Home Page
ค้นหา&แผนที่
ประกาศ: ข้อเสนอหลักสูตรปี 2562-2564 ที่ผ่านการอนุมัติแล้ว หากเจ้าของหลักสูตรได้ทำการบันทึกข้อมูลสมบูรณ์แล้ว ขอให้เจ้าของหลักสูตรทำการคลิกปุ่ม "เสนอพิจารณา" จากหน้า "รายละเอียดข้อเสนอหลักสูตร" เพื่อให้เจ้าหน้า สป.อว. ทำการผ่านให้เป็นติดตามหลักสูตร และบันทึกข้อมูลในการติดตามในขั้นตอนต่อไป
ข่าวประชาสัมพันธ์
แผนที่นำทางใหม่ สำหรับอุดมศึกษาไทย
@3 พ.ย. 64 17:23
แผนที่นำทางใหม่ สำหรับอุดมศึกษาไทย
2836 views | read more »
การประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการผลิต บัณฑิตพันธ์ใหม่ (15 พย.65)
@3 พ.ย. 64 17:15
ชม วีดีโอย้อนหลัง การประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการผลิต บัณฑิตพันธ์ใหม่ (15 พย.65)การชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ปี พ.ศ. 2565เปิดการประชุมสัมมนาและมอบนโยบาย เรื่อง โบัณฑิตพันธุ์ใหม่กับการผลิตกำลังคนหลังวิกฤตการณ์โควิด-19โ
3561 views | read more »
กิจกรรม
ชมวีดีโอย้อนหลัง การอบรม การใช้งาน ระบบ online เพื่อเสนอโครงการหลักสูตรฯ ขอรับทุนสนับสนุนจาก สป.อว.
@13 พ.ย. 64 12:38
.-primary .title { display:none !important; }#primary .nav.-page{ display:none; }ชมวีดีโอ ย้อนหลัง งานประชุม/อบรม การใช้งาน ระบบ online เพื่อเสนอโครงการหลักสูตรฯ ขอรับทุนสนับสนุนจาก สป.อว.วันที่ 24 พย 2564 ช่วงเช้า - สำหรับมหาวิทยาลัย ที่ได้รับงบประมาณและได้ดำเนินการแล้วใ
8032 views | read more »
มัลติมีเดีย
การประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการผลิต บัณฑิตพันธ์ใหม่ (15 พย.65)
@3 พ.ย. 64 17:15
ชม วีดีโอย้อนหลัง การประชุมสัมมนาเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการผลิต บัณฑิตพันธ์ใหม่ (15 พย.65)การชี้แจงแนวทางการดำเนินโครงการผลิตบัณฑิตพันธุ์ใหม่ ปี พ.ศ. 2565เปิดการประชุมสัมมนาและมอบนโยบาย เรื่อง โบัณฑิตพันธุ์ใหม่กับการผลิตกำลังคนหลังวิกฤตการณ์โควิด-19โ
3561 views | read more »
การดำเนินกิจกรรมโครงการ
นักพัฒนากลยุทธ์และวินิจฉัยนวัตกรรมองค์กรที่ยั่งยืนสำหรับ SMEs
นักพัฒนากลยุทธ์และวินิจฉัยนวัตกรรมองค์กรที่ยั่งยืนสำหรับ SMEs : Credential: นักพัฒนากลยุทธ์และวินิจฉัยนวัตกรรมองค์กรที่ยั่งยืน Module 1 ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม กับนวัตกรรมและความยั่งยืน Assignment: ฝึกปฏิบัติด้านวิเคราะห์แผนพัฒนาธุรกิจ จัดทำ Business Foresight สำหรับ SMEs ในมิตินวัตกรรมและความยั่งยืน ผลผลิตจากผู้เรียน: Business Foresight Report ให้สามารถใช้เครื่องมือการคาดการณ์อนาคตธุรกิจสำหรับเป็นแนวทางสำคัญของการสร้างสถานการณ์จำลองสำหรับการพัฒนากลยุทธ์ธุรกิจในอนาคต การนำไปใช้ประโยชน์: ผลการคาดการณ์อนาคตธุรกิจจากการใช้เครื่องมือ Foresight Tool สร้าง Scenarios ของอนาคตธุรกิจที่เหมาะสมกับบริบทและเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ขององค์กรกรณีศึกษา ระดับของทักษะ/สมรรถนะ: ทักษะระดับกลาง (Intermediate) สำหรับการทำงานในสายวิชาชีพด้าน Business Development Module 2 นวัตกรรมและการประเมินศักยภาพองค์กรนวัตกรรม Assignment: ฝึกวิเคราะห์กรณีศึกษาองค์กรธุรกิจโดยใช้โมเดลการประเมินศักยภาพองค์กรนวัตกรรม (Innovative Organization Model: IOM) ผลผลิตจากผู้เรียน: Innovative Organization Assessment Report ให้สามารถใช้ Innovative Organization Model (IOM) เป็นเครื่องมือการประเมินศักยภาพนวัตกรรมองค์กรได้ การนำไปใช้ประโยชน์: ประเมินศักยภาพองค์กรธุรกิจในด้านองค์กรนวัตกรรม โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ Strategy level, Operations Level, Fundamental Level เพื่อทราบถึงช่องว่างและโอกาสในการพัฒนาศักยภาพด้านนวัตกรรมในระดับองค์กร และการจัดทำ Innovation Portfolio ที่เหมาะสมกับบริบทและศักยภาพขององค์กร ระดับของทักษะ/สมรรถนะ: ทักษะระดับกลาง (Intermediate) สำหรับการทำงานในสายวิชาชีพด้าน Business Development Module 3 การวินิจฉัยองค์กรนวัตกรรมและความยั่งยืน Assignment: ฝึกกระบวนการวินิจฉัยกรณีศึกษาองค์กรธุรกิจโดยใช้เทคนิคการเชื่อมโยงปัญหาด้วย Fact-findings ผลผลิตจากผู้เรียน: Enterprise Diagnosis Report ให้สามารถใช้กรอบการวินิจฉัยองค์กรโดยเฉพาะ SMEs ในด้านการบริหารจัดการ การบัญชีและการเงิน การขายและการตลาด การผลิตและดำเนินงาน การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อค้นหาประเด็นและความเชื่อมโยงของความสัมพันธ์ปัญหา เพื่อให้วางแผนการแก้ไขและพัฒนาอย่างเป็นระบบ การนำไปใช้ประโยชน์: วินิจฉัยผลการดำเนินงานปัจจุบันขององค์กรณีศึกษา โดยใช้เครื่องมือวินิจฉัยองค์กรอย่างเป็นระบบ ค้นหาประเด็นปัญหา เชื่อมโยงความสัมพันธ์ของปัญหา จัดทำแผนการพัฒนาตามกรอบและระยะเวลาที่เหมาะสม เพื่อนำไปสู่การขยายผลจัดทำกลยุทธ์พัฒนาธุรกิจต่อไป ระดับของทักษะ/สมรรถนะ: ทักษะระดับกลาง (Intermediate) สำหรับการทำงานในสายวิชาชีพด้าน Business Development Module 4 การออกแบบและจัดทำกลยุทธ์นวัตกรรมองค์กรที่ยั่งยืน Assignment: ฝึกการสร้างแผนกลยุทธ์องค์กร และการวิเคราะห์แผนกลยุทธ์การดำเนินงาน (Operations Strategy) ผลผลิตจากผู้เรียน: Business Development Strategy Plan ให้สามารถออกแบบและจัดทำกลยุทธ์นวัตกรรมองค์กรที่ยั่งยืน โดยบูรณาการความรู้ ทักษะและสมรรถนะที่ได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย การคาดการณ์อนาคตธุรกิจ การประเมินศักยภาพนวัตกรรมองค์กร และการวินิจฉัยองค์กร เพื่อการจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมให้เกิดความยั่งยืนได้ การนำไปใช้ประโยชน์: วิเคราะห์และออกแบบกลยุทธ์นวัตกรรมองค์กรที่ยั่งยืน สำหรับธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถบูรณาการเครื่องมือต่างๆ ของหลักสูตร ประกอบด้วย Foresight Tool, Innovative Organization Model, Enterprise Diagnosis Tools ในการออกแบบกลยุทธ์และจัดทำแผนการใช้ประโยชน์กลยุทธ์สำหรับองค์กรกรณีศึกษาของผู้เรียน ระดับของทักษะ/สมรรถนะ: ทักษะระดับกลาง (Intermediate) สำหรับการทำงานในสายวิชาชีพด้าน Strategic Management Module 5 การใช้ประโยชน์ของกลยุทธ์นวัตกรรมองค์กรที่ยั่งยืน Assignment: ฝึกการบริหารจัดการและนำแผนกลยุทธ์การดำเนินงาน (Operations Strategy) ไปใช้ประโยชน์ ผลผลิตจากผู้เรียน: Business Development Strategy Plan ให้สามารถออกแบบและจัดทำกลยุทธ์นวัตกรรมองค์กรที่ยั่งยืน โดยบูรณาการความรู้ ทักษะและสมรรถนะที่ได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย การคาดการณ์อนาคตธุรกิจ การประเมินศักยภาพนวัตกรรมองค์กร และการวินิจฉัยองค์กร เพื่อการจัดทำแผนกลยุทธ์เพื่อพัฒนาธุรกิจนวัตกรรมให้เกิดความยั่งยืนได้ การนำไปใช้ประโยชน์: วิเคราะห์และออกแบบกลยุทธ์นวัตกรรมองค์กรที่ยั่งยืน สำหรับธุรกิจ SMEs เพื่อให้สามารถบูรณาการเครื่องมือต่างๆ ของหลักสูตร ประกอบด้วย Foresight Tool, Innovative Organization Model, Enterprise Diagnosis Tools ในการออกแบบกลยุทธ์และจัดทำแผนการใช้ประโยชน์กลยุทธ์สำหรับองค์กรกรณีศึกษาของผู้เรียน ระดับของทักษะ/สมรรถนะ: ทักษะระดับกลาง (Intermediate) สำหรับการทำงานในสายวิชาชีพด้าน Strategic Management@18 พ.ย. 67 16:23การพัฒนาศักยภาพมัคคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา
พิธีมอบประกาศนียบัตร หลักสูตร “การพัฒนาศักยภาพมัคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา” รุ่นที่ ๑ : ผลผลิต (Output) - จัดเวทีเสวนาวิชาการเรื่อง "ได้อะไร เมื่อมาอบรมมัคนายก" โดยมีผู้ร่วมเสวนาคือ นายพีรเดช เปรมปรีดา, นายชรินทร์ ช่วยประดิษฐ์, นายอชิระวิชญ์ ภักดิ์โชติพงศ์, และนายรวีโรจน์ สิงห์ลำพอง - ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์จากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านการอบรมมัคนายก รวมถึงการแนะนำวิธีการพัฒนาทักษะและความรู้ที่จำเป็นในการปฏิบัติหน้าที่ - เผยแพร่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์และแนะนำแนวทางในการพัฒนาความสามารถของมัคนายก - แบ่งปันประสบการณ์จากผู้เข้าร่วมเสวนาช่วยให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง - บันทึกและนำไปใช้ในการปรับปรุงการอบรมในอนาคต - สรุปประเด็นสำคัญและข้อเสนอแนะจากการเสวนาจะถูกนำมาใช้เป็นข้อมูลเพื่อพัฒนาแนวทางการอบรมมัคนายกในรุ่นถัดไป ผลลัพธ์ (Outcome) - ผู้เข้าร่วมเสวนาจะได้รับความเข้าใจที่ลึกซึ้งมากขึ้นเกี่ยวกับบทบาทและความสำคัญของมัคนายกในการบริหารจัดการศาสนพิธี รวมถึงการพัฒนาทักษะที่จำเป็นในการดำรงตำแหน่ง 2) การเสวนาช่วยเสริมสร้างมุมมองที่หลากหลายในการปฏิบัติหน้าที่ - ผู้เข้าร่วมได้รับการเสริมสร้างความรู้ใหม่ ๆ ในด้านการบริหารจัดการงานพิธีกรรม การประสานงาน และการจัดการกับผู้เข้าร่วมพิธี - ความเข้าใจในวิธีการพัฒนาทักษะต่าง ๆ เช่น การสื่อสาร การปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเป็นมืออาชีพ และการจัดการสถานการณ์ต่าง ๆ จะทำให้มัคนายกมีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น - สร้างเครือข่ายที่สำคัญในวงการมัคนายก - ช่วยกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในการพัฒนาการอบรมในอนาคต - ข้อเสนอแนะในการพัฒนาหลักสูตรและวิธีการอบรมมัคนายก เช่น การปรับเนื้อหาหลักสูตรให้ตรงกับความต้องการของผู้เข้ารับการอบรม หรือการเพิ่มการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์จริง@16 พ.ย. 67 22:53การพัฒนาศักยภาพมัคคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา
กิจกรรมสัปดาห์ที่ 14 กิจกรรมถอดบทเรียนการฝึกอบรมหลักสูตรมัคนายก : ผลผลิต (Output) - ผู้เข้าอบรมได้ทำการประเมินตนเองผ่านกิจกรรมถอดบทเรียน ซึ่งจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ เช่น ความรู้ ความคิด และทักษะการปฏิบัติงานในศาสนพิธี - ผลการประเมินจะช่วยให้เข้าใจถึงการพัฒนาของตนเองในด้านการปฏิบัติงานและการเรียนรู้จากประสบการณ์ที่ได้จากการอบรม - ผู้เข้าอบรมได้สรุปผลการปฏิบัติงานจริงจากงานศาสนพิธีต่าง ๆ เช่น งานบวช, งานศพ, งานขึ้นบ้านใหม่, และงานแต่งงาน - การถอดบทเรียนช่วยให้ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินผลการปฏิบัติงานในแต่ละกรณี รวมถึงการระบุจุดแข็งและจุดที่ต้องพัฒนา - การฝึกฝนการออกแบบและบริหารจัดการศาสนพิธีกรรมตามประเภทต่าง ๆ ช่วยให้ผู้เข้าอบรมมีทักษะในการจัดการพิธีกรรมได้อย่างมืออาชีพ - ผลลัพธ์ของกิจกรรมนี้คือการเตรียมความพร้อมให้ผู้เข้าอบรมสามารถจัดการพิธีกรรมในงานต่าง ๆ ได้ด้วยตนเอ - การประชุมนี้เป็นการหารือเกี่ยวกับการตั้งสมาคมวิชาชีพสำหรับมัคนายก โดยมีการตั้งชื่อสมาคมและร่างข้อบังคับ - การตั้งสมาคมวิชาชีพช่วยส่งเสริมการสร้างเครือข่ายและความร่วมมือระหว่างผู้ปฏิบัติงานในด้านศาสนพิธี ผลลัพธ์ (Outcome) ที่เกิดขึ้น ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงก่อนและหลังการอบรม 1) ผู้เข้าอบรมได้รับการพัฒนาในหลายด้าน เช่น การทำงานร่วมกับผู้อื่น การจัดการพิธีกรรม และการสื่อสารกับผู้เข้าร่วมพิธี 2) ความสามารถในการบริหารจัดการงานพิธีเพิ่มขึ้นหลังจากอบรม รวมถึงการปรับทัศนคติและท่าทีในการปฏิบัติหน้าที่ 2. การเกิดการเปลี่ยนแปลงจากการอบรม 1) หลายคนอาจมีการเปลี่ยนแปลงในทัศนคติการทำงาน โดยเฉพาะในด้านการเข้าใจและปฏิบัติตามหลักการของพระพุทธศาสนา 2) ผู้เข้าอบรมได้รับการเสริมสร้างความมั่นใจในการทำงานศาสนพิธี ซึ่งช่วยให้เกิดการพัฒนาบุคลิกภาพที่ดีขึ้น 3. การเปลี่ยนแปลงท่าทีต่อพระพุทธศาสนา ทำให้ผู้เข้าอบรมบางคนอาจมีท่าทีที่เคารพและเข้าใจพระพุทธศาสนามากขึ้น ซึ่งทำให้พวกเขามีความมุ่งมั่นในการปฏิบัติหน้าที่มัคนายกอย่างมีคุณภาพ 4. สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ได้จากการอบรม ผู้เข้าอบรมสามารถระบุสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ได้รับจากการอบรม เช่น การพัฒนาทักษะการปฏิบัติหน้าที่, การปรับปรุงบุคลิกภาพ, และการเสริมสร้างความเข้าใจในหลักพระพุทธศาสนา 5. คุณสมบัติของมัคนายกที่ได้รับการพัฒนา เมื่อเปรียบเทียบกับคุณสมบัติที่คาดหวังในตอนแรก ผู้เข้าอบรมมีคุณสมบัติที่ตรงตามที่คาดหวังมากขึ้น เช่น ความสามารถในการประสานงาน การบริหารจัดการพิธีกรรม และการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความเคารพ 6. ปัญหาและอุปสรรคในการอบรม ประกอบด้วย 1) ผู้เข้าอบรมสามารถระบุปัญหาหรืออุปสรรคในการอบรม เช่น ความยากลำบากในการจัดการพิธีกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ หรือปัญหาในการสื่อสารกับผู้เข้าร่วมงาน 2) ข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกิจกรรมอบรมในอนาคตจะช่วยให้สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้ 7. ความเปลี่ยนแปลงตนเองที่เป็นผลจากการอบรม ผู้เข้าอบรมสามารถประเมินการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในตัวเองจากการอบรม โดยเฉพาะในด้านการพัฒนาความรู้ ความคิด และทักษะในการปฏิบัติหน้าที่มัคนายก@16 พ.ย. 67 22:24การพัฒนาศักยภาพมัคคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา
กิจกรรมสัปดาห์ที่ 13 กิจกรรมประเมินผลการปฏิบัติศาสนพิธีภาคสนาม : ผลผลิต (Output) - มัคนายกได้บันทึกการฝึกปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง เช่น งานศพ, งานทำบุญวันพระ, งานบุญผ้าป่า ซึ่งสามารถแสดงถึงทักษะในการจัดการและการปฏิบัติงานในแต่ละประเภทของพิธีกรรมทางศาสนา - คลิปวีดีโอมีการแสดงขั้นตอนต่าง ๆ ในการจัดงาน เช่น การกล่าวคำอาราธนาศีล, การกล่าวสวดมนต์, การเตรียมสถานที่, การดูแลพิธีกรรม, การต้อนรับแขกผู้มาร่วมงาน เป็นต้น - การบันทึกวีดีโอเหล่านี้มีวัตถุประสงค์ในการนำไปใช้ในการฝึกฝนตนเองและให้คำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ - มัคนายกได้จัดทำการนำเสนอคลิปวีดีโอที่บันทึกในภาคสนามไปยังผู้ทรงคุณวุฒิ เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา, เจ้าอาวาส, หรือผู้มีประสบการณ์ในงานศาสนพิธี 2) คลิปวีดีโอเหล่านี้จะถูกนำไปใช้ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของมัคนายก เพื่อให้ได้รับคำแนะนำและข้อเสนอแนะในการปรับปรุงทักษะในการทำงาน ผลลัพธ์ (Outcome) - มัคนายกได้รับคำแนะนำที่เป็นประโยชน์จากผู้ทรงคุณวุฒิในการปรับปรุงทักษะต่าง ๆ เช่น การพูดการสวดมนต์ให้มีความเหมาะสม การบริหารจัดการพิธีการต่าง ๆ อย่างมืออาชีพ รวมถึงการเพิ่มความเข้าใจในพิธีกรรมและรายละเอียดต่าง ๆ - คำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิช่วยให้มัคนายกเข้าใจข้อผิดพลาดในการปฏิบัติและสามารถพัฒนาการทำงานในอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ - หลังจากการได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ มัคนายกสามารถนำคำแนะนำไปปรับใช้ในการทำงานจริง ทำให้การปฏิบัติงานในครั้งถัดไปมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - มัคนายกสามารถฝึกฝนทักษะด้านการสื่อสาร การกล่าวคำสวดมนต์ การพูดกับผู้เข้าร่วมงาน และการบริหารจัดการงานพิธีในลักษณะที่เหมาะสมและมีความเคารพตามหลักการศาสนา - มัคนายกได้ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อนของตนเองในการปฏิบัติงานจากการประเมินหลังการดูคลิปวีดีโอ และคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งจะช่วยในการพัฒนาทักษะการปฏิบัติหน้าที่ในอนาคต - ผลลัพธ์จากการประเมินช่วยให้มัคนายกมั่นใจในการปฏิบัติหน้าที่ในงานศาสนพิธีต่าง ๆ โดยรู้วิธีการปรับปรุงและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง@16 พ.ย. 67 22:12การพัฒนาศักยภาพมัคคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา
กิจกรรมฝึกปฏิบัติภาคสนาม ครั้งที่ 2 : • ผลผลิต (Output) - มัคนายกได้เข้าร่วมในพิธีกรรมจริงที่วัดต่าง ๆ เช่น งานศพ, งานบำเพ็ญกุศล, งานพิธีกรรมตามงานพิธีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานอวมงคล และได้ฝึกปฏิบัติงานตามตำแหน่งและหน้าที่ของตนเองตามมาตรฐาน เช่น การกล่าวสวดมนต์, การกล่าวคำบูชา, การดูแลพิธีกรรม, การเตรียมพื้นที่, การต้อนรับผู้ร่วมงาน, การจัดการพิธี, การให้คำแนะนำกับเจ้าภาพและผู้เข้าร่วม เป็นต้น - การบันทึกวีดีโอและภาพถ่าย เพื่อให้มัคนายกสามารถนำไปใช้ในการประเมินผลและพัฒนาการปฏิบัติงานของตนเอง • ผลลัพธ์ (Outcome) - การปรับปรุงทักษะการสื่อสารและการทำงานในพิธีกรรมจริง มัคนายกสามารถนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากการฝึกปฏิบัติจริงไปปรับปรุงทักษะการพูด การบริหารพิธีกรรม และการดูแลพิธีต่าง ๆ ทำให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น - การพัฒนาทักษะด้านการบริหารงานพิธี มัคนายกจะได้รับประสบการณ์จริงในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น การจัดการกับพิธีกรรมในงานศพหรือพิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยวข้องกับงานอวมงคล ทำให้มีความเชี่ยวชาญและมั่นใจในการทำหน้าที่มากขึ้น - การประเมินผลตามเกณฑ์มาตรฐาน 10 ข้อ มัคนายกได้รับการประเมินจากอาจารย์ที่ปรึกษา, เจ้าอาวาส, และเจ้าภาพตามมาตรฐานที่กำหนด ช่วยให้มัคนายกได้ทราบข้อบกพร่องและจุดที่ต้องพัฒนาการปฏิบัติหน้าที่@16 พ.ย. 67 21:57การพัฒนาศักยภาพมัคคนายกเพื่อเป็นผู้นำศาสนพิธีแห่งศรัทธา
กิจกรรมสัปดาห์ที่ 12 กิจกรรมประเมินผลการปฏิบัติศาสนพิธีภาคสนาม : *ผลผลิต (Output) 3 - วีดีโอที่แสดงถึงการฝึกปฏิบัติงานจริงในสถานการณ์ต่าง ๆ เช่น งานศพ, งานทำบุญวันพระ, และงานบุญผ้าป่า ซึ่งรวมถึงการจัดเตรียมพิธีกรรม, การพูดทักทาย, การกล่าวคำบูชา และการบริหารจัดการพิธีต่าง ๆ ตามหน้าที่ - คลิปวีดีโอที่ถูกบันทึกไว้จะสามารถใช้เป็นหลักฐานในการติดตามและประเมินผลการปฏิบัติหน้าที่ของมัคนายกในสถานการณ์จริง - การนำเสนอคลิปวีดีโอช่วยให้ผู้ที่รับชม (อาจารย์, เจ้าอาวาส, และเจ้าภาพ) สามารถประเมินได้ว่า มัคนายกมีความสามารถในการปฏิบัติงานจริงในสถานการณ์ต่าง ๆ หรือไม่ - มัคนายกได้รับการรับฟังคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิในด้านต่าง ๆ เช่น อาจารย์ที่ปรึกษา, เจ้าอาวาส, หรือผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ - คำแนะนำที่ได้รับจะช่วยให้มัคนายกเข้าใจถึงจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนาในการปฏิบัติงาน *ผลลัพธ์ (Outcome) - การพัฒนาทักษะการปฏิบัติงานจริง จากการได้รับคำแนะนำจากผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละงานทำให้มัคนายกสามารถปรับปรุงทักษะการปฏิบัติงานของตนเองได้ โดยการประเมินจากคลิปวีดีโอและคำแนะนำทำให้มัคนายกสามารถพัฒนาในด้านต่าง ๆ เช่น การพูด การสื่อสาร การจัดการพิธีและการดูแลพิธีกรรมอย่างมีระเบียบ - การรับคำแนะนำและการได้เห็นข้อดีและข้อบกพร่องจากการปฏิบัติงานช่วยเสริมสร้างความมั่นใจให้มัคนายกในการทำหน้าที่ของตนในงานพิธีต่าง ๆ - มัคนายกได้รับการสนับสนุนในการพัฒนาผลงานของตนเองเพื่อให้ทำหน้าที่ได้ดียิ่งขึ้นในอนาคต - ความน่าเชื่อถือและความศรัทธาจากผู้เข้าร่วมพิธี@16 พ.ย. 67 21:48