เสนอทางเลือก ทำให้เราได้มองตัวเอง เวลาเกิดปัญหาเราใช้วิธีการทำอย่างไร ระวังมากขึ้นไม่ดิ่งกับความคิดของตัวเอง มีสติในการหยุดคิดก่อน ทำที่ตัวเองก่อน....เราเปลี่ยน เช่น เราพูดสวนกลับ พอเรานิ่ง คนรอบข้างเปลี่ยน ความสัมพันธ์มันดีขึ้นมาก
|
35 | 0 |
18. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 11 “การบริหารจิตและเจริญปัญญา" |
||
วันที่ 22 เมษายน 2566 เวลา 07:00 น.กิจกรรมที่ทำกิจกรรมปฏฺบัติการ ผู้เข้าอบรมฝึกปฏิบัติการเจริญวิปัสสนากัมมัฏฐาน เป็นเวลา 3 วัน - กิจกรรมปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน - กิจกรรมฟังธรรมะบรรยาย / สนทนาธรรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome)
จากการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของผู้เข้าอบรม พบว่าผ่านเกณฑ์ในระดับดีมาก และประมวลความคิดเห็นการปฏิบัติปัสสนากรรมฐาน โดยการสนทนากลุ่ม พบว่า ผู้เข้าอบรม
นางสุภาวดี : กรรมฐาน คำที่ประทับใจคือ “เปลี่ยนวิธีคิด” ได้เรื่อง “จิต” ทำให้เราอ่านจิตตัวเองมากขึ้น และสามารถมีสติรู้ตัวตลอดเวลา และมีสมาธิด้วย เพราะอาจารย์บอกว่าทำได้ทุกที่ทุกเวลา ก็เลยลองมาทำตอนขับรถ ทำให้เรารู้จิตของตัวเราได้ดีขึ้น
|
35 | 0 |
19. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 12 “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน” |
||
วันที่ 30 เมษายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ1.บรรยาย เรื่อง “การนำหลักธรรมไปใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการความขัดแย้ง" 2.กิจกรรมปฏิบัติการ เรื่อง "การสร้างสัมพันธภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น" ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output)
1. ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจหลักธรรรมเกี่ยวกับความขัดแย้ง ได้แก่ หลักเมตตาธรรม ศีล 5 สาราณียธรรม ผลลัพธ์ (Outcome)
|
35 | 0 |
20. การประชุมคณะทำงานเพื่อประเมินกิจกรรม |
||
วันที่ 6 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันการออกแบบเครื่องมือประเมินกิจกรรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเครื่องมือเพื่อประเมินกิจกรรม
|
13 | 0 |
21. กิจกรรมการเรียนรู้ ในสัปดาห์ที่ 13 "สุนทรียปรัศนีย์" |
||
วันที่ 7 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ1.บรรยาย เรื่อง "สุนทรียปรัศนีย์" 2.กิจกรรมปฏิบัติการ "การขอโทษ การให้อภัย" ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมรู้และเข้าใจหลักการ"สุนทรียปรัศนีย์"
2.ผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้เทคนิค "การขอโทษ การให้อภัย" ได้เรียนรู้กระบวนการในการตั้งคำถาม กับการฟังอย่างตั้งใจ (Active Listening) ผลลัพธ์ (Outcome)
|
35 | 0 |
22. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 14 "การพัฒนาสัมพันธ์ภาพในการอยู่ร่วมกับผู้อื่น" |
||
วันที่ 13 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ1.บรรยายเรื่อง “สัมพันธภาพของมนุษย์ตามหลักพระพุทธศาสนา : กฎแห่งความสัมพันธ์ (Action = Reaction)" 2.กิจกรรมปฏิบัติการ "เทคนิคการพัฒนาสัมพันธภาพ" ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output)
1.ผู้เข้าอบรมมีความรู้เกี่ยวกับ การสร้างสัมพันธภาพตามหลักสาราณียธรรมและกฏแห่งความสัมพันธ์ 4 ข้อ ประกอบด้วย ผลลัพธ์ (Outcome)
|
35 | 0 |
23. กิจกรรมการเรียนรู้ในสัปดาห์ที่ 15 "การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ" |
||
วันที่ 21 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ1.บรรยาย เรื่อง “เทคนิคการรู้เท่าทันสื่อด้วยพุทธปัญญา” 2.บรรยาย เรื่อง “ มิจฉาชีพดิจิทัล” 3.กิจกรรมปฏิบัติการ "การวิเคราะห์สื่อ" 4.กิจกรรมปฏิบัติการ "เทคนิคการรับมือมิจฉาชีพดิจิทัล" ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome)
|
35 | 0 |
24. กิจกรรมปัจฉิมนิเทศปิดการศึกษาในหลักสูตร |
||
วันที่ 27 พฤษภาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำกิจกรรมถอดบทเรียน ตื่นรู้ตื่นคิดพัฒนาชีวิตสู่สมดุล กิจกรรมช่วงเวลาแห่งความทรงจำ กิจกรรมบายศรีสู่ขวัญ-สัมพันธ์มนุษย์พุทธปัญญา กิจกรรมบรรยาย "แนวทางการพัฒนาตนบนฐานพุทธธรรม" โดย ศ.ดร.สัมพันธ์ ฤทธิเดช เลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นเกิดความสัมพันธ์ระหว่างผู้เข้ารับการอบรม และได้แสดงความรู้สึกถึงคุณค่าที่เกิดในระหว่างการอบรมที่มีต่อกัน ได้แสดงตนในการขออโหสิกรรมในสิ่งที่ได้ล่วงเกินกันในระหว่างการอบรม
|
55 | 0 |
25. การประชุมสรุปผลการดำเนินงานของโครงการ |
||
วันที่ 5 มิถุนายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำประชุมคณะทำงานเพื่อร่วมกันสรุปผลการดำเนินโครงการ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลการดำเนินโครงการทั้งหมด ได้นำเข้าสู่ระบบเพื่อรายงานปิดโครงการต่อไป
|
13 | 0 |
26. ประชุมคัดเลือกผู้เข้าร่วมเรียนรู้ |
||
วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 12:30 น.กิจกรรมที่ทำ-การเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมเรียนรู้ (ออนไลน์ผ่านระบบ Google Forms) -การคัดเลือกผู้ร่วมเรียนรู้โดยการสัมภาษณ์ (ออนไลน์ ผ่านระบบ zoom meeting) ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต -มีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้าเรียนรู้จำนวน 40 คน
|
0 | 0 |
27. การประชุมพัฒนาคู่มือ |
||
วันที่ 9 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ-การประชุมสะท้อนผลจากการจัดกิจกรรมในรุ่นที่ 1 ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output)
|
12 | 0 |
28. ประชุมเตรียมพร้อมเปิดการศึกษา |
||
วันที่ 16 กรกฎาคม 2566 เวลา 09:00 น.กิจกรรมที่ทำ-ประชุมเตรียมพร้อมเปิดการศึกษา วางแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ กำหนดวิทยากรในแต่ละกิจกรรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในโครงการผลิตบัณฑิตพันธุใหม่ หลักสูตรการพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา รุ่นที่ 2 จำนวน 16 ครั้ง
|
12 | 0 |
29. การปฐมนิเทศ และกิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 1 “ไตร่ตรองมองตน : การวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6” |
||
วันที่ 22 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-บรรยายพิเศษ เรื่อง “การดำรงชีวิตให้มีความสุขด้วยศาสนธรรม” -บรรยายพิเศษ เรื่อง "ความคาดหวังของสังคมจากหลักสูตร “การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา” -กิจกรรมแนะนำหลักสูตร และ ทีมงานประจำโครงการ -กิจกรรมการเรียนรู้ “ไตร่ตรองมองตน : การวิเคราะห์ตนเองด้วยจริต 6” -กิจกรรม สวดมนต์ เจริญจิตภาวนา ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้รู้จักตนเองและมีความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ประเมินได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง มีความรอบคอบในการตัดสินใจเมื่อเผชิญสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า รู้จักรับฟังและมีความเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
|
80 | 0 |
30. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 2 “การพัฒนาบุคลิกภาพตามหลักโยนิโสมนสิการ” |
||
วันที่ 29 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output)
|
100 | 0 |
31. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 3 “กุศลกรรมบถ : เส้นทางแห่งชีวิตที่ดีงามความดี” |
||
วันที่ 30 กรกฎาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้รู้จักตนเองและมีความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ประเมินได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง มีความรอบคอบในการตัดสินใจเมื่อเผชิญสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า รู้จักรับฟังและมีความเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
|
50 | 0 |
32. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 4 “เทคนิคการจัดการอารมณ์ : โอบอุ้มความเปราะบาง” |
||
วันที่ 5 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้ได้รู้จักตนเองและมีความเข้าใจผู้อื่นมากขึ้น ประเมินได้จากการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมตนเอง มีความรอบคอบในการตัดสินใจเมื่อเผชิญสถานการณ์ปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้า รู้จักรับฟังและมีความเห็นใจผู้อื่นมากขึ้น
|
50 | 0 |
33. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 5 “การออกแบบพัฒนาชีวิตที่ดีงามตามหลักกุศลกรรมบถ” |
||
วันที่ 6 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output)
|
50 | 0 |
34. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 6 “เทคนิคการจัดการความคิด (Growth Mindset)” |
||
วันที่ 19 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้มีความรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมและบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นในการเผชิญปัญหาชีวิตได้
|
50 | 0 |
35. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 7 “เทคนิคการจัดการความคิดด้วย Theory U” |
||
วันที่ 20 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้มีความรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมและบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นในการเผชิญปัญหาชีวิตได้
|
50 | 0 |
36. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 8 “ตื่นรู้ เบิกบาน สานต่อสมดุลชีวิต |
||
วันที่ 26 สิงหาคม 2566 เวลา 08:00 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้มีความรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมและบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นในการเผชิญปัญหาชีวิตได้
|
50 | 0 |
37. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 9 “การเรียนรู้เพื่อแปรเปลี่ยนความทุกข์เป็นความหวัง” |
||
วันที่ 27 สิงหาคม 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้มีความรู้เท่าทันอารมณ์ของตนเอง สามารถควบคุมและบริหารจัดการอารมณ์ของตนเองได้ มีความยับยั้งชั่งใจ ไม่ด่วนตัดสินใจ รวมทั้งสามารถให้คำปรึกษาแก่ผู้อื่นในการเผชิญปัญหาชีวิตได้
|
50 | 0 |
38. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 10 “เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว" |
||
วันที่ 2 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรมการเรียนรู้ “สักการะหลวงพ่อวัดไร่ขิง และ ชมพิพิธภัณฑ์วิถีชีวิตชุมชนบ้านคลองผีเสื้อ”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “ศูนย์การเรียนรู้ปลูกผักเกษตรอินทรีย์ไร่ขิง”
-กิจกรรม “ปลูกต้นไม้พื้นถิ่น ลดคาร์บอน” ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
|
50 | 0 |
39. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 11 “ก้าวย่างที่เราต่างเป็นผู้รักษ์โลก” |
||
วันที่ 3 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
|
50 | 0 |
40. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 12 “การสื่อสารอย่างสันติ” |
||
วันที่ 9 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
|
50 | 0 |
41. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 13 “การจัดการความขัดแย้งในการอยู่ร่วมกัน” |
||
วันที่ 10 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
|
50 | 0 |
42. จัดนิทรรศการแสดงผลงานในงาน 136 ปี มจร |
||
วันที่ 13 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-นำเสนอผลงาน ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมงานได้รู้จักและทราบถึงผลการดำเนินงานของหลักสูตรฯ
|
0 | 0 |
43. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 14 “การพัฒนาสัมพันธภาพในการอยู่รวมกับผู้อื่น” |
||
วันที่ 16 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
|
50 | 0 |
44. การประชุมถอดบทเรียนและประเมินกิจกรรม |
||
วันที่ 17 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-การประชุมถอดบทเรียนและประเมินกิจกรรม ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output)
|
25 | 0 |
45. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 15 “การสื่อสารอย่างสร้างสรรค์และรู้เท่าทันสื่อ” |
||
วันที่ 23 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรม Homeroom ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
|
50 | 0 |
46. ประชุมถอดบทเรียนและพัฒนาชุดความรู้ |
||
วันที่ 24 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำประชุมถอดบทเรียนและพัฒนาชุดความรู้ ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output)
|
25 | 0 |
47. กิจกรรมเรียนรู้ ครั้งที่ 16 “Meditation ความสุข ความสงบ ที่เข้าถึงได้” |
||
วันที่ 29 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำ-กิจกรรมสัมพันธ์ “ตื่นรู้ ตื่นคิด พัฒนาชีวิตอย่างสมดุล”
-กิจกรรมการเรียนรู้ “Meditation ความสุข ความสงบ ที่เข้าถึงได้”
-กิจกรรม “อธิษฐานจิต เติมพลังชีวิต ด้วยพุทธปัญญา” ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output) ผลลัพธ์ (Outcome) -ผู้เข้าร่วมเรียนรู้สามารถลดอัตตาตนเองไม่ตัดสินผู้อื่นจากมุมมองตนเอง สามารถปรับตัวเข้ากับผู้อื่นในการทำงานและการใช้ชีวิตในสังคมได้อย่างเหมาะสม มีน้ำใจ เสียสละเพื่อส่วนรวม
|
50 | 0 |
48. ปัจฉิมนิเทศและมอบประกาศนียบัตร (7 ตุลาคม 2566) |
||
วันที่ 30 กันยายน 2566 เวลา 08:30 น.กิจกรรมที่ทำปัจฉิมนิเทศและมอบประกาศนียบัตร ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นผลผลิต (Output)
|
60 | 0 |
* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น
ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม
ผลการดำเนินโครงการ
สรุปผลการดำเนินโครงการ
ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
ผลผลิตโครงการ
วัตถุประสงค์ | สถานการณ์ | เป้าหมาย | ผลผลิต | อธิบาย |
---|
ผู้เข้าร่วมโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
---|---|---|
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด | ||
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวนที่วางไว้(คน) | จำนวนที่เข้าร่วม(คน) |
บทคัดย่อ*
ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ
ปัญหาและอุปสรรค | สาเหตุ | ข้อเสนอแนะ |
---|---|---|
การพัฒนามนุษย์ด้วยพุทธปัญญา จังหวัด
รหัสโครงการ FN65/0118
ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......