directions_run

หลักสูตรพัฒนาสมรรถนะครูในการพัฒนาหลักสูตรบูรณาการทักษะศตวรรษที่ 21

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

 

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 40
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. เพื่อให้ครูปฐมวัยได้รับการพัฒนาทักษะเดิม (up-skill) ในด้านสมรรถนะหลัก (core competency) ที่เป็นคุณลักษณะของครูปฐมวัยในศตวรรษที่ 21
  2. เพื่อให้ครูปฐมวัยได้รับการปรับปรุงทักษะ (re-skill) ในด้านสมรรถนะตามสายปฏิบัติงาน (functional competency) ที่สามารถออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก
  3. เพื่อส่งเสริมการสร้างเครือข่ายชุมชนวิชาชีพในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการบวนการ PLC (Professional Learning Community)

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ 1. ครูได้รับการพัฒนาทักษะเดิม (up-skill) โดยการพัฒนาสมรรถนะในด้านสมรรถนะหลัก (core competency)
2. ครูได้รับการสร้างทักษะใหม่ (re-skill) โดยการพัฒนาสมรรถนะตามสายปฏิบัตงาน (functional competency)
3. เกิดหลักสูตรบูรณาการทักษะศตวรรษที่ 21 สำหรับเด็กปฐมวัย
4. เด็กปฐมวัยในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กได้รับการพัฒนาทักษะศตวรรษที่ 21 จากการฝึกปฏิบัติของครูปฐมวัย
5. ครูมีการสร้างเครือข่ายชุมชนวิชาชีพในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่านการบวนการ PLC (Professional Learning Community)

ข้อเสนอแนะ ได้แก่
รูปแบบการจัดการเรียนการสอน
1) การประชุมคณาจารย์ผู้สอนรายวิชาในหลักสูตร พัฒนาเทคนิคในการจัดการเรียนการสอนร่วมกันเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มผู้เรียนมากยิ่งขึ้น
2) การประชุมเพื่อปรับรูปแบบการฝึกปฏิบัติให้มีความสอดคล้องกับกลุ่มเป้าหมายในแต่ละบริบทพื้นที่ โดยจัดประชุมภายหลังเสร็จสิ้นการจัดการเรียนการสอน
3) การประชุมคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อพิจารณาวางแผนการปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป

ผู้สอนและผู้นิเทศ
1) การประเมินผลการสอนโดยผู้เข้าร่วมอบรมในด้านต่างๆ ได้แก่ ความสามารถในการถ่ายทอด/สื่อสาร เนื้อหาสาระครบถ้วนและน่าสนใจ สื่อประกอบการสอน การเปิดโอกาสให้ซักถามและแสดงความคิดเห็น การตอบคำถามในรายวิชา และนำผลการประเมินมาวิเคราะห์เพื่อปรับกลยุทธ์การสอนให้เหมาะสมต่อไป

การวัดและประเมินผล
1) การประเมินผลการเรียนของผู้เข้ารับการอบรมโดยยึดตามการวัดผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในกระบวนวิชา วิเคราะห์และนำมาปรับปรุงในรุ่นต่อไป
2) การประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานของผู้เข้ารับการอบรมโดยยึดตามการวัดผลที่ได้กำหนดไว้ในกระบวนวิชา วิเคราะห์และนำมาปรับปรุงในรุ่นต่อไป
3) การประชุมร่วมกับผู้นิเทศติดตามการฝึกปฏิบัติในพื้นที่ ระหว่างที่ดำเนินการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติเพื่อนำมาปรับปรุงในรุ่นต่อไป
4) การประเมินโดยผู้สำเร็จการศึกษา โดยส่งแบบประเมินที่ประเมินครอบคลุมทุกองค์ประกอบไปให้ผู้เข้ารับการอบรมภายหลังกลับไปปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh