directions_run

ลดแต่เพิ่ม เติมเต็มลูกค้า (Lean the process, escalate customer delight) [iCXM101] (หลักสูตร Non-Degree)

แบบรายงานการดำเนินงานฉบับสมบูรณ์

รายงานฉบับสมบูรณ์

มหาวิทยาลัยสวนดุสิต


“ ลดแต่เพิ่ม เติมเต็มลูกค้า (Lean the process, escalate customer delight) [iCXM101] ”



หัวหน้าโครงการ

ชื่อโครงการ ลดแต่เพิ่ม เติมเต็มลูกค้า (Lean the process, escalate customer delight) [iCXM101]

ที่อยู่ จังหวัด

รหัสโครงการ FN64/0071 เลขที่ข้อตกลง

ระยะเวลาดำเนินงาน ตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2564 ถึง 30 กันยายน 2565


กิตติกรรมประกาศ

"ลดแต่เพิ่ม เติมเต็มลูกค้า (Lean the process, escalate customer delight) [iCXM101] จังหวัด" สำเร็จได้ด้วยดี ด้วยความร่วมมือจาก สมาชิกในชุมชน

คณะทำงานโครงการฯ ขอขอบคุณ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ที่ให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินโครงการฯ รวมทั้ง ภาคีเครือข่ายที่สำคัญระดับพื้นที่ ที่ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ ชี้แนะ สุดท้ายขอขอบคุณผู้เกี่ยวข้องที่มิได้ระบุชื่อไว้ในที่นี้ ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้มีความยั่งยืนในพื้นที่ต่อไป

คณะทำงานโครงการ
ลดแต่เพิ่ม เติมเต็มลูกค้า (Lean the process, escalate customer delight) [iCXM101]



บทคัดย่อ

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ (1) ยกระดับสมรรถนะการบริการและการขายสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและสมดุลความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) บูรณาการสมรรถนะการบริการและการขายสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและสมดุลความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (3) สามารถลดกระบวนการในการให้บริการที่ยกระดับความประทับใจของลูกค้า

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ ผู้เรียนสามารถแสดงออกซึ่งสมรรนะที่จำเป็นทั้ง 4 สมรรถนะ ได้แก่ (1) สมรรถนะหัวใจผู้ให้บริการ (2) สมรรถนะฉลาดบริการ (3) สมรรถนะฉลาดขาย (4) สมรรถนะสร้างแล้ววัดเพื่อเรียนรู้ ดังกล่าว ผ่านการสร้างยอดขายในฐานะพนักงานขายทางโทรศัพท์ซึ่งต้องให้บริการข้อมูลรวมถึงปิดการขายผ่านกระบวนการให้บริการที่ต้องให้ลูกค้าเชื่อมั่นและประทับใจ (Telesale) ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ จนมียอดขายรวมได้สูงถึง 55,440 บาท

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ด้วยวิชาชีพด้าน Call Center หรือ Contact Center ได้รับความท้าทายเป็นอย่างมากในสถานการณ์ปัจจุบันจากการที่มิจฉาชีพแอบอ้างเป็น Call Center ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นวงกว้าง ทาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่มีประสบการณ์การบริหารจัดการหลักสูตรด้านการบริการลูกค้ามากว่า 10 ปี และ สมาคมการค้าธุรกิจศูนย์บริการทางโทรศัพท์ไทย (TCCTA) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแวดวงวิชาชีพด้าน Call Center จึงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว อันนำมาสู่ข้อตกลงความร่วมมือกันในการผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงให้พร้อมทำงานในวิชาชีพด้าน Call Center ขึ้น จนสามารถจัดกิจกรรมแล้ว 1 รุ่น แต่ด้วยสถานการณ์วิกฤตศรัทธาในวิชาชีพดังกล่าวข้างต้นผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในช่วงของการประชาสัมพันธ์รับสมัครจึงมีความท้าทายเป็นอย่างยิ่งในการรับสมัครพร้อมทั้งการให้บริการข้อมูลหลักสูตรแบบ Face-to-Face จึงเป็นเหตุสำคัญที่แม้ยอดผู้สมัครออนไลน์จะสูงถึง 80 ท่าน แต่สุดท้ายแล้วผู้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการจึงได้จำนวนน้อย อย่างไรก็ตาม หากทาง สป.อว. ตระหนักถึงปัญหาการผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงด้าน Call Center เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และพิจารณาอนุมัติให้งบประมาณสนับสนุนในรุ่นที่ 2 ทางผู้พัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องประชุมหารือร่วมกันกับคู่ความร่วมมือ ว่าจะปรับหลักสูตร ปรับการประชาสัมพันธ์ ปรับวิธีการสรรหาผู้เข้าอบรม และปรับการลงพื้นที่สถานประกอบการในรูปแบบที่แตกต่างออกไป อาจมีให้เลือกหลากหลายสถานประกอบการ ปรับกระบวนการสรรหาผู้เรียน แจ้งจำนวน Min/Max ของแต่ละสถานประกอบการ โดยเฉลี่ยๆ กันให้อยู่ภายในงบประมาณที่โครงการอนุมัติต่อไป เพื่อมุ่งสู่การสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ด้าน Call Center โดยสามารถย่นย่อระยะเวลาการเรียนรู้จาก 4 ปี เหลือเพียง 40 วัน แล้วทำงานได้จริงซึ่งจะตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการที่มีความต้องการกำลังคนด้านนี้เป็นอย่างมากอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้สถานประกอบการได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ หากสามารถให้เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงผู้เรียนได้เป็นระยะ ๆ หากยังอยู่ในกรอบงบประมาณที่ตั้งไว้ ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะสร้างความยืดหยุ่นให้กับการบริหารจัดการหลักสูตรได้ดีเป็นอย่างมาก

หมายเหตุ : รายละเอียดของบทสรุปคัดย่อการดำเนินงาน ให้ผู้รับผิดชอบโครงการเป็นผู้เขียนสรุปภาพรวมของโครงการใน "ผลลัพธ์โครงการ"


สารบัญ

กิตติกรรมประกาศ»
บทคัดย่อ»
   ความเป็นมา/หลักการเหตุผล»
   วัตถุประสงค์โครงการ»
   กิจกรรม/การดำเนินงาน»
   กลุ่มเป้าหมาย»
   ผลลัพธ์ที่ได้»
   การประเมินผล»
   ปัญหาและอุปสรรค»
   ข้อเสนอแนะ»
   เอกสารประกอบอื่นๆ»

ความเป็นมา/หลักการเหตุผล

 

สถานการณ์

วัตถุประสงค์โครงการ

 

กิจกรรม/การดำเนินงาน

  1. iCXM101 รุ่นที่ 1
  2. [ทฤษฎี] สมรรถนะหัวใจผู้ให้บริการ (Service@Heart) และ สมรรถนะฉลาดบริการ (Smart Service)
  3. [ปฏิบัติ] ทดลองใช้สมรรถนะที่ได้เรียนรู้ #1
  4. [ทฤษฎี] สมรรถนะสร้างแล้ววัดเพื่อเรียนรู้ (Build-Measure-Learn) #1
  5. [ทฤษฎี] สมรรถนะฉลาดขาย (Smart Sell)
  6. [ปฏิบัติ] ทดลองใช้สมรรถนะที่ได้เรียนรู้ #2
  7. [ทฤษฎี] สมรรถนะสร้างแล้ววัดเพื่อเรียนรู้ (Build-Measure-Learn) #2
  8. [ทฤษฎี] ค้นหาความถนัดของผู้เรียน
  9. [ปฏิบัติ] ทดลองใช้สมรรถนะที่ได้เรียนรู้ #3
  10. [ทฤษฎี] สมรรถนะสร้างแล้ววัดเพื่อเรียนรู้ (Build-Measure-Learn) #3 และปัจฉิมนิเทศ

กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

 


ส่วนที่ 1 ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ผลลัพธ์และตัวชี้วัดผลลัพธ์**
กิจกรรมของโครงการ
ผลผลิต*
ผลผลิตที่ตั้งไว้ผลผลิตที่เกิดขึ้นจริง

1. [ทฤษฎี] สมรรถนะหัวใจผู้ให้บริการ (Service@Heart) และ สมรรถนะฉลาดบริการ (Smart Service)

วันที่ 4 กรกฎาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

เชิญวิทยากรบรรยายพิเศษ เกี่ยวกับ การปรับเจตคติต่อวิชาชีพการบริการลูกค้าทางโทรศัพท์ เทคนิคการให้บริการลูกค้า และเทคนิคการขาย วิทยากรพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการบรรยายเพิ่มเติม พร้อมเข้าถึงการใช้ทรัพยากรของสถานประกอบการ จัดเป็นภาคบรรยาย รวม 3 วัน

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ความรู้หลัก เกี่ยวกับการบริการและการขายด้วยการสื่อสารกับลูกค้าผ่านทางโทรศัพท์ ความรู้เชิงลึก เกี่ยวกับสินค้าของสถานประกอบการ

 

5 0

2. [ปฏิบัติ] ทดลองใช้สมรรถนะที่ได้เรียนรู้ #1

วันที่ 7 กรกฎาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

ลงฝึกปฏิบัติกับพี่เลี้ยงร่วมกับสถานประกอบการ

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประสบการณ์โดยตรงจากการสื่อสารกับลูกค้าด้วยการโทรออก (Outbound) การบริการข้อมูล การตอบข้อโต้แย้ง การปิดการขาย กับลูกค้า

 

5 0

3. [ทฤษฎี] สมรรถนะสร้างแล้ววัดเพื่อเรียนรู้ (Build-Measure-Learn) #1

วันที่ 26 กรกฎาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

สะท้อนประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริงในช่วงแรก

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าอบรมสะท้อนประสบการณ์ตรง และแนวทางการพัฒนาตนเอง การปรับกระบวนการเรียนรู้รวมถึงการปรับกระบวนการให้บริการข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการและสถานการณ์ของลูกค้าที่มีความหลากหลาย ตลอดจนการพัฒนากระบวนการขายของแต่ละคนตามศักยภาพ

 

5 0

4. [ทฤษฎี] สมรรถนะฉลาดขาย (Smart Sell)

วันที่ 27 กรกฎาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

วิทยากรพี่เลี้ยงจากสถานประกอบการ บรรยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับเทคนิคการขาย

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าอบรม เรียนรู้รายละเอียดเชิงลึกของผลิตภัณฑ์ เพื่อพัฒนาการให้บริการข้อมูลให้สอดคล้องกับบริบทของลูกค้าที่มีความหลากหลาย

 

5 0

5. [ปฏิบัติ] ทดลองใช้สมรรถนะที่ได้เรียนรู้ #2

วันที่ 3 สิงหาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

ลงฝึกปฏิบัติกับพี่เลี้ยงร่วมกับสถานประกอบการ (ต่อเนื่อง)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประสบการณ์โดยตรงจากการสื่อสารกับลูกค้าด้วยการโทรออก (Outbound) การบริการข้อมูล การตอบข้อโต้แย้ง การปิดการขาย กับลูกค้า

 

5 0

6. [ทฤษฎี] สมรรถนะสร้างแล้ววัดเพื่อเรียนรู้ (Build-Measure-Learn) #2

วันที่ 18 สิงหาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

สะท้อนประสบการณ์ตรงจากการปฏิบัติงานจริงในช่วงต่อมา

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าอบรมสะท้อนประสบการณ์ตรง และแนวทางการพัฒนาตนเอง การปรับกระบวนการเรียนรู้รวมถึงการปรับกระบวนการให้บริการข้อมูลที่สอดคล้องกับความต้องการและสถานการณ์ของลูกค้าที่มีความหลากหลาย ตลอดจนการพัฒนากระบวนการขายของแต่ละคนตามศักยภาพ

 

5 0

7. [ทฤษฎี] ค้นหาความถนัดของผู้เรียน

วันที่ 19 สิงหาคม 2565

กิจกรรมที่ทำ

แลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์การปฏิบัติงาน โดยประยุกต์ Theory U

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ผู้เข้าอบรมตระหนักถึงการรับฟังแบบไม่ตัดสินใครมากยิ่งขึ้น / สามารถนำไปประยุกต์กับการบริการข้อมูลลูกค้าเพื่อปิดการขายได้ดีขึ้น

 

5 0

8. [ปฏิบัติ] ทดลองใช้สมรรถนะที่ได้เรียนรู้ #3

วันที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงฝึกปฏิบัติกับพี่เลี้ยงร่วมกับสถานประกอบการ (ต่อเนื่อง)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประสบการณ์เพิ่มเติมโดยตรงจากการสื่อสารกับลูกค้าด้วยการโทรออก (Outbound) การบริการข้อมูล การตอบข้อโต้แย้ง การปิดการขาย กับลูกค้า

 

5 0

9. [ปฏิบัติ] ทดลองใช้สมรรถนะที่ได้เรียนรู้ #3

วันที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงฝึกปฏิบัติกับพี่เลี้ยงร่วมกับสถานประกอบการ (ต่อเนื่อง)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประสบการณ์เพิ่มเติมโดยตรงจากการสื่อสารกับลูกค้าด้วยการโทรออก (Outbound) การบริการข้อมูล การตอบข้อโต้แย้ง การปิดการขาย กับลูกค้า

 

5 0

10. [ปฏิบัติ] ทดลองใช้สมรรถนะที่ได้เรียนรู้ #3

วันที่ 22 สิงหาคม 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ลงฝึกปฏิบัติกับพี่เลี้ยงร่วมกับสถานประกอบการ (ต่อเนื่อง)

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ประสบการณ์เพิ่มเติมโดยตรงจากการสื่อสารกับลูกค้าด้วยการโทรออก (Outbound) การบริการข้อมูล การตอบข้อโต้แย้ง การปิดการขาย กับลูกค้า

 

5 0

11. [ทฤษฎี] สมรรถนะสร้างแล้ววัดเพื่อเรียนรู้ (Build-Measure-Learn) #3 และปัจฉิมนิเทศ

วันที่ 5 กันยายน 2565 เวลา 09:00 น.

กิจกรรมที่ทำ

ผู้เข้าอบรมสะท้อนประสบการณ์การเข้าร่วมโครงการผ่านภาพ และนำเสนอ พร้อมอภิปรายร่วมกัน จำลองสถานการณ์การขายสินค้าทางโทรศัพท์ การทำแบบประเมินประสบการณ์ตลอดระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรม

ผลผลิต/ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น

ร้อยละ 100 ของผู้เข้าร่วมโครงการประเมินตนเองแล้ว พบว่า มีสมรรถนะสูงขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการในทุกมิติ ได้แก่ (1) สมรรถนะการให้บริการข้อมูล และ การขาย ทางโทรศัพท์ (2) สมรรถนะในการผสมผสานหรือบูรณาการ สมรรถนะในการให้บริการข้อมูล และ การขาย  ทางโทรศัพท์ (3) สมรรถนะในการวิเคราะห์/ปรับปรุง กระบวนการเพื่อให้บริการข้อมูลและปิดการขายทางโทรศัพท์ที่เหมาะสมกับลูกค้าซึ่งมีความต้องการ/ความคาดหวังที่หลากหลาย

ผู้เข้าอบรมสามารถแสดงออกซึ่งสมรรถนะที่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ผู้เข้าอบรมมีเจตคติที่พร้อมต่อการเป็น Contact Center มากยิ่งขึ้นเมื่อเปรีบเทียบกับก่อนเข้าร่วมโครงการ ผู้เข้าอบรมกล้าสมัครงานในตำแหน่ง Contact Center มากยิ่งขึ้น เพราะ เกิดความมั่นใจในสมรรถนะของตนเองที่ได้เข้าร่วมโครงการ

 

5 0

* ผลผลิต หมายถึง ผลที่เกิดขึ้นเชิงปริมาณจากการทำกิจกรรม เช่น จำนวนผู้เข้าร่วมประชุม จำนวนผู้ผ่านการอบรม จำนวนครัวเรือนที่ปลูกผักสวนครัว เป็นต้น
** ผลลัพธ์ หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่นำไปสู่การแก้ปัญหา เช่น หลังอบรมมีผู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจำนวนกี่คน มีข้อบังคับหรือมาตรการของชุมชนที่นำไปสู่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือสภาพแวดล้อม เป็นต้น ทั้งนี้ต้องมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการรายงาน เช่น ข้อมูลรายชื่อแกนนำ , แบบสรุปการประเมินความรู้ , รูปภาพกิจกรรมพร้อมคำอธิบายใต้ภาพ เป็นต้น


ส่วนที่ 2 ประเมินความพึงพอใจต่อความสำเร็จและปัญหาอุปสรรคในการดำเนินโครงการในภาพรวม

ผลการดำเนินโครงการ

สรุปผลการดำเนินโครงการ

ผลการดำเนินโครงการ/กิจกรรม:
บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
บรรลุตามวัตถุประสงค์บางส่วนของโครงการ
ไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

ในมิติของผู้บริหารและจัดการหลักสูตร บรรลุเป้าหมายเชิงประสิทธภาพในการดำเนินงาน เนื่องจากผู้เรียนที่ร่วมหลักสูตรเข้ารับการอบรมและฝึกฝนสมรรถนะของตนเองครบถ้วน ร้อยละ 100 ตลอดระยะเวลาในการดำเนินงานของหลักสูตร
    ในมิติประสิทธิภาพ ประสิทธิผล ผลิตภาพที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ได้มีการรับฟังเสียงสะท้อนจากผู้เรียนที่เกิดจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนซึ่งสามารถสร้างประสิทธิภาพโดยมีประสิทธิผลด้วยการสร้างระดับความเชื่อมั่นในสมรรถนะของตนเองที่จะทำให้กล้าสมัครงานในวิชาชีพด้าน Call Center / Telesale จากผู้เรียนในหลักสูตรฯ โดยได้สะท้อนเจตคติ ไว้ดังนี้ “มั่นใจมากขึ้น สำหรับงานประเภทเทเลเซลล์ ในการอบรมครั้งนี้ทำให้เรารู้ว่าขั้นตอนในการที่จะทำให้ลูกค้าซื้อนั้นมีอะไรบ้าง และในแต่ละขั้นตอนต้องทำอย่างไร ถ้าต้องทำงานในตำแหน่งที่มีหน้าที่ในลักษณะคล้ายกันนี้ก็จะทำให้เรากล้าที่จะเข้าไปสมัครมากขึ้นกว่าเดิมเยอะเลย” (ผู้เรียนท่านที่ 1) “มั่นใจ เพราะได้เรียนรู้หลักการขายหลักการทำงานจากการอบรม เทคนิคต่างๆ ข้อตกลงหรือค่าตอบแทนใดๆ ตามที่บริษัท​กำหนด ทำให้เข้าใจการทำงานในตำแหน่ง Call Center มากขึ้น เพื่อประกอบการสมัครงานในอนาคต” (ผู้เรียนท่านที่ 2) “มั่นใจกว่าก่อนอบรม อาจจะเป็นเพราะไม่แม่นในตัวโปรดักส์สินค้า ก่อนหน้านี้ไม่เคยบริโภคเลย อยู่ที่ตัวเองด้วยนะเรื่องนี้” (ผู้เรียนท่านที่ 3) “มั่นใจ เพราะเข้าใจหลักการขายการนำเสนอกล้าพูด คิดวิเคราะห์ ได้ดีขึ้นอย่างมาก” (ผู้เรียนท่านที่ 4) “มั่นใจ เพราะได้เรียนรู้หลักการขายและได้ปฏิบัตจริงโทรหาลูกค้าจริงโดยนำหลักการทำงานจากการอบรม เทคนิคต่างๆ ตามที่บริษัท​และทางมหาวิทยาลัยได้กำหนด ทำให้เข้าใจการทำงานในตำแหน่ง Call Center มากขึ้น เพื่อประกอบการสมัครงานในอนาคต” (ผู้เรียนท่านที่ 5) นอกจากความเชื่อมั่นในความสามารถและสมรรถนะของตนเองข้างต้นแล้ว ยังมีผลสะท้อนประสบการณ์การเรียนรู้ในมิติของผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ผู้เรียนทุกคนประเมินเปรียบเทียบก่อนและหลังการร่วมโครงการฯ จากประสบการณ์จริงของผู้เรียนเอง โดยพบว่าผูเรียนทุกคนมีพัฒนาการที่สูงขึ้นในทุกสมรรถนะ   ในมิติของสถานประกอบการ ผู้เรียนสามารถแสดงออกซึ่งสมรรถนะตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตรโดยสามารถสร้างรายได้ให้กับสถานประกอบการสูงเกินกว่า 50,000 บาทในภาพรวม

ผลผลิตโครงการ

วัตถุประสงค์สถานการณ์เป้าหมายผลผลิตอธิบาย

ผู้เข้าร่วมโครงการ

กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)
จำนวนกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 5
กลุ่มเป้าหมายจำนวนที่วางไว้(คน)จำนวนที่เข้าร่วม(คน)

บทคัดย่อ*

โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนสามารถ (1) ยกระดับสมรรถนะการบริการและการขายสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและสมดุลความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (2) บูรณาการสมรรถนะการบริการและการขายสอดคล้องกับความต้องการของลูกค้าและสมดุลความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (3) สามารถลดกระบวนการในการให้บริการที่ยกระดับความประทับใจของลูกค้า

ผลการดำเนินงานที่สำคัญ ได้แก่ ผู้เรียนสามารถแสดงออกซึ่งสมรรนะที่จำเป็นทั้ง 4 สมรรถนะ ได้แก่ (1) สมรรถนะหัวใจผู้ให้บริการ (2) สมรรถนะฉลาดบริการ (3) สมรรถนะฉลาดขาย (4) สมรรถนะสร้างแล้ววัดเพื่อเรียนรู้ ดังกล่าว ผ่านการสร้างยอดขายในฐานะพนักงานขายทางโทรศัพท์ซึ่งต้องให้บริการข้อมูลรวมถึงปิดการขายผ่านกระบวนการให้บริการที่ต้องให้ลูกค้าเชื่อมั่นและประทับใจ (Telesale) ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการ จนมียอดขายรวมได้สูงถึง 55,440 บาท

ข้อเสนอแนะ ได้แก่ ด้วยวิชาชีพด้าน Call Center หรือ Contact Center ได้รับความท้าทายเป็นอย่างมากในสถานการณ์ปัจจุบันจากการที่มิจฉาชีพแอบอ้างเป็น Call Center ซึ่งสร้างความเดือดร้อนให้แก่ประชาชนเป็นวงกว้าง ทาง มหาวิทยาลัยสวนดุสิตที่มีประสบการณ์การบริหารจัดการหลักสูตรด้านการบริการลูกค้ามากว่า 10 ปี และ สมาคมการค้าธุรกิจศูนย์บริการทางโทรศัพท์ไทย (TCCTA) ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแวดวงวิชาชีพด้าน Call Center จึงตระหนักถึงปัญหาดังกล่าว อันนำมาสู่ข้อตกลงความร่วมมือกันในการผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงให้พร้อมทำงานในวิชาชีพด้าน Call Center ขึ้น จนสามารถจัดกิจกรรมแล้ว 1 รุ่น แต่ด้วยสถานการณ์วิกฤตศรัทธาในวิชาชีพดังกล่าวข้างต้นผนวกกับสถานการณ์การแพร่ระบาดในช่วงของการประชาสัมพันธ์รับสมัครจึงมีความท้าทายเป็นอย่างยิ่งในการรับสมัครพร้อมทั้งการให้บริการข้อมูลหลักสูตรแบบ Face-to-Face จึงเป็นเหตุสำคัญที่แม้ยอดผู้สมัครออนไลน์จะสูงถึง 80 ท่าน แต่สุดท้ายแล้วผู้ตัดสินใจเข้าร่วมโครงการจึงได้จำนวนน้อย อย่างไรก็ตาม หากทาง สป.อว. ตระหนักถึงปัญหาการผลิตกำลังคนที่มีสมรรถนะสูงด้าน Call Center เป็นไปในทิศทางเดียวกัน และพิจารณาอนุมัติให้งบประมาณสนับสนุนในรุ่นที่ 2 ทางผู้พัฒนาหลักสูตรจำเป็นต้องประชุมหารือร่วมกันกับคู่ความร่วมมือ ว่าจะปรับหลักสูตร ปรับการประชาสัมพันธ์ ปรับวิธีการสรรหาผู้เข้าอบรม และปรับการลงพื้นที่สถานประกอบการในรูปแบบที่แตกต่างออกไป อาจมีให้เลือกหลากหลายสถานประกอบการ ปรับกระบวนการสรรหาผู้เรียน แจ้งจำนวน Min/Max ของแต่ละสถานประกอบการ โดยเฉลี่ยๆ กันให้อยู่ภายในงบประมาณที่โครงการอนุมัติต่อไป เพื่อมุ่งสู่การสร้างบัณฑิตพันธุ์ใหม่ด้าน Call Center โดยสามารถย่นย่อระยะเวลาการเรียนรู้จาก 4 ปี เหลือเพียง 40 วัน แล้วทำงานได้จริงซึ่งจะตอบสนองความต้องการของสถานประกอบการที่มีความต้องการกำลังคนด้านนี้เป็นอย่างมากอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้สถานประกอบการได้ให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติม คือ หากสามารถให้เพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงผู้เรียนได้เป็นระยะ ๆ หากยังอยู่ในกรอบงบประมาณที่ตั้งไว้ ในระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน จะสร้างความยืดหยุ่นให้กับการบริหารจัดการหลักสูตรได้ดีเป็นอย่างมาก

หมายเหตุ *

  • บทคัดย่อ จะนำไปใส่ในส่วนบทคัดย่อของรายงานฉบับสมบูรณ์
  • หากต้องการใช้ค่าเริ่มต้นของบทคัดย่อ ให้ลบข้อความในช่องบทคัดย่อ ทั้งหมด แล้วกดปุ่ม Refresh

ปัญหาอุปสรรคและข้อเสนอแนะ

ปัญหาและอุปสรรคสาเหตุข้อเสนอแนะ

 

 

 


ลดแต่เพิ่ม เติมเต็มลูกค้า (Lean the process, escalate customer delight) [iCXM101] จังหวัด

รหัสโครงการ FN64/0071

ได้ดำเนินกิจกรรมตามที่เสนอไว้เสร็จสมบูรณ์เรียบร้อยแล้ว

................................
( )
ผู้รับผิดชอบโครงการ
......./............/.......

vertical_align_topไปบนสุด